สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ฉวยจังหวะภัยแล้งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จีนยกระดับข้อดี “เขื่อน” ให้ทูตเดินสายแจ้งไทย-ลาว-พม่าเพิ่มการปล่อยน้ำ “ครูตี๋”จวกทวงบุญคุณทั้งๆที่เป็นต้นตอปัญหาแต่ทำเป็นคนดี

received_10208100384483298
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และสมาชิกเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง เปิดเผยว่าตนได้เห็นข่าวและข้อมูลที่ระบุว่าจีนได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนจิงหง บนแม่น้ำโขงโดยระบุว่าเป็นการช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่ประเทศท้ายน้ำ โดยเฉพาะที่ปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม ทั้งๆที่จริงๆ แล้วปัญหาแม่น้ำโขง ต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่าปัญหาเกิดจากอะไรกันแน่ อยู่ๆ ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติที่น้ำในแม่น้ำโขงจะแห้งลงไปเอง ทุกวันนี้สาธารณชนทุกคนมองไปที่เขื่อนจีนอยู่แล้ว

“ดูง่ายๆ ว่าเวลานี้แม่น้ำโขงแห้งเกิดปัญหา แล้วแม่น้ำสาละวินล่ะ มีปัญหามั้ย สาละวินกับแม่น้ำโขงมีแหล่งกำเนิดเดียวกันไหลเคียงกันมาในยูนนาน สาละวินไม่มีปัญหานี้เลย แต่แม่น้ำโขงกลับมีปัญหา เพราะเขื่อนเยอะ เวลานี้มีแล้วถึง 6 เขื่อน การที่จีนประกาศปล่อยน้ำลงมาตอนนี้เหมือนมีพระคุณกับประเทศท้ายน้ำ ผมขอถามหน่อยเถอะว่า แล้วจีนเอาน้ำจากไหนมาปล่อย ก็คุณกักไว้แล้วในเขื่อนของคุณตั้ง 6 เขื่อนไง เขื่อนจีนคือปัญหาใช่ไหม คำถามจากผม ถามว่าคุณเอาน้ำมาจากไหนมาปล่อยให้คนท้ายน้ำ คุณเป็นคนเดียวที่กักน้ำ ไม่มีใครอีก คุณนั้นล่ะคือตัวปัญหาของแม่น้ำโขง ที่มาแถลงข่าวแบบนี้เป็นการแสดงออกแบบคนดี แต่ซ่อนต้นตอของปัญหา” นายนิวัฒน์ กล่าว
received_10208100383963285
นายนิวัฒน์กล่าวด้วยว่า “คุณเอาน้ำมาจากไหน จากสวรรค์หรือ น้ำในแม่น้ำโขงนี้คือหิมะละลายจากเทือกเขาหิมาลัย ในหน้าแล้งก็ละลายไหลลงมา นี่คุณกักน้ำไว้ ตายห่าเลย พอปัญหาเกิด คุณก็มาปล่อยน้ำ ทำเหมือนมีบุญคุณ แต่คุณระบายน้ำออกจากเขื่อนมากแบบนี้คุณได้ผลิตไฟฟ้าด้วย ได้ล่องเรือเอาสินค้ามาขาย แล้วยังมาได้บุญคุณอีกหรือ”

นายนิวัฒน์กล่าวว่าตั้งแต่สัปดาห์นี้มา แม่น้ำโขงเพิ่มระดับขึ้นเห็นชัดเจน แต่ตามฤดูกาลแล้วนั้น ฤดูแล้งหลายเดือนชาวบ้านจะได้เก็บไก (สาหร่ายแม่น้ำโขง) ทั้งได้กิน ได้ขาย และเป็นอาหารของปลา รวมทั้งปลาบึก หน้าแล้งน้ำลง ชาวบ้านก็ได้ใช้พื้นที่ริมโขงทำการปลูกผักปลูกพืช แต่เมื่อน้ำขึ้นๆ ลงๆ ผันผวนตามการใช้งานของเขื่อน กลับเกิดปัญหาตลิ่งพัง ซึ่งการปล่อยน้ำเพื่อดันน้ำทะเลไม่ใช่ว่าดีเสมอไป ที่สำคัญคือเขื่อนที่กั้นแม่น้ำโขงทำให้เกิดความสับสนในการจัดการน้ำไปหมด แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำพิเศษ ที่มีฤดูกาล เป็นวัฏจักรมีความสมดุลของ แต่ระบบนิเวศเสียหายทันทีเมื่อเกิดเขื่อน

“สำหรับคนริมโขง ไม่ใช่ว่าหน้าแล้งเราอยากได้น้ำเยอะๆ อย่างที่เจ้าของเขื่อนอ้าง เราต้องการให้แม่น้ำโขงเป็นไปตามฤดูกาล”ครูตี๋ กล่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงต่างประเทศแจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า อัคราชทูตที่ปรึกษาสถานอัคราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยได้มาขอพบเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยน้ำในแม่น้ำล้านช้าง (ชื่อแม่น้ำโขงในจีน) ว่าได้รับคำสั่งจากรัฐบาลกรุงปักกิ่งให้แจ้งฝ่ายไทย ว่าโดยสภาวการณ์ภัยแล้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยังคงมีแนวโน้มน่าวิตกมากขึ้นเป็นลำดับ ในการนี้เพื่อบรรเทาภัยแล้งและเพื่อป้องกันปัญหาดินเค็มเนื่องจากน้ำทะเลไหลทะลักบริเวณปากแม่น้ำโขงรัฐบาลจีนจึงตัดสินใจจะปล่อยน้ำเพิ่มในปริมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึง 10 เมษายน 2559 มายังอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็น 2 เท่าของปริมาณน้ำในสภาวะปกติ

ข่าวแจ้งว่าในหนังสือยังระบุด้วยว่า แม้ว่าจีนจะมีพื้นที่ลุ่มน้ำเพียง 1/5 ของพื้นที่ลุ่มน้ำโขงทั้งหมดจีนใช้น้ำจากแม่น้ำล้านช้างร้อยละ 4 และน้ำที่ไหลออกจากจีนคิดเป็นเพียงร้อยละ 13.5 ของปริมาณน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล แต่ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่ดีโดยเฉพาะการสร้างเขื่อนบนลำน้ำล้านช้าง ซึ่งช่วยให้จีนมีศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น ทำให้สามารถปล่อยน้ำได้เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 70 ในช่วงน้ำแล้ง และมีศักยภาพในการกักเก็บน้ำมากขึ้นร้อยละ 30 ในช่วงน้ำหลาก จีนจึงมั่นใจว่าการสร้างเขื่อนของจีนจะยังประโยชน์ให้กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และจีนมุ่งมั่นพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ

หนังสือดังกล่าวยังระบุด้วยว่า เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศเมียนมา ลาวและไทย แจ้งกระทรวงการต่างประเทศของแต่ละประเทศพร้อมกันในวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา จากการขอให้จีนยืนยันเรื่องการประสานข้อมูลดังกล่าว สถานทูตจีนได้แจ้งเพิ่มเติมว่ากระทรวงทรัพยากรน้ำของจีนได้มีหนังสือแจ้งเวียนถึงสถานทูตของประเทศที่เกี่ยวข้องที่กรุงปักกิ่ง และหน่วยงานด้านเทคนิคในพื้นที่ของฝ่ายจีนกำลังประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้องของเมียนมา ลาวและไทย
//////////////////

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →