สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

แสงสุดท้ายของผู้เฒ่าไร้สัญชาติ

 

 

พ่อเฒ่าแม่เฒ่าเกือบครึ่งร้อย นั่งเรียงคิวรอรับเบี้ยคนชรา ในศาลาการเปรียญ โดยมีลูกหลานจูงแขนคอยรับส่ง ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มเบิกบาน แต่อีกมุมหนึ่งบริเวณข้างศาลา คนเฒ่ารุ่นราวคราวเดียวกันอีกเกือบ 30 ชีวิตนั่งมองเพื่อนด้วยแววตาแสนเศร้า หลายคนกอดหลานเล็กๆ ไว้แนบอก มองดูกิจกรรมการช่วยเหลือของภาครัฐอยู่ห่างๆ

 

“แม่อุ้ยบ่มีบัตรมีใบ บ่ได้รับเงินอย่างเขา ชื่อแม่อุ้ยตกหล่น แต่ก่อนก็บ่คิดว่าจะทำบัตรทำใบ เอาเวลาไปยะไร่ยะนาเลี้ยงลูกเลี้ยง บ่ได้ไปไหน แต่ตอนนี้มันเฒ่าแล้ว ทำมาหากินบ่ได้ละ ได้แต่เฝ้าเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอยู่ที่บ้าน แม่เฒ่าก็เป็นคนไทยนี่หละ จำความได้ก็อยู่บ้านหาดบ้ายนี่หละ คงจะตายที่นี่หละ” อุ้ยปา ธรรมวงศ์ แม่เฒ่าวัย 78 ปี สะท้อนความเจ็บช้ำน้ำใจที่อยู่ในอก

 

บ้านของอุ้ยปาอยู่ที่หมู่บ้านหาด บ้าย ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวไทลื้อรุ่นพ่อแม่ของอุ้ยอพยพหนีสงครามหลายสิบครอบครัวจากสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีน มาสร้างหลักปักฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงประเทศไทย

 

เมือง ชายแดนริมฝั่งโขง ทางภาคเหนือตอนบน นับตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน ถึงแก่งผาไดบ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย รวมความยาวประมาณ 130 กว่ากิโลเมตร มีชุมชนตั้งเรียงตามชายแดน ถึง 41 ชุมชน ซึ่งคนทั้ง 2 ฝั่งต่างเป็นเครือญาติอยู่ด้วยกันมานาน เมื่อฝั่งไหนทำมาหากินฝืดเคืองหรือเกิดโรคระบาดก็จะอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมา อยู่กับญาติอีกฝั่งหนึ่งเพราะต้องการความมั่นคงในชีวิตและการงาน

 

จาก การลงพื้นที่สำรวจของคณะทำงานกลุ่มรักษ์สิทธิชุมชนลุ่มน้ำโขงร่วมกับมูลนิธิ พัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ซึ่งเก็บข้อมูลชุมชนชายแดนนำร่องริมฝั่งโขงภายใต้โครงการแก้ปัญหาสถานะบุคคล เพื่อสุขภาวะผู้เฒ่าไร้สัญชาติ รวม 11 ชุมชน พบว่าคนที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างด้าวถึง 938 คน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มบุคคลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่เป็นเวลานานหรือเอกสารตกหล่น ที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็น

 

กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป 2.กลุ่มอพยพมาภายหลังเป็นครอบครัวหรือมาเป็นเขย-สะใภ้ สร้างหลักปักฐานร่วมกับคนไทย และ 3.กลุ่มที่เข้ามาเป็นแรงงาน มีทั้งเข้ามาอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย

 

เมื่อดูในรายละเอียดพบว่ามี จำนวนผู้เฒ่าไร้สัญชาติจำนวน 300 กว่าคน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามกลุ่มที่ควรจะได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องเอกสารตกหล่น และเป็นปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลของฝ่ายทะเบียนในอดีต เช่น ในปี พ.ศ.2530 ทางการมีคำสั่งให้สำรวจสถานะบุคคลบางพื้นที่ให้ทำบัตรต่างด้าว หลายชุมชนในอำเภอเชียงของพากันทำบัตรต่างด้าวทั้งๆ ที่เป็นบุคคลดั้งเดิมอยู่กันมานาน ตอนหลังจึงเกิดปัญหาเมื่อทำเรื่องขอสัญชาติไทย ทั้งที่ทะเบียนประวัติที่จัดทำโดยศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา หรือทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง บางคนระบุเกิดในประเทศ

 

