สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ชาวมัณฑะเลย์ชุมนุมประท้วงร้องรัฐแก้ปัญหาไฟดับ

ประชาชนมากกว่า 1,000 คนได้เดินขบวนประท้วงในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของพม่าเพื่อเรียกร้องให้มีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ด้านแกนนำการประท้วงกว่า 40 คนที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัวจากตำรวจสันติบาลของแล้ว โดยล่าสุด การประท้วงได้แพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ

นายยีพูเล (Nyi Pu Lay) นักเขียนชื่อดังชาวพม่า ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ ได้รับการปล่อยตัวหลังจากใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงที่สำนักงานตำรวจสันติบาลของพม่า เขาบอกกับสำนักข่าวอิระวดีว่า “ตำรวจถามผมว่าใครอยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ และบอกว่าหัวหน้ารัฐมนตรีของกระทรวงพลังงานไฟฟ้าต้องการพบและพูดคุยกับแกนนำการชุมนุมประท้วงคนอื่นๆ ผมบอกเจ้าหน้าที่ว่า ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงครั้งนี้”

 

เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้มีการชุมนุมประท้วงของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนล่วงหน้า 5 วัน และห้ามมีการชุมนุมในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มิฉะนั้นผู้ละเมิดจะถูกจำคุก 1 ปี

 

ขณะนี้การชุมนุมประท้วงได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น เมืองดาลาในย่างกุ้ง เมืองโมนยวาในมณฑลสะกาย เมืองโปรมในมณฑลพะโค โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสื่อของรัฐบาลพม่าได้รายงานว่า ประเทศผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงในช่วงฤดูร้อนอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำมีจำนวนลดลง และได้ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน

ประชาชนพม่ากว่า 1,500 คนได้ชุมนุมประท้วงที่เมืองมัณฑะเลย์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาและมีแผนที่จะชุมนุมอีกครั้งในอีก 2 – 3 วันข้างหน้า ซึ่งการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติผ้าเหลืองในปี 2007 ที่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ใช้ความรุนแรงสลายการชุมชุม

 

นายโกโกเล (Ko Ko Lay) หนึ่งในผู้ชุมนุมครั้งนี้ กล่าวว่า มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงเพิ่มมากขึ้น โดยการชุมนุมทั้งสามจุดเมื่อวานนี้มีประชาชนมาร่วมประท้วงถึง 1,500 คน

 

ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันหน้าโรงแรมเซโดนาที่มีชาวต่างชาติจำนวนมากพักอาศัยอยู่ โรงไฟฟ้า และสถานทูตจีน โดยประชาชนได้ทำการประท้วงรัฐบาลของจีนที่ทำการซื้อไฟฟ้าจากพม่าในขณะที่พม่ากำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลน

 

นายโกโกเล ยังกล่าวอีกว่า พวกเรากำลังรอให้รัฐบาลมาหารือด้วย และรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนเพราะมันเป็นหน้าที่ของพวกเขา

กลุ่มผู้ชุมนุมได้จุดเทียนขณะเดินขบวนที่ถนนประวัติศาสตร์ของเมืองมัณฑะเลย์พร้อมกับตะโกนว่า “พวกเราต้องการไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง”

 

ประชาชนที่ในพื้นที่กล่าวกับสำนักข่าวอิระวดีว่า พวกเราต้องการน้ำและไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจะดำเนินไปอย่างยากลำบาก ทั้งนี้ ประชาชนกว่า 1,000 คนได้มีส่วนร่วมในการชุมนุมประท้วงในวันแรกที่เกิดขึ้นในเมืองมัณฑะเลย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

 

เจ้าหน้าที่บางส่วนจากกระทรวงพลังงานไฟฟ้า 2 ได้เดินทางมาที่เมืองมัณฑะเลย์เมื่อวานนี้และได้จัดงานแถลงข่าว จากหน้า Facebook ของนายอองชิน นักข่าวพม่า ได้รายงานว่า นายอองตานอู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้า 2 ได้กล่าวว่า “พวกเราไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งการ เราเป็นเพียงแค่แผนกบริการประชาชนเท่านั้น เราไม่เคยกักตุนพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในภายหลัง”

 

นายอองชินรายงานต่อไปว่า ในการแถลงข่าวครั้งนั้นยังได้บอกว่า เครื่องผลิตไฟฟ้ากว่าสิบตัวได้นำมาจากกรุงเนปีดอว์เพื่อที่จะเก็บกักน้ำเอาไว้ เจ้าหน้าที่ของรัฐยังได้บอกต่อไปว่า แม้ว่าทางรัฐบาลได้วางแผนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนของทุกปี ถึงกระนั้นแผนดังกล่าวยังคงต้องรอต่อไปจนถึงปีหน้า

 

นายอองชินรายงานเพิ่มเติมว่า มีผู้เข้าร่วมประชุมบางคนถามว่า ได้มีการขอความช่วยเหลือจากกระทรวงพลังงานไฟฟ้า 1 เพื่อขอแบ่งไฟบางส่วนมาใช้ก่อนหรือไม่ แต่กลับไม่ได้รับคำตอบใดๆ จากเจ้าหน้าที่

 

นายเย มินต์ อ่อง ผู้อำนวยการกระทรวงไฟฟ้า 2 ได้ให้ความเห็นกับเรื่องไฟดับในเชิงล้อเล่นว่า “เราคงต้องทำพิธี เพื่อภาวนาให้ฝนตกมากขึ้น”

 

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานไฟฟ้า 1 ที่มีนายซอมิน รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าหลักในพม่า มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำในควบคุมทั้งหมด 19 แห่งทั่วประเทศ โดยขายไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 20 จ๊าต แต่พบว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จำนวนมากถูกส่งขายต่างประเทศ ในขณะที่ กระทรวงพลังงานไฟฟ้า 2 จำหน่ายไฟฟ้าอยู่ที่หน่วยละ 35 จ๊าต

 

ในปัจจุบัน เมืองมัณฑะเลย์ต้องใช้ไฟฟ้าประมาณ 150 เมกะวัตต์ แต่หน่วยงานด้านพลังงานสามารถสำรองได้เพียง 100 เมกะวัตต์เท่านั้น โดยในปัจจุบันกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าในแต่ละวันใช้ได้แค่ 6 ชั่วโมงสำหรับในส่วนต่างๆ ของเมือง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 65 เมกะวัตต์เท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่าได้ขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านอกเมืองย่างกุ้ง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงานของพม่า ซึ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สร้างโดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าการผลิตไว้ที่ 600 เมกะวัตต์ และใช้เวลาสามถึงสี่ปีในการก่อสร้าง ในขณะที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติของเกาหลีใต้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500 เมกะวัตต์ และจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในหนึ่งปี

 

พม่ามีชื่อเสียงฉาวโฉ่ในเรื่องไฟฟ้าดับ ทำให้ธุรกิจนับร้อยจากองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงโรงแรมและโรงงานขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟของตนเองซึ่งต้องอาศัยน้ำมันดีเซลนำเข้าที่มีราคาสูงมาก

 

นับตั้งแต่ประเทศอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาจนถึงปลายปีที่แล้ว การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศได้ถูกขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและประเทศไทย

 

(Irrawaddy 22 พค 55)

 

 

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →