สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ลาวรับฟังแต่ไม่ยังเดินหน้าสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ประชุมเอ็มอาร์ซีวุ่น เวียดนาม-เขมรจวกหนัก องค์กรแม่น้ำนานาชาติจี้ลาวชะลอแผนก่อสร้าง-ศึกษาให้รอบคอบ

image

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 ที่โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ มีการประชุมคณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งที่ 20 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2557 โดยในการประชุมครั้งนี้มีนายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ เป็นประธาน และมีตัวแทนจากประเทศสมาชิก 4ประเทศเข้าร่วมด้วย อาทิ นายซินีนี่ รองประธานเอ็มอาร์ซีแห่งกัมพูชา นายวีระพล วีระวง รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและบ่อแร่ของลาว นายเหงียน ไทย ลาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวครั้งนี้ปฏิเสธที่จะแถลงข่าวในนาม เอ็มอาร์ซี โดยอ้างว่าเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพ จึงได้ให้ผู้แทนประเทศไทยเป็นผู้นำแถลงข่าว อย่างไรก็ตามเดิมทีกำหนดการในการแถลงข่าวนั้นจะเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 15.30 น.แต่เนื่องจากเวทีประชุมเสร็จสิ้นล่าช้า จึงต้องเลื่อนเวลาแถลงข่าวมาเป็นเวลา 17.00 น.โดยตัวแทนประเทศลาว เวียดนามและกัมพูชาปฏิเสธการให้สัมภาษณ์

นายโชติ กล่าวแถลงว่า การประชุมครั้งนี้มีประเทศทางคุยกันในประเด็นที่จะศึกษาและพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่การมุ่งหารือเรื่องการทำโครงการพลังงานน้ำ ในแม่น้ำสายประธานเพื่อการพัฒนาในแม่น้ำโขงตอนล่าง และสร้างความเข้มแข็งในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อรับมือสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ

นายโชติกล่าวว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้กล่าวถ้อยแถลง เขื่อนดอนสะโฮง ว่ายินดีให้ประเทศสมาชิกร่วมหารือและทางออกของการบรรเทาผลกระทบข้ามแดน ซึ่งประเทศสมาชิกต่างพอใจกับท่าทีของลาว และยินดีให้ความร่วมมือ โดยยึดหลักการป้องกันผลกระทบข้ามพรมแดนเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้แผนการสร้างเขื่อนของลาวได้ยืดระยะเวลาออกไป และนายฮาน กัตแมน เอคอัคราชทูต ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาค ในฐานะเลขาธิการเอ็มอาร์ซี เข้าร่วมด้วย

“เรื่องการเสนอให้ประเทศสมาชิกร่วมศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตนั้น คาดว่าจะใช้เวลาอย่างต่ำ 6 เดือนและในการประชุมครั้งหน้าที่ประเทศเวียดนาม อาจจะนำประเด็นรายละเอียดของการศึกษาไปรายงานในที่ประชุมเพิ่มเติม ” นายโชติกล่าว

ผู้สื่อช่าวถามว่า กรณีเขื่อนไซยะบุรี ที่ศาลปกครองไทยได้ตัดสินรับคำฟ้องจากภาคประชาชนไปนั้นที่ประชุมได้หารือกันอย่างไรบ้าง นายโชติกล่าวว่า ที่ประชุมไม่ได้นำรายละเอียดมาคุย แต่ว่า ทุกประเทศทราบจากข่าว และเห็นว่าการฟ้องร้องเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่การสร้างเกิดขึ้นในอนาธิปไตยลาว ดังนั้นที่ประชุมจึงต้องรอเวลาให้ไทยซึ่งเป็นคู่คดีดำเนินการตามขั้นตอนในประเทศเอง อย่างไรก็ตามไทยเองได้เคยนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกับภาคประชาชนลุ่มน้ำโขงมาแล้ว เมื่อประมาณปี 2554 ในพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งขณะนั้นทางการไทยเข้าใจดีว่าเป็นความกังวลภาคประชาชนต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและการแปรเปลี่ยนของระดับน้ำโขง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะขอให้ลาวเปิดเวทีหารือร่วมอีกครั้ง

นายโชติกล่าวว่ากรณีศาลไทยรับฟ้องนั้น ประเทศสมาชิกอย่างเวียดนาม กัมพูชา เองก็กังวลเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องการเกิดตะกอนในลุ่มน้ำโขง ที่อาจทำลายระบบนิเวศซึ่งทางการลาวยินดีจะศึกษาเพิ่มเติม และยินดีแก้ไขปัญหาหากเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ส่วนประเทศไทยเองจะมีการนำเสนอข้อมูลชี้แจงต่อศาลเป็นลำดับต่อไป

ข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมผู้แทนของเวียดนามและกัมพูชาได้คัดค้านการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงอย่างหนักเนื่องจากอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งสองประเทศ ขณะที่ผู้แทนลาวพยายามชี้แจงว่าไม่มีผลกระทบใดๆเกิดขึ้นเพราะพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตามทั้งกัมพูชาและเวียดนามต่างแสดงความไม่สบายใจ ทำให้ผู้แทนลาวต้องศึกษายินยอมที่จะจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือ แต่ยังยืนยันที่จะเดินหน้าสร้างเขื่อนดอนสะโฮงต่อไป

ด้านนายฮาน กล่าวว่า กรณีการดำเนินการเขื่อนดอนสะโฮงนั้น เอ็มอาร์ซีเห็นด้วยกับการก่อสร้างแต่ต้องการ ตั้งกลุ่มคุยกันอีกครั้ง เรื่องการศึกษาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแม้ว่าทางการลาวไม่ได้ยืนยันว่าจะระงับการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง แต่ก็ยินดีจะเปิดโอกาสให้มีการหารือเพิ่มเติม ถึงหนทางที่สามารถลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้

นายฮาน ให้สัมภาษณ์กรณีศาลไทยรับฟ้องร้องเรื่องเขื่อนไซยะบุรี ด้วยว่า กรณีศาลรับฟ้องนั้นเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย เอ็มอาร์ซียังไม่ทราบเรื่องและไม่ได้นำเข้ามาหารือเพื่อขอความเห็นจากที่ประชุม ทั้งนี้ลาวได้พิจารณาข้อวิตกกังวลของประเทศภาคี โดยเฉพาะกัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งหลังจากนี้จะมีการแก้ไขกระบวนการและวิธีการในการสร้างเขื่อน เพื่อลดผลกระทบในมิติต่าง ๆ

ขณะเดียวกันภายหลังทราบผลการประชุม น.ส.เอมี่ แทรนเดม ผู้อำนวยการแผนงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)หรือไออาร์ ได้ออกแถลงการณ์โดยระบุว่าในที่สุดลาวก็ยกระดับความรับผิดชอบภายใต้ความตกลงแม่ น้ำโขง พศ.2538 และกฎหมายระหว่างประเทศโดยเริ่ม “กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า”

น.ส.เอมี่กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเรายังเป็นห่วงอย่างยิ่งที่ดูเหมือนลาวจะยังคงเดิน หน้าเพื่อสร้างเขื่อนตามที่วางแผนไว้ แทนที่จะใช้กระบวนการปรึกษาหารือเพื่อเป็นโอกาสในการให้ประเทศ เพื่อนบ้านได้แสดงความเห็นว่าสมควรสร้างหรือไม่ ในการประชุมวันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ วีระพน วีระวง กล่าวว่า “..ด้วยการสนับสนุนและความร่วมมือจากท่าน รัฐบาลลาวจะดำเนินการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรับผิดชอบและยั่งยืน”

น.ส.เอมี่กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวหยุดการก่อสร้าง ทั้งหมด ณ หัวงานเขื่อนดอนสะโฮง และร่วมมือด้วยความเชื่อมั่นเพื่อให้เกิดการประเมินโครงการอย่างแท้จริงภาย ใต้กระบวนการปรึกษาหารือ ซึ่งต้องรวมถึงการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน และการปรึกษาหารืออย่างจริงจัง ดังที่รับรู้กันว่าจากกรณีของโครงการเขื่อนไซยะบุรีนั้นพบว่า กระบวนการปรึกษาหารือของ MRC นั้นยังไม่สามารถทำให้เกิดการถกเถียงพูดคุยที่เป็นธรรมและโปร่งใส ดังนั้น MRC จึงควรปฏิบัติ หน้าที่เพื่อปฏิรูปกระบวนการดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือสำหรับเขื่อนดอนสะโฮง

น.ส.เอมี่กล่าวว่า ในขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของความ ร่วมมือในลุ่มน้ำโขง แต่สิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำคือ ต้องไม่ปล่อยให้กระแสการสร้างเขื่อนเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยที่ ไม่มีความรู้และข้อมูลเพียงพอว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง การตัดสินใจใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับแม่น้ำโขงที่ใช้ร่วมกันนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน และความเคารพในสิทธิของทุกประเทศที่ใช้แม่น้ำร่วมกัน ยังต้องใช้เวลาอีกมากสำหรับทำการศึกษาผลกระทบในลุ่มน้ำโขงตามที่ตกลงไว้ใน การประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง ( Council Study) และการศึกษาผลกระทบต่อปากน้ำโขง

น.ส.เอมี่กลาวว่านอกจากนี้ คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่รับฟ้องกรณีการรับซื้อฟ้าจากเขือนไซ ยะบุรี ก็ชี้ว่าเป็นที่ประจักษ์ว่าผลกระทบร้ายแรงและข้ามพรมแดนจากเขื่อนไซยะบุรีจะ เกิดขึ้นกับระบบนิเวศแม่น้ำโขงและประชาชนจำนวนมาก ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลลาวจะบอกมาตลอดว่าโครงการไซยะบุรีนั้นจะ ยั่งยืน ด้วยเหตุผลนี้ แนวทาง “การป้องกันไว้ก่อน” จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงและไซยะบุรีต้องชะลอ ไว้ก่อน ลาวควรเริ่มต้นจากจุด ณ วันนี้ โดยระลึกว่ามีข้อเรียกร้องจากเวียดนามและกัมพูชา และข้อเสนอแนะจากการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ของ MRC ที่เสนอให้ชะลอการสร้างเขื่อนทั้งหมดบนแม่น้ำโขงเป็น เวลา 10 ปี เพื่อทำการศึกษา

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →