สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

กรมอุทยานฯแพ้คดีโลกร้อนศาลฎีกาสั่งยกค่าเสียหายฟ้องชาวกะเหรี่ยงป่าผาก ระบุอ้างงานวิจัยเก่า


เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อม คดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอมรเทพ ศุภกรสกุล นางมะลิ งามยิ่ง และนางมะและหยิ่ง งามยิ่ง ชาวกะเหรี่ยงบ้านป่าผาก ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เข้าไปหยอดปลูกข้าวไร่เป็นเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า อันเป็นการทำลายป่า ทำให้เสื่อมสภาพทรัพยากรธรรมชาติ

ทั้งนี้ค่าเสียหายที่กรมอุทยานแห่งชาติฯเรียกร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเรียกกันว่าคดีโลกร้อนได้แก่ มูลค่าเนื้อไม้และความเพิ่มพูนไร่ละ 60,024 บาทต่อปี มูลค่าของป่าไร่ละ 232.25 บาทต่อปี มูลค่าของธาตุอาหารในดินไร่ละ 767.97 บาทต่อปี การปลูกป่าและทำนุบำรุงป่าไร่ละ 7,220 บาทต่อปี และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 18 พฤษภาคม 2548 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 310,474.12 บาท

ศาลฎีกาแผนกสิ่งแวดล้อมเห็นว่า เป็นหน้าที่ของโจทก์(กรมอุทยานแห่งชาติฯ) ต้องนำสืบถึงความเสียหายตามจำนวนเงินที่ฟ้อง โดยสำรวจและเก็บข้อมูลทั้งไม้และดินจากป่าที่เกิดเหตุ การใช้แบบจำลองค่าเสียหายที่ไม่ตรงกับสภาพป่า การไม่เก็บข้อมูลทั้งไม้และดิน และการอ้างงานวิจัยตั้งแต่ปี 2519 และ 2535 เป็นงานวิจัยเก่า เนื่องจากคดีเกิดปี 2548 ซึ่งหลังจากงานวิจัยหลายปี ดังนั้นพยานหลักฐานของโจทก์(กรมอุทยานแห่งชาติฯ)จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ป่าที่เกิดเหตุเสียหายตามฟ้อง ประกอบกับนายสุรพงษ์ กองจันทึก จากศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าสำรวจที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2559 พบว่า ขณะที่เข้าไปสำรวจป่ามีสภาพสมบูรณ์แล้ว

ศาลฎีกาพิพากษายืนตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษา และให้ยกฎีกาของโจทก์(กรมอุทยานแห่งชาติฯ) เนื่องจากฟังไม่ขึ้น ซึ่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2560 มีว่า “อุปกรณ์ในการกระทำผิดที่ยึดได้มีเพียง มีด 2 เล่ม ไม้สำหรับหยอดข้าว 1 อัน แสดงว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร้ายแรงมากนัก และพื้นที่ซึ่งถูกบุกรุกก็มีเพียง 3 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมชดใช้แก่โจทก์เป็นเงิน 37,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดนั้น นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว”

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนาเปิดเผยว่า หมู่บ้านป่าผากที่ชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นจำเลยทั้งสามคนอาศัยอยู่ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จำเลยทั้งสามก็เกิดและอาศัยทำกินในพื้นที่นี้ตลอดมา พื้นที่พิพาทเป็นไร่หมุนเวียนดั้งเดิมของชุมชน ชาวบ้านทั้ง 3 เข้าไปปลูกข้าวไร่ไว้รับประทานเองตามวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นไร่หมุนเวียนใช้พื้นที่เพียง 3 ไร่ ตนเข้าไปดูพื้นที่เกิดเหตุในปี 2559 ซึ่งหลังจากเหตุเกิด 11 ปี พบว่าป่าได้ฟื้นสภาพตามธรรมชาติเป็นป่าสมบูรณ์ ไม่พบร่องรอยความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติแต่อย่างใด เป็นการยืนยันว่าไร่หมุนเวียนเป็นการรักษาป่าและสภาพแวดล้อม ซึ่งมีการศึกษาวิจัยรองรับจำนวนมาก จนกระทรวงวัฒนธรรมประกาศให้ไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในปี 2546

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →