สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

แถลงการณ์ของยูเอ็นเอชซีอาร์ เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายน 2559

unhcr

1 คนในทุก 113 คนของประชากรโลกกลายผู้พลัดถิ่น สถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เผยจำนวนผู้ที่ต้องผลัดถิ่นเนื่องจากความขัดแย้งและการประหัตประหารได้พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2558 สะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดของมนุษยชาติที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

รายงานแนวโน้มผู้ลี้ภัยทั่วโลกประจำปี 2558 ของ UNHCR ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลของผู้พลัดถิ่นทั่วโลกจาก UNHCR รัฐบาลประเทศต่างๆ รวมถึงองค์กรพันธมิตร เช่น ศูนย์ติดตามผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement Monitoring Centre) ชี้ให้เห็นว่า ณ สิ้นปี 2558 นั้นจำนวนผู้พลัดถิ่นได้พุ่งขึ้นสูงถึง 65.3 ล้านคน เมื่อเทียบกับ ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 59.5 ล้านคน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลกได้ข้ามผ่านสถิติ 60 ล้านคน

โดยในจำนวนผู้พลัดถิ่น 65.3 ล้านคนนั้น กว่า 3.2 ล้านคนเป็นผู้ที่มาจากประเทศอุตสาหกรรมซึ่ง ณ สิ้นปี 2558 นั้นยังคงรอคอยที่จะได้รับสถานะผู้ลี้ภัย (ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดที่ UNHCR เคยบันทึกมา) โดย 21.3 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยทั่วโลก (ซึ่งมากกว่าปี 2557 ถึง 1.8 ล้านคนและเป็นจำนวนผู้ลี้ภัยมากที่สุด  นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 90) และอีกกว่า 40.8 ล้านคน เป็นผู้ที่ต้องพลัดถิ่นเนื่องจากความขัดแย้งภายในประเทศ (มากขึ้นกว่าปี 2557 ถึง 2.6 ล้านคนและเป็นจำนวนมากที่สุดที่เคยบันทึกมา)

 

received_914338698609416
ภาพ ฐปนีย์ เอียดศรีชัย

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรโลกจำนวน 7.349 พันล้านคนนั้น หมายความว่าประชากรโลก 1 คนในทุก 113 คน จะเป็นผู้ขอลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ หรือเป็นผู้ลี้ภัย โดยอัตราส่วนนี้เป็นความเสี่ยงในระดับที่ UNHCR ไม่เคยเห็นเกิดขึ้นมาก่อน และอาจจะกล่าวได้ว่า ตัวเลขของผู้พลัดถิ่นทั่วโลกในขณะนี้นั้นมีจำนวนมากกว่าประชากรของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรืออิตาลีด้วยซ้ำ

จำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 90 หากแต่เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนได้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอันเป็นผลมาจากเหตุผล 3 ข้อใหญ่ ๆ ได้แก่ สถานการณ์ความไม่สงบที่เป็นสาเหตุให้เกิดผู้ลี้ภัยนั้นยังไม่มีทีท่าที่จะสงบลง (ตัวอย่างเช่น ความไม่สงบในโซมาเลีย หรืออัฟกานิสถาน ที่ดำเนินต่อเนื่องมากว่า 30-40 ปี) หรือสถานการณ์ความไม่สงบที่ปะทุขึ้นมาใหม่ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา สงครามใหญ่ที่สุดคือซีเรีย รวมถึง ใน ซูดานใต้ เยเมน บุรุนดี ยูเครน และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในขณะเดียวกันทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นภายในประเทศได้มีแนวโน้มที่ลดลงนับตั้งแต่สิ้นสงครามเย็น ซึ่งในปัจจุบันเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ณ สิ้นปี 2548 UNHCR ได้บันทึกจำนวนผู้พลัดถิ่นไว้ที่ 6 คนต่อนาที หากแต่ในขณะนี้จำนวนได้สูงขึ้นถึง 24 คนต่อนาที ซึ่งเกือบเท่ากับจำนวนการหายใจเข้าออกของผู้ใหญ่

“จำนวนของผู้ที่ต้องพลัดถิ่นเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากสงครามและการประหัตประหารเป็นสิ่งที่น่ากังวลอยู่แล้ว หากแต่ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลด้านลบต่อผู้ลี้ภัยก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน” นายฟิลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว “จำนวนของผู้อพยพที่ต้องเสียชีวิตทางทะเลเป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัว ซึ่งในขณะเดียวกันผู้พลัดถิ่นที่แสวงหาที่หลบภัยก็ยังโดนปิดกันโดยมาตรการชายแดนที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเมืองในประเทศนั้นที่ต้องการนำปัญหาของผู้ลี้ภัยมาเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง ซึ่ง ณ ขณะนี้ความท้าทายที่สุดของเราคือความร่วมมือของประเทศต่างๆ ในการหาทางออกไม่เฉพาะปัญหาผู้ลี้ภัย แต่หากรวมถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมนุษยชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจิตวิญญาณแห่งความสามัคคีจะนำพาพวกเราก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอยู่”

3 ประเทศผู้ผลิตผู้ลี้ภัยครึ่งหนึ่งของโลก

ในจำนวนประเทศที่อยู่ในรายงานแนวโน้มผู้ลี้ภัยทั่วโลกประจำปี 2558 นั้นมี 3 ประเทศที่เป็นที่จับตาอย่างมากสำหรับต้นตอของปัญหาผู้ลี้ภัยคือ ประเทศซีเรียซึ่งผลิตผู้ลี้ภัยกว่า 4.9 ล้านคน อัฟกานิสถาน 2.7 ล้านคน และ โซมาเลีย 1.1 ล้านคน ซึ่งจำนวนของผู้ลี้ภัย 3 ประเทศนี้รวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งโลก ในขณะที่ประเทศที่เป็นต้นตอของผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศนั้นคือ โคลอมเบีย 6.9 ล้านคน ซีเรีย 6.6 ล้านคน และอิรัก 4.4 ล้านคน รวมถึงเยเมนที่มีจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมื่อสิ้นปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.5 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ซึ่งประเทศที่กล่าวมาข้างต้นคือประเทศที่อยู่ในซีกโลกใต้ ในขณะที่ประเทศในกลุ่มประเทศยุโรปกำลังดิ้นรนในการจัดการกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพกว่า 1 ล้านคนที่ขึ้นฝั่งทางคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน ซึ่งเป็นที่สนใจของหลายๆฝ่ายในปี 2558 หากแต่ในรายงานฉบับนี้

กลับแสดงถึงจำนวนของกลุ่มผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ในภูมิภาคอื่น โดยร้อยละ 86 ของผู้ลี้ภัยภายใต้การดูแลของ UNHCR นั้นมาจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงภายในประเทศ สัดส่วนนี้ยังแสดงให้เห็นว่าหากรวมผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ภายใต้การดูแลของ UNRWA ซึ่งถือเป็นองค์กรของ UN ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ จะทำให้สัดส่วนของผู้ลี้ภัยในซีกโลกใต้พุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 90 เลยทีเดียว ในขณะเดียวกันตุรกีถือเป็นประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมากที่สุดถึง 2.5 ล้านคน ตามมาด้วยเลบานอนให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศตัวเอง โดยสันส่วนอยู่ที่ ผู้ลี้ภัย 183 คนต่อจำนวนประชากร 100 คน และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนั้น หากเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยของประเทศกับจำนวนผู้ลี้ภัยที่ให้ที่พักพิงนั้นจะอยู่ที่ 471 คนต่อ GDP

จำนวนผู้ขอลี้ภัยพุ่งสูงขึ้น

สำหรับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมนั้น ในปี 2558 จำนวนผู้ยื่นขอลี้ภัยมีมากถึง 2 ล้านคน (ทำให้ยอดรวมถึง 3.2 ล้านคนที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการในตอนสิ้นปี) ประเทศเยอรมันรับคำร้องขอลี้ภัยจำนวนกว่า 441,900 ซึ่งมากว่าประเทศอื่นๆในกุล่มเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับผู้อพยพของยุโรปที่ผ่านทางคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสองขอประเทศที่มีผู้ยื่นขอลี้ภัยมากที่สุด กว่า 172,700 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้หลายๆคนได้หลบหนีความรุนแรงอันเนื่องมาจากความขัดแย้งของกลุ่มอิทธิพลในประเทศแถบอเมริกากลาง นอกจากนี้ ประเทศที่มีผู้ยื่นขอลี้ภัยรองลงมาคือ สวีเดน 156,000 คน และรัสเซีย 152,500 คน

ครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ลี้ภัยทั่วโลกคือเด็ก

จำนวนประชากรของเด็กนับเป็นร้อยละ 51 ของประชากรผู้ลี้ภัยทั่วโลกในปีพ.ศ. 2558 จากข้อมูลที่ UNHCR สามารถรวบรวมได้ (ผู้เขียนรายงานไม่ได้รับข้อมูลประชากรที่ครบถ้วน) สิ่งที่เป็นห่วงอย่างมากคือมีจำนวนของเด็กที่พลัดพรากจากพ่อแม่ และต้องเดินทางโดยลำพังมากถึง 98,400 คนที่ยื่นขอลี้ภัย และนี่คือจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์พลัดถิ่นโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเยาวชนอย่างมหาศาลไม่สามารถกลับบ้านได้
ในขณะที่จำนวนประชากรพลัดถิ่นทั่วโลกสูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน จำนวนของประชากรที่สามารถเดินทางกลับบ้านได้หรือหาทางออกอื่น (การใช้ชีวิตในประเทศที่ลี้ภัยไปยังที่แรก หรือการขอลี้ภัยไปยังประเทศอื่น) ก็มีจำนวนน้อยมาก จำนวนของประชากรผู้ลี้ภัยที่สามารถเดินทางกลับบ้านได้เมื่อปีพ.ศ. 2558 นั้นมีจำนวน 201,400 คน (ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวอัฟกานิสถาน ซูดาน และโซมาเลีย ซึ่งสูงกว่าปีพ.ศ. 2558 (126,800 คน) แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนของประชากรที่พุ่งสูงมากในช่วงต้นปีพ.ศ. 2533 ผู้ลี้ภัยจำนวน 107,100 คนตัดสินใจที่จะไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปีพ.ศ. 2558 ซึ่งนับได้เป็นร้อยละ 0.66 ของจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่อยู่ในความดูแลของ UNHCR (เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมด 105,200 คนที่26 ประเทศทั่วโลกรับในปีพ.ศ. 2557 ซึ่งนับเป็นร้อยละ 0.73 ของจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดทั่วโลกที่อยู่ในความดูแลของ UNHCR )
.
การพลัดถิ่นในปีพ.ศ 2558 แบ่งโดยภูมิภาค (จากสถิติสูงสุดจนถึงต่ำสุด)
1. ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
สงครามในซีเรียยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการพลัดถิ่นและความทุกข์ทรมานต่างๆทั่วโลก โดยถึงสิ้นปีพ.ศ. 2558 ที่ทำให้มีประชากรผู้ลี้ภัยจำนวน 4.9 ล้านคน และผู้พลัดถิ่นอีก 6.6 ล้านคนในประเทศตนเองซึ่งซึงนับเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรชาวซีเรียก่อนเกิดสงคราม เหตุการณ์ความขัดแย้งในประเทศอิรักทำให้เกิดผู้พลัดถิ่นจำนวน 4.4 ล้านคนภายในประเทศ และทำให้เกิดผู้ลี้ภัยกว่า 250,000 คน ในขณะที่สงครามกลางเมืองประเทศเยเมนที่เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ. 2558 ทำให้สิ้นปีเมื่อเดือนธันวาคมมีผู้พลัดถิ่นมากถึง 2.5 ล้านคนซึ่งมากกว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทุกที่ทั่วโลก รวมถึงจำนวนของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ 5.2 ล้านคนที่อยู่ภายใต้ความดูแลของ UNRWA ชาวลิเบียเกือบห้าแสนคนที่ถูกบังคับให้หนีจากบ้านและติดอยู่ในประเทศตนเอง รวมถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งอื่นๆเช่นในภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือที่รวมกันแล้วมากกว่าจำนวนของผู้พลัดถิ่นในที่ใดๆของโลก

2. แอฟริกาใต้ซาฮารา
ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารามีจำนวนของผู้พลัดถิ่นรวมกันในปีพ.ศ. 2558 รองจากภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เหตุการณ์ความขัดแย้งในประเทศซูดานในปีพ.ศ. 2558เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ในแอฟริกากลาง และโซมาเลีย รวมถึงสถานการณ์พลัดถิ่นครั้งใหม่ที่และจากประเทศเหล่านี้ คือไนจีเรีย บุรุนดี ซูดาน สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐโมซัมบิก และประเทศอื่นๆรวมกันทำให้เกิดผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศตนเองรวม 18.4 ล้านคนเมื่อสิ้นปี ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราเองรองรับผู้ลี้ภัยประมาณ 4.4 ล้านคนซึ่งมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด 10 อันดับของโลก อยู่ในทวีปแอฟริกา 5 ประเทศนั่นคือประเทศเอธิโอเปีย ตามด้วยเคนยา ยูกันดา สาธารณรัฐคองโก และชาด

3. ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีประชากรผู้ลี้ภัยมากเป็นอันดับ 6 ของโลกในปีพ.ศ. 2558 โดยหนึ่งในหกของจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยทั้งหมดคือชาวอัฟกานิสถาน (2.7 ล้านคน) และมีผู้พลัดถิ่นในประเทศตนเองอีก 1.2 ล้านคน ประเทศเมียนมาคือประเทศที่ก่อให้เกิดประชากรผู้พลัดถิ่นในประเทศตนเองมากเป็นอันดับสองของภูมิภาคทั้งในส่วนของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศตนเอง (451,800 และ 451,000 คนตามลำดับ) ประเทศปากีสถาน (1.5 ล้านคน) ประเทศอิหร่าน (979,000 คน) ที่ยังคงตำแหน่งประเทศที่รองรับจำนวนผู้ลี้ภัยเป็นอันดับต้นๆของโลก

4. อเมริกา
จำนวนของผู้ที่ต้องหนีจากสถานการณ์ความรุนแรง และกลุ่มอันธพาลในอเมริกากลางทำให้เกิดจำนวนผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ของจำนวนการพลัดถิ่นทั้งหมดในภูมิภาค ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยจากประเทศเอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัสรวมกันแล้วมีประมาณ 109,800 คน ซึ่งส่วนมากเดินทางมาที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกาซึ่งมีจำนวนมากกว่าถึงห้าเท่าตัวในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา สถานการณ์ความขัดแย้งที่ยาวนานในประเทศโคลอมเบียยังคงเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีจำนวนผู้พลัดถิ่นมากที่สุดในโลกซึ่งคิดเป็นจำนวนถึง 6.9 ล้านคน

5. ยุโรป
สถานการณ์ในประเทศยูเครน รวมทั้งสถานการณ์ในประเทศซีเรีย และอิรักที่ลี้ภัยมาทางทะเลเมดิเตอเรเนียนจากประเทศที่ผลิตผู้ลี้ภัยมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลกซึ่งทำให้เกิดสถานการณ์การพลัดถิ่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคในปีพ.ศ. 2558 ประเทศในทวีปยุโรปผลิตประชากรผู้ลี้ภัยจำนวน 593,000 คนซึ่งส่วนมากมาจากประเทศยูเครน ทวีปยุโรปรองรับผู้ลี้ภัยจำนวน 4.4 ล้านคน โดยจำนวน 2.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี ตัวเลขจากรัฐบาลประเทศยูเครนชี้ให้เห็นว่ามีชาวยูเครนจำนวน 1.6 ล้านคนที่พลัดถิ่น รายงานนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าในจำนวนของการขอลี้ภัยในประเทศเยอรมันนั้นมีทั้งหมด 441,900 รายการ และจำนวนผู้ลี้ภัยได้เพิ่มมากขึ้นจากปีพ.ศ. 2557 ถึงร้อยละ 46 อยู่ที่จำนวน 316,000 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานแนวโน้มผู้ลี้ภัยทั่วโลกจัดทำโดย UNHCR ถูกเผยแพร่ในวันผู้ลี้ภัยโลกซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนยายนของทุกปี ในปีนี้ เปิดตัวพร้อมกับโครงการรณรงค์ร่วมลงชื่อ #WithRefugees ของเรา โดยเนื้อหาในส่วนอื่นๆของมัลติมีเดียจะพร้อมให้ใช้งานและดาวน์โหลดพร้อมกันกับรายงานแนวโน้มโลกนี้ เช่นเดียวกันกับภาพประกอบอธิบาย วีดีโอ และสื่ออื่นๆ โดยในแพ็กเกจนี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ธนัช จรูญรัตนเมธา (มิ้น) โทร.02-288-1389 (jarulrat@unhcr.org)

On Key

Related Posts

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →

รัฐคะเรนนียังรบกันเดือด โฆษก IEC เผยฝ่ายต่อต้านยึดพื้นทางทหาร SACได้เกือบหมด-ปิดล้อมบอลาเค-ผาซอง ส่วนสู้รบในเมืองเมียวดีกองกำลังชาติพันธุ์รุมสกัดขบวนทหารพม่าเสริมทัพ

v เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 นายบันยา (Banya) โฆษกRead More →