สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

รายละเอียดคำต่อคำ ศาลปกครองแจงคดีปู่คออี้และชาวบ้านบางกลอย

received_1209232242453392
เมื่อวันที่ 30 กันยายน เวลา 13.30 น. ที่ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายสมชาย งามวงศ์ชน ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และโฆษกศาลปกครอง และนายประวิตร บุญเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และรองโฆษกศาลปกครอง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน และของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ให้กับชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ที่อาศัยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จากการรื้อถอนและเผาทำลายเพิงพัก หรือสิ่งปลูกสร้างและยุ้งฉางข้าว เพื่อให้สื่อมวลชนช่วยเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้สาธารณชน

นายสมชาย กล่าวว่า คดีล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ที่มีสื่อสิ่งพิมพ์ และไลน์บางส่วนแชร์ออกไปเป็นผลลบต่อศาล เรื่องกรณีปู่คออี้ มีมิ ฟ้องเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานบุกเผาบ้าน มีบางส่วนบอกว่าผลพิพากษาส่งเสริมความรุนแรง หรือบางสื่อบอกว่าศาลปกครองมีคำพิพากษาโดยไม่ได้ไปดูพื้นที่เลยฟังแต่พยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้อย่างเดียว

received_1209234855786464

“ผมต้องขอชี้แจงก่อนว่าคดีนี้อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ ผมพูดอะไรมากไม่ได้ เหมือนกัน ฉะนั้นจะพูดเพียงคร่าวๆอย่างนี้ว่า ในภาระหน้าที่ของศาลปกครอง คือคุ้มครองสิทธิของประชาชน ดูแลไม่ให้ถูกละเมิด ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีหน้าที่ในการปกป้องทรัพยากรธรรมและผลประโยชน์ของรัฐไม่ให้ถูกเบียดเบียนและเอาไปเป็นผลประโยชน์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ตุลาการก็จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างว่าการกระทำการนั้นเป็นการกระทำละเมิดกฎหมายหรือไม่ แล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่จะกระทำอย่างนั้นหรือไม่

“ผมขอชักชวนให้ท่านดูคร่าวๆ นะว่าจะเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจน ที่พิพาทคดีนี้ว่าเป็นป่า เป็นอุทยานแห่งชาติอันนี้ ยอมรับกันหมดเพราะฉะนั้นเจ้าของสำนวนไม่ต้องเดินทางไปดูนะว่าจริง มันชัดอยู่แล้วฟังจากพยานหลักฐานพอแล้ว เมื่อมันชัดเจนแล้วว่าอันนี้เป็นข้อเท็จจริง มันมีกฎหมายชัดเจนแล้วว่าห้ามบุกรุกป่า แม้แต่เก็บของป่าก็ต้องได้รับการอนุญาต ในมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ระบุว่า เจ้าหน้าที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่กรณี หากสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำลาย รื้อถอนถ้าไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่กรณีก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้หรือถอนหรือเมื่อตามข้อเท็จจริงมีการตักเตือนว่ากล่าวแล้ว หลายครั้งแล้ว

“การกระทำนั้นก็เป็นไปตามตุลาการเจ้าของสำนวน ก็มองเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทำไปโดยมีอำนาจ เมื่อทำไปก็ไม่ถือเป็นการ คือ เรื่องนี้อาจต้องมีการอุทธรณ์ ผมไม่อยากพูดอะไรที่มันก้าวลึกลงไปกว่านี้

“อย่างไรก็ตามอยากขอร้องสื่อมวลชนว่าการลงความเห็นต่างๆในสื่อที่ตีพิมพ์ถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจด้วยติชม ด้วยวิชาการก็ไม่ผิดอะไร ก็มีสิทธิทำได้ แต่ถ้าคดีไหนอยู่ระหว่างการพิจารณาก็ต้องระมัดระวัง เพราะว่ามันมีวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32 วรรค 2 ว่าในการเสนอข่าวที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกเป็นการชักจูงความรู้สึกของประชาชน หรือความรู้สึกของศาลมันก็ ต้องระมัดระวัง อยากขอไว้เท่านี้หวังว่าจะเข้าใจกันไม่มีปัญหาอะไรนะครับ”

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีเกี่ยวกับกรมอุทยานแห่งชาติ ดำเนินคดีดังกล่าว ทีนี้เมื่อมีการฟ้อง ตัวแทนผู้ฟ้องฝ่ายชาวบ้านเองก็ชูด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาอยู่มาก่อนที่จะมีอุทยานฯ ดังนั้นกรณีนี้จะพิสูจน์อย่างไร และจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปหรือไม่เพราะว่าในบางที่หรือชนกลุ่มน้อยบางพื้นที่ไม่มีเอกสารมีแต่คำบอกเล่า นายสมชายตอบว่า “ครับผมเป็นคำถามที่ตรงเผงกับเรื่องนี้ทีเดียว เราต้องแยกเป็น 2 อย่างคือ คิดต่างว่าอยู่ ก่อนประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ แต่ก่อนประกาศเป็นอุทยานเนี่ยมันเป็นอะไรแล้วครับ มันเป็นป่ามาก่อนเพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นป่า ก็เข้าพ.ร.บ.ป่าไม้ พรบ.ป่าไม้ ใครก็จะบุกรุกก็ไม่ได้ ในเมื่อในอาณาจักรนี้มีป่ามันจะเป็นของชนกลุ่มใดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชนกลุ่มใหญ่ก็ทำไม่ได้ เมื่ออยู่ในอาณาจักรก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

“เกิดชนกลุ่มน้อยจะมาขออนุญาตอยู่ ขออนุญาตอาศัยนั่นก็ว่ากันเป็นเรื่องเรื่องไป แต่เมื่อกี๊ผมบอกแล้วว่า เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาพูดมากไม่ได้ เราเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนนะ แต่ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นก็ต้องเคารพกฎหมายเราด้วย มันจึงจะอยู่ด้วยกันได้ ถ้าหากว่าจะเอาแต่สิทธิ์ มันก็ขัดกัน ก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ เราต้องเคารพกัน ท่านก็ต้องเคารพเราวันนี้ขอตอบคำถามเข้าใจนะครับ

ผู้สื่อข่าวถามว่าพอจะมีทางออกอย่างไร นายสมชายกล่าวว่า “ผมดูในสำนวนคดีเห็นว่า ทางเจ้าหน้าที่จัดสถานที่ให้อยู่แล้ว แต่เขาบอกไม่อยู่ เขาจะไปอยู่ที่นั่น ปัญหาก็เกิด การเป็นชนกลุ่มน้อย แล้วเราก็ให้สถานที่ที่จะอยู่ซึ่งเขาก็อยู่ได้ ทำกินได้พอสมควรแก่อัตภาพมันก็น่าจะต้องยอมรับ เพราะเดี๋ยวมิฉะนั้น จะไปบอกว่าผมอยากไปอยู่บนดอยสุเทพ อยู่ตรงนี้แล้วจะทำอย่างไร มันก็จะเป็นปัญหาอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องเคารพซึ่งทั้งสองฝ่ายด้วยกันถ้ามีปัญหาก็ต้องคุยกัน

ผู้สื่อข่าวถามด้วยคำถามต่อว่ากรณีที่มีในสำนวนระบุว่าเป็นเพิงพักของชาติพันธุ์คืออยากขอขยายความว่า ตรงนั้นอ้างอิงจากอะไรคะ โฆษกศาลปกครองตอบว่า ก็จากสำนวนคดีที่เจ้าหน้าที่เค้าบันทึกก็ตามนั้น แล้วเรื่องนี้ตุลาการเจ้าของสำนวนได้แสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ดูแค่คำให้การของเจ้าหน้าที่อย่างเดียว แต่ว่ามีการสอบ ไต่สวนกำนันผู้ใหญ่บ้านลักษณะนั้น มีการไต่สวนล่ามด้วย เพราะฉะนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนครับ
—————-

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →