สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ก.ล.ต.-บีโอไอ.ประสานเสียงเข้มทุนไทยข้ามแดนต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กสม. จัดประชุมติดตามสถานการณ์พบยังละเมิดสิทธิอื้อ ผู้เชี่ยวชาญแนะธุรกิจประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม-ทำ CSR จริงใจ

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพ ฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย อันเกี่ยวกับเนื่องจากข้อเสนอของกสม. โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร เป็นประธาน

นายมนตรี จันทวงศ์ ตัวแทนคณะทำงานติดตามการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย กล่าวรายงานสถานการณ์ของทุนไทยในประเทศเพื่อนบ้านว่า การลงทุนของทุนไทยในขณะนี้มีมากมายหลายโครงการ โดยการลงทุนในภาพรวมของไทยในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีมูลค่าสะสมตั้งแต่ ปี 2548-2559 รวม 2.5 ล้านล้านบาท ประเทศอาเซียนมีมูลค่าประมาณ 785,000 ล้านบาท โดยในกลุ่มประเทศอาเซียนพบว่า ไทยไปลงทุนที่สิงคโปร์สูงที่สุด รองลงมาคือพม่า เวียดนามอินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และบรูไน การลงทุนในพม่านั้นประเทศไทยมีงบประมาณลงทุนร่วมกันระหว่างปี 2548 ถึง 2559 ประมาณ 114,000 ล้านบาท

“สาเหตุการไปลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนไทยมีประมาณ 4 ประการคือ 1 แสวงหาตลาดใหม่ 2 แสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและเข้าถึงวัตถุดิบแรงงานที่ถูกกว่าในประเทศไทย 3 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมถึงการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ และ 4 ช่วยในด้านการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งการลงทุนที่ผ่านมากสม.ได้พบว่า การลงทุนดังกล่าวมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยส่วนใหญ่เผยแพร่ออกมาในเรื่องของความไม่โปร่งใสและขาดหลักธรรมาภิบาลผลกระทบตามมา สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเยียวยาที่ไม่เป็นธรรม” นายมนตรี กล่าว

ด้านนางสาวสฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวว่า ประเด็นที่เราอยากสะท้อนมีประเด็นปัญหามากมาย และมีข้อคิดมาเสนอบ้าง ตอนนี้เราอยู่ในภาวะ ซึ่งเราเส้นขนานการรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR การเคารพสิทธิเป็นเรื่องระดับสากลที่มีการพูดถึงในสหประชาชาติ สิทธิมนุษย์ชน คือ ประเด็นสำคัญในกิจการรับผิดชอบต่อสังคม เพราะหลายบริษัทมีเจตจำนงดี แต่ไม่มีการเคารพสิทธิ ทางปฏิบัติเข้าใจว่าตอนนี้ประเทศไทยพยายามจะผลักดันเรื่องแผนธุรกิจที่เชื่อมโยงสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนหลายอย่างซึ่งจะสำเร็จเร็วเร็วนี้ก็คงไม่ใช่ ของเรื่องนี้ถ้าให้มองในมุมส่วนตัวคิดว่าเมืองไทยน่าจะต้องมองแบบแยกบริบท ตามประเด็นปัญหา หลัก ๆ มี 3 ช่วง 1 ช่วงก่อนดำเนินการ 2 ช่วงระหว่างการดำเนินการ และ 3 ช่วงหลังดำเนินการแล้ว

“มองจากมุมธุรกิจ เราควรแยก เช่น ปัญหาไม่รับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน หรือ ทำ EIA (งานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม) EHIA (งานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ) บกพร่อง หรือว่าบริษัทเอกชนเหล่านั้น ถ้าไม่ทำเราควรจะต้องหวังเงื่อนไขให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่มีอำนาจจะต้องเร่งรัดให้มีการทำ และหากไม่ทำมีผลอย่างไร ส่วนช่วงระหว่างดำเนินการหากมีปัญหา เช่น ทำไปแล้วแต่มีข้อมูลบกพร่องก็ต้องมีการแก้ไขตามกระบวนการ ทีนี้มาถึงว่า เรื่องตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เน้นว่า กรณีที่มีบริษัทเขาอยู่กับตลาดหลักทรัพย์ ขอเรียนว่าควรมีช่องทางที่ผู้กำกับดูแล สามารถดูแลและยกระดับได้ เช่น ก.ล.ต มีการบัญญัติอนุมัติและเกณฑ์ไว้ว่าต้องรับผิดชอบสังคมอย่างไร ให้บริษัทอธิบาย แล้วถ้าบริษัททำผลกระทบต้องรายงานด้วย ตรงนี้เองบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ต้องมีการเปิดเผยตามกฎ เพราะหากเกิดการร้องเรียนและมีการสอบสวนสืบสวนโดยกสม. ก็ต้องเอาเรื่องนี้มามองด้วย เพื่อจะมีแนวทางการเรียกบริษัทเข้ามาชี้แจงต่อผู้ตกทุกข์มากขึ้น ซึ่งในรอบห้าปีที่ผ่านมา เรื่องดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ก่อนหน้าที่ ก.ล.ต. จะพูดแค่เรื่องตลาดหุ้น ช่องทางตรงนี้กรรมการสิทธิ์น่าจะมีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์ได้” นางสาวสฤณี กล่าว

ด้านนายตาน ซิน จากประเทศพม่ากล่าวว่า เรื่องทุนไทยที่ไปลงทุนพม่านั้น น่าจะมีการเยียวยาและรับผิดชอบ กรณีที่ทวายนั้น อยากให้มีกรรมการพิเศษมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และประสานงานกันเพื่อรับผิดชอบแก่คนพม่า นอกจากนี้ยังมีกรณีเหมืองถ่านหินบานชองอีก

นางชอง เอ ดินา ชาวกะเหรี่ยงจากหมู่บ้านที่ได้รับผลบกระทบจากเหมืองบานชองในพม่า ที่ดำเนินการโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทยกล่าวว่า ได้รับผลกระทบจากพื้นที่สู้รบ สงครามภายใน จนต้องอพยพออกแล้ว ตอนนี้สงครามสงบชาวบ้านหวังว่าจะมีชีวิตใหม่ในหมู่บ้าน เพราะเป็นบ้านเกิด ชาวบ้านไม่เคยรู้เรื่องเหมืองถ่านหินมาก่อนเลย เพิ่งรู้ตอนที่มีการสร้างแล้วต่อเมื่อได้เห็นว่ารถไถเข้ามาในพื้นที่โครงการ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ปกครองของกองทัพกะเหรี่ยง หรือ KNU และรัฐบาลพม่าด้วย ซึ่งการดูแลไม่ได้ครอบคลุมมายังชาวบ้านมากนัก ผลกระทบที่รุนแรง คือ การเกิดการลุกไหม้

ทั้งนี้ในการประชุม ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต กล่าวชี้แจงข้อกังวลเกี่ยวกับการควบคุมดูแลกิจการเอกชนที่อยู่ภายใต้ก.ล.ต.ว่า โดยส่วนมาก ก.ล.ต จะเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอยู่แล้ว โดยทั่วไปมีบริษัทเอกชนหลายขนาด ทั้งเล็กทั้งใหญ่ กลุ่มบริษัทใหญ่ข้ามไปลงทุนเองอยู่แล้ว ในแง่การกำกับดูแล กรณีบริษัทจดทะเบียนทั่วไป รับทราบกฎเกณฑ์ตรงนี้อยู่แล้ว แต่อาจต้องมีการกำชับให้นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งเงื่อนไขนี้จะเริ่มใช้จริงจังปีหน้า ราวมีนาคม 2561

“กรณีบริษัทไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้ เราจะติดตามผลต่อไป โดยเราแจ้งไปแล้วว่าต้องทำ ทีนี้มาถึงบริษัทที่ไปลงทุนข้ามแดน ในแง่ข้อมูล เราจะตรวจสอบก่อนว่ามีการส่งผลกระทบจริงหรือไม่มีการร้องเรียนนหรือเปล่า หากเกิดกรณีเร่งด่วนมีผู้ร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อบริษัทใดทางเราจะเร่งรัดให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลก่อนแล้วช่วยชี้แจงไปยังผู้ร้องทุกข์แต่หากไม่มีการเปิดเผย จะตรวจสอบว่ามีหน่วยงานใดที่ดูแลโดยตรงหรือไม่ หากมีทางเราจะเสนอไปยังหน่วยงานนั้นนั้นเพื่อให้รับรู้” ตัวแทนก.ล.ต กล่าว

ด้านตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ชี้แจงว่า เรื่องการลงทุนในต่างประเทศ ทางสำนักงานทำหน้าที่แค่ให้ข้อมูลและคำแนะนำเท่านั้นเพราะหน้าที่หลักของหน่วยงานคือดูแลและกำกับกิจการการลงทุนในประเทศเท่านั้น กรณีลงทุนต่างประเทศเราเน้นแนะนำบริษัทต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎการลงทุนของประเทศนั้นอย่างเคร่งครัด ส่วนการลงทุนในประเทศไทย เราให้บริษัทไทยปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ

นางเตือนใจ ดีเทศ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรกล่าวสรุปภายหลังการประชุมว่า จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 มีการกำหนดให้บริษัทเอกชนที่ลงทุนนั้นต้องมีมาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ โดยตรงและทางอ้อม ดังนั้นการประชุมในวันนี้นอกจากการเปิดเผยสถานการณ์การลงทุนของทุนไทยในภาพรวมแล้ว ทางกสม. จะจัดเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนธุรกิจต่อไป
โดยจะผลักดันข้อเสนอให้ภาคเอกชน ภาครัฐรับรู้ข้อมูลการลงทุนที่ส่งเสริมสิทธิมากขึ้น และเพื่อปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เน้นให้มีการเคารพสิทธิภาคประชาชนมากขึ้น

On Key

Related Posts

เผยผู้หนีภัยการสู้รบชายแดนไทรโยคต้องหลบซ่อน-อาศัยหลับนอนในซุ้มกอไผ่หลังถูกทางการไทยผลักดันออก กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐจี้ยุติการส่งกลับสู่อันตราย ชี้ระวังถูกโลกประณาม

ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมาธิการ(กมธRead More →

แฉรัฐบาลไทยผลักดันผู้หนีภัยการสู้รบกลับพม่าโดยไม่สมัครใจ หวั่นส่งไปสู่อันตราย เผยเตรียมเดินหน้าอีก 610 คนที่สวนผึ้ง ภาคี 4 เครือข่ายออกแถลงการณ์เรียกร้องยุติด่วน

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ภาคีเครือข่ายองค์กรที่Read More →