ไทย เข้าเงื่อนไขการได้สัญชาติ การเกิดตามหลักดินแดน แต่เมื่อเกิดความผิดพลาดไปยอมรับการทำบัตรเลขศูนย์หรือบัตรคนไม่มีสถานะทาง ทะเบียน ทำให้ช่องทางการได้สัญชาติหายไป ประกอบกับมีกลุ่มบุคคล ที่หารายได้จากการเรียกเก็บเงินรายหัวเพื่อแปลงสัญชาติเกิดการปลอมแปลง เอกสาร บางคนโดน

 

สวมชื่อ หรือโดนจำหน่าย ถูกแจ้งตายบ้าง จนเป็นคดีความใหญ่โตในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้

 

จะ มีกฎหมายหลายฉบับที่เปิดช่องให้คนกลุ่มดังกล่าวสามารถมีสัญชาติไทยได้ แต่ด้วยพื้นที่ชุมชนห่างไกลและการเข้าถึงข้อมูลได้ยากจึงเป็นอุปสรรค อีกทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเรื่องทะเบียนมีจำนวนจำกัด และเรื่องกฎหมายที่ละเอียดอ่อนและขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารการติดตามที่ยุ่ง ยาก รวมถึงการทำงานแบบเช้าชามเย็นชามและมีอคติ ทำให้บุคคลที่ควรได้รับสถานะเป็นคนไทยไม่มีโอกาสเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้

 

“พ่อ อุ้ยก็น้อยใจ ไปรักษาที่เสียเงิน ตอนนี้เรี่ยวแรงจะหาเงินหาทองก็ไม่มีแล้ว ได้แต่เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน บ่ฮู้จะอยู่ได้อีกกี่ปี มีคนจะมาทำให้แต่เขาเรียกเงินเป็นหมื่น พ่อบ่ฮู้จะหาเงินไหนได้ บ่มีบัตรมีใบก็ช่างมันเต๊อะ แต่ขอให้ได้รักษาพยาบาลฟรี ได้รับการดูแลจากเจ้านายเปิ้นเหมือนคนอื่น เขาก็พอละ” อุ้ยคำ ธรรมวงศ์ พ่อเฒ่าวัย 84 ปี แห่งบ้านหาดบ้าย เล่าถึงความต้องการของแสงสุดท้ายในชีวิต

 

ความ หวังของอุ้ยคำและอุ้ยปา ไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุอีกนับพันนับหมื่นคนในสังคมไทย ที่ประสบเผชิญชะตากรรมอันเลวร้ายอันเนื่องมาจากปัญหาสถานะบุคคล

 

ผู้ เฒ่าไร้สัญชาติจำนวนมาก เติบโตในผืนดินไทยหรืออาศัยอยู่เมืองไทยไม่ต่ำกว่า 40 ปี ได้สร้างคุณงามความดี เลี้ยงลูกเลี้ยงเต้าจนเป็นผู้นำท้องถิ่นพัฒนาบ้านเมือง พวกท่านเป็นปราชญ์ผู้รู้สืบทอดสืบสร้างภูมิปัญญาประเพณีท้องถิ่น ได้รับการเชิดชูจากลูกหลานในชุมชน แต่การไร้สถานะไม่มีตัวตน ทำให้คนเฒ่าไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านสิทธิ หรือสวัสดิการต่างๆ จากทางภาครัฐ เช่น การรักษาสุขภาพ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

 

ผู้เฒ่า หลายคนรู้สึกอัดอั้นน้อยใจในความเป็นคนไทยอันไร้ตัวตน ความหวังเล็กน้อยของไม้ใกล้ฝั่ง ที่ต้องการเพียงแค่ความใส่ใจและการหยิบยื่นโอกาสให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เหมือนคนทั่วไป

 

“ช่างมันเต๊อะลูกหลานเฮ้ย อันไหนช่วยยายได้ก็ช่วยกันไป ยายกลับบ้านก่อนเด้อ” ยายปา ปาดน้ำตาที่ไหลคลอเบ้า พูดบอกลา พร้อมกับจูงมือหลานสาวตัวน้อยลงกราบอธิษฐานไหว้พระ ก่อนเดินออกจากศาลาวัดไปหรือที่พึ่งเดียวของพวกท่านในยามนี้คือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์

 

แต่ในวันที่ 22 เมษายนนี้ อุ้ยคำ อุ้ยปา และผู้เฒ่าอีกหลายร้อยคน หลากหลายชาติพันธุ์ที่อยู่บนดอยและชายขอบภาคเหนือของประเทศ จะเดินทางมาร่วมงาน “วันคนเฒ่าไร้สัญชาติ” ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นที่บ้านใกล้ฟ้า บนดอยแม่สลอง

 

โดย เกรียงไกร แจ้งสว่าง กลุ่มรักษ์เชียงของ
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 ปีที่ 36 ฉบับที่ 12820 มติชนรายวัน

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →