สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

พม่าให้ บ.สามโตรกจากจีนซุ่มสำรวจเขื่อนสาละวินบน 7,000 MW ใหญ่ที่สุดในย่านนี้

dam
ภาพถ่ายเดือน ก.ค.2552 เขื่อนสามโตรกกำลังเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำแยงซี บริษัทของรัฐบาลจีนซึ่งเป็นเจ้าของเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ ได้รับอนุญาตให้ทำการสำรวจโครงการเขื่อนขนาด 7,000 เมหะวัตต์ กั้นลำน้ำสายหนึ่งทางตอนเหนือของแม่น้ำสาละวินในสรัฐชานของพม่า ซึ่งถ้าหากก่อนสร้างได้ ก็จะกลายเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. — ภาพแฟ้มหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี.

ASTVผู็จัดการออนไลน์ – เพิ่งมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่า รัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้บริษัทที่เป็นเจ้าของเขื่อนสามโตรก (Three Gorges Dam) ของจีน เข้าสำรวจศึกษาเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินบน (Upper Thanlwin Hydroelectric Dam) ในรัฐชาน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในประเทศเท่านั้น หากยังใหญ่ที่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยบริษัทของทางการจีนได้สำรวจความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จแล้ว

เรื่องนี้เปิดเผยโดย นายมอ ตาร์ ทเว (Maw Thar Htwe) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้า ซึ่งตอบกระทู้ผู้แทนราษฎรจากรัฐชานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์อีเลฟเว่นนิวส์รายงาน

บริษัทของรัฐบาลจีนที่เป็นเจ้าของเขื่อนสามโตรก เขื่อนที่ส่งผลกระทบผู้คนมากที่สุดในโลก ได้ร่วมทุนกับหุ้นส่วนในพม่่า ซึ่งเป็นบริษัทของบุตรชายอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งทำการสำรวจ แต่ก่อนจะลงมือสร้างเขื่อนใหญ่ หุ้นส่วนทั้ง 2 ฝ่ายจะทำการประชุมปรึกษาหารือกับทางการท้องถิ่น และประชาชนในเขตเมืองต้น (Mongton) ที่ตั้งของเขื่อนเสียก่อน ทั้งในด้านบวก และด้านลบของโครงการต่อสภาพแวดล้อม และผลกระทบทางด้านสังคม

รัฐมนตรีพม่า เปิดเผยต่อไปว่า เขื่อนสาละวินบนซึ่งจะสร้างกั้นลำน้ำงาวจันคา (Ngawchankha) กำลังจะทำให้น้ำท่วมเป็นเพื้นที่ถึง 262 ตางรางไมล์ (กว่า 678 ตร.กม.) บริษัทดังกล่าว กำลังจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมต่อรัฐบาล ขณะที่อีเลฟเว่นนิวส์ได้รายงานอ้างแหล่งข่าวระบุว่า กระทรวงอนุรักษ์วสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ ได้เลือกบริษัทสโวอี้เมาน์เทน จากออสเตรเลีย ให้ดำเนินการศึกษาแยกต่างหาก เพื่อรวบรวมรายเอียดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมของเขื่อนใหญ่เสนอต่อกระทรวง

บริษัทนี้กล่าวว่า เคยเป็นผู้ให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนท่าซาง (Tha Sang) กั้นแม่น้ำสาละวิน ทางตอนใต้ของรัฐชาน ซึ่งโครงการนี้ยังไม่สามารถก่อสร้างได้จนบัดนี้ กลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในรัฐชานเรียก เขื่อนสาละวินบนว่า “เขื่อนท่าซางที่กลับมาเกิดใหม่”

รัฐมนตรีพม่า กล่าวว่า บริษัท IGE ซึ่งเป็นของนายเนออง (Nay Aung) บุตรชายของนายอองตอง (Aung Thaung) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม-1 เมื่อก่อนนี้ ได้รับอนุญาตให้ทำการสำรวจ และศึกษาโครงการเขื่อน จำนวน 8 เขื่อน โดยจะร่วมทุนกับบริษัทจากจีน ซึ่งรวมทั้งเขื่อนหัตจี (Hatkyi) ขนาด 1,300 เมกะวัตต์ กับเขื่อนนองพา (Naungpha) 1,200 เมกะวัตต์ด้วย

ขณะนี้ยังไม่อาจประเมินมูลค่าเขื่อนสาละวินบนขนาด 7,000 เมกะวัตต์ได้ในขณะนี้ จนกว่าจะทำผลการสำรวจศึกษาแล้วเสร็จ และได้รับอนุมัติ แต่เอ็มโอยูที่เซ็นนั้นระบุว่า ฝ่ายเอกชนพม่าจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไร 2% รัฐบาลพม่าได้ 10-15% ที่เหลือเป็นของผู้ลงทุนจากจีน

เขื่อนสามโตรก เป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อเสียงในทางเลวร้าย เพราะมีการอพยพราษฎรออกจากพื้นที่กว่า 1.2 ล้านคน น้ำท่วม 13 เมือง 140 อำเภอ กับ 1,350 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมหาศาล ซึ่งนักอนุรักษ์ธรรมชาติกล่าวว่า ความหายนะเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมจะเลวร้ายลงอีกในอนาคต

เมื่อปี 2534 ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ประกาศล้มเลิกการก่อสร้างเขื่อนมี๊ตโสน มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ของนักลงทุนจีน หลังจากเขื่อนกั้นลำอิรวดีแห่งนั้น ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเกรงจะส่งผลกระทบต่อต่อสภาพแวดล้อมตามลำน้ำสายหลักของประเทศ นอกจากนั้นไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ยังจะส่งกลับไปยังจีนอีกด้วย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า กล่าวว่า เขื่อนสาละวินบนไม่ได้ก่อสร้างกั้นแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลำน้ำสายหลักโดยตรง และไฟฟ้าที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดจะใช้ในประเทศ มีเพียงจำนวนน้อยที่จะส่งออก.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กันยายน 2557

On Key

Related Posts

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →

KNU ประกาศกอบกู้มหารัฐกลอทูเลภายใต้ปฏิบัติการ Taw Mae Pha Operation ยื่นคำขาดทหารทัพแตกมอบตัวภายใน 2-3 วัน เผยเตรียมหารือกองกำลังฝ่ายต่อต้านบริหารเมืองเมียวดี ระบุสกัดกั้นทัพเสริม SACจนถอยร่น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 ภายหลังกองปลดปล่อยแห่งชRead More →

ชักธงกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสาเหนือเมืองเมียวดี-เผาธงชาติพม่าทิ้ง KNU ประกาศทางสัญลักษณ์ยึดพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ รศ.ดุลยภาคชี้จีนเป็นตัวแปรสำคัญ

วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่กองบัญชาการควบคุมที่ 12 หRead More →

รัฐคะเรนนียังรบกันเดือด โฆษก IEC เผยฝ่ายต่อต้านยึดพื้นทางทหาร SACได้เกือบหมด-ปิดล้อมบอลาเค-ผาซอง ส่วนสู้รบในเมืองเมียวดีกองกำลังชาติพันธุ์รุมสกัดขบวนทหารพม่าเสริมทัพ

v เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 นายบันยา (Banya) โฆษกRead More →