สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

“ปู่คออี้”ย้ำน้ำนมหยดแรกดื่มกินในผืนป่าแก่งกระจาน วอนขอกลับถิ่นเกิด กสม.มอบรางวัลนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแด่ผู้อาวุโส-นักพัฒนา-สื่อมวลชน แต่ไร้หน่วยงานรัฐผ่านการคัดเลือก

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม ประจำปี 2560 “ร่วมสร้างสังคมไทยให้เคารพสิทธิมนุษยชน” ซึ่งภายในงานจะมีการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ แก่บุคคลและองค์กรที่ทำงานอุทิศเพื่อสิทธิมนุษยชนด้วย โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 400คน

นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวเปิดงานว่า งานวันนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติรับรองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และได้ถือให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day) โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดร่วมสร้างสังคมไทยให้เคารพสิทธิมนุษยชน เนื่องจากถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 ซึ่งบัญญัติให้ กสม. เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการเสริมสร้างทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน


จากนั้นภายในงานมีการอ่านบทกวีเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้รับรางวัลโดย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติและนำเสนอสรุปสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2560 รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจากหน่วยงานต่างๆ

สำหรับรางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.นายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้ อายุ 106 ปี ผู้นำจิตวิญญาณแห่งผืนป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในที่ทำกินและที่อยู่อาศัย จากกรณีถูกผลักดันให้อพยพจากถิ่นที่อยู่ดั่งเดิม 2.นางสาวศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ อดีตข้าราชการ และนักพัฒนาอาวุโสที่ทำงานภาคประชาชนยาวนานกว่า 40 ปี และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) 3. นายสุแก้ว ฟุงฟู รองประธานสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ผู้นำในการลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิในที่ดิน และเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ


รางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560 โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคลทั่วไป จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน 2.นางสาวสมลักษณ์ หุตานุวัตร นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ต่อสู้เรียกร้องการแก้ปัยหาผลกระทบเหมืองทองคำจังหวัดพิจิตร 3.นางอรนุช ผลภิญโญ แกนนำ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ทำงานการเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิชุมชนจากการละเมิดสิทธิในที่ดินทำกินเทือกเขาเพชรบูรณ์

ประเภทเด็กและเยาวชน จำนวน 2 ราย ได้แก่ 1.กลุ่มสองล้อรักษ์บ้านเกิด อาสาสมัครชุมชนด้านทรัพยากร จังหวัดสตูล การรวมตัวกันของเยาวชนเพื่อปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีต่อสู้เรื่องท่าเรือน้ำปากบารา 2.เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เป็นกลุ่มการรวมตัวของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือ เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในหลายด้าน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมหลายเรื่อง

ประเภทสื่อมวลชน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.นางสาวมณนิตา (ณัฏฐา) โกมลวาทิน บรรณาธิการ/ผู้ดำเนินรายการที่นี่ไทยพีบีเอส 2.นายปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการรายการล่าความจริง ทาง Nation TV และบรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา 3.รายการคนเคาะข่าว สถานีโทรทัศน์นิวส์วัน (NEWS1)

ประเภทองค์กรภาครัฐ ไม่มีองค์กรใดผ่านการคัดเลือก

ประเภทองค์กรภาคเอกชน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นกลไกสำคัญในการรณรงค์เคลื่อนไหว เรียกร้อง เจรจาต่อรอง หรือผลักดันให้รัฐกำหนดนโยบายต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป้นธรรม 2.เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินและที่อยู่อาศัย สวัสดิการ และสิทธิของคนกลุ่มชาติพันธุ์และคนจน โดยเฉพาะกรณีที่ดินชาวเลราไวย์ 3.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการทรัพยากรและภัยพิบัติธรรมชาติ

หลังจากพิธีมอบรางวัล นางพิณภา พฤกษาพรรณ ภรรยานายพอละจี รักจงเจิญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้สิทธิมนุยชนชาวบางกลอยซึ่งถูกบังคับให้หายตัวไป ได้เป็นตัวแทนรับรางวัลแทน นายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้ กล่าวว่า รู้สึกดีใจและของขอบคุณแทนปู่คออี้ที่ได้รับรางวัลนี้ ปู่คออี้ไม่ค่อยแข็งแรงจึงไม่ได้มารับรางวัลด้วยตัวเอง แต่ได้ฝากคำพูดมาให้ว่า “เราไม่ได้โกงหรือแย่งชิงที่ดินของใครมา เพราะน้ำนมหยดแรกเราก็ดื่มที่นี่ ข้าวเม็ดแรกเราก็กินที่นี่ รอยเท้าแรกเราก็ย่ำลงที่นี่ เราอยากกลับไปอยู่ที่ใจแผ่นดินเหมือนเดิม”

นางอรนุช ผลภิญโญ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ผู้รับรางวัลบุคคลดีเด่น กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้รับรางวัล แต่ถ้าไม่มีชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ก็คงจะไม่มีรางวัลนี้ ซึ่งกำลังทำให้เรารู้ว่าขณะนี้ยังคงมีชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งการเป็นนักปกป้องสิทธิไม่ใช่งานที่ยาก แต่สิ่งที่ยากคือทำอย่างไรให้ผู้ถูกละเมิดสิทธิได้รับการปกป้อง และปัญหาได้รับการแก้ไข รางวัลนี้จึงควรเป็นของชาวบ้านทุกคน

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →