Search

นักวิชาการระบุเหตุปะทะที่ราไวย์แค่ยอดภูเขาไฟ ยังมีปัญหาอื่นรอปะทุอีกมาก อ.เดชรัตน์ชี้โครงการพัฒนาทำลายชาวเลอันดามัน เครือข่ายภาคประชาชนออกแถลการณ์แจงข้อมูล 5 ประเด็น

received_1038860619490556
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิตยสารสารคดี ศูนย์มานุษยวิทยา ได้จัดเวทีเสวนาเรื่องโครงการพัฒนาอันดามัน กับชาติพันธุ์ชาวเล โดยดร.นฤมล อรุโณทัย นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันชาวเลอันดามัน (มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย) มีอยู่ทั้งหมดราว 12,000 คนกรณีหาดราไวย์นั้นเป็นชาวเลอูรักลาโว้ย ที่ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปีแล้ว สภาพสังคมชาวอูรักลาโว้ย เป็นชุมชนใหญ่ โดยหาดราไวย์นั้นมีปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมของการครอบครองที่ดินโดยเอกชนหลายส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด กรณีเกิดความรุนแรงนั้นเป็นเพียงปัญหาปลายยอดภูเขาไฟที่ปะทุมาเท่านั้น แต่ปัญหาอื่นๆ ของชาวเลทุกที่ยังรอปะทุอีกมากมาย ธรรมชาติของชาวเลคือ ไม่มีการสะสมสิ่งของ
received_1038860616157223

ดร.นฤมลกล่าวว่า เมื่อก่อนมอแกลนกับอูรักลาโว้ย ปลูกข้าวไร่ ข้าวนา ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ต่อมาก็ทำประมงอย่างเดียว สถานการณ์ระยะหลังเริ่มมีปัญหาเรื่องที่ดิน มีทั้งโครงการพัฒนา บ้านพักตากอากาศ เหมือง และโรงไฟฟ้า ส่วนอุทยานก็เริ่มสร้างกฎจับปลา กฎการจอดเรือ หลายอย่าง ชาวอูรักลาโว้ยต้องยอมถอยห่างการพัฒนาดังกล่าวไปเรื่อย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม และประมง ชาวบ้านเขาจะคิดอีกระบบ คือ ไม่มีการอ้างความเป็นเจ้าของ และเน้นการแบ่งปัน เมื่อก่อนใครมีผลผลิตเยอะก็จะแบ่งปันกัน แต่คนสมัยใหม่เน้นการครอบครอง ชาวเลกลัวคนแปลกหน้า และที่แย่คือ ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ข้อดีคือมีภูมิปัญญา ซึ่งที่เห็นได้ชัดคือการเดาสถานการณ์สึนามิและหนีคลื่นได้ทัน เป็นความรู้เรื่องธรรมชาติที่สืบทอดกันมาจากความเชื่อและนิทานในชนเผ่า แต่ภูมิปัญญานั้นไม่ส่งเสริมชีวิตแก่เขาให้มีส่วนร่วมกับคนสมัยใหม่ เหมือนเมืองนอกที่เจริญแล้ว เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ ชาวพื้นเมืองเมารีได้รับสิทธิ์ให้เป็นไกด์นำเที่ยวเพราะสื่อสารกับปลาวาฬได้ ดังนั้นถ้ารวมหลอมได้ให้เขามีอาชีพ มีสิทธิ์ พวกเขาจะไม่เป็นอื่น

received_1038860379490580
นายกิตติทัช โพธิวิจิตร ช่างภาพสารคดีชุด “ชาวเลอันดามัน” สมาชิกกลุ่มนักสารคดีอิสระสายลม และอดีตช่างภาพนิตยสารสารคดี กล่าวว่า เรื่องบ้านและที่ดินของชาวเลในทุกพื้นที่ เป็นการอยู่แบบไม่มีความหวัง ขณะที่ปัญหาสัญชาติที่เกิดขึ้นกับชาวมอแกลน มอแกน สร้างปัญหาใหญ่ตามมา คือ เรื่องการเหยียดชนชาติ ตนมองว่า ในฐานะสื่อควรจะมีการนำเสนอข่าวที่มีแง่มุมองค์ความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ ให้มากขึ้น เพื่อสะท้อนว่าเขามีแง่มุมความสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย

ด้านดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า โครงการของรัฐที่กำลังจะเข้าไปที่มีผลต่อชาติพันธุ์ชาวเลในช่วงนี้โดยตรง ได้แก่ โครงการท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล เพราะพื้นที่นั้นมีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ อีกที่คือโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในทะเลอันดามัน ส่วนแล้วแต่ส่งผลต่อพื้นที่ทำกินของชาวประมงเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อชาวเลออกเรือหาปลาในยุคอุตสาหกรรมก็ย่อมได้รับผลกระทบ ไม่ต่างจากผลกระทบต่อคนทั่วไป

“ พื้นที่อันดามันตอนนี้ การท่องเที่ยวทำเงินสูงสุด นักท่องเที่ยวที่มาอันดามันเป็นนักท่องเที่ยวเกรดเอ คือ มีเงิน มีกำลังจ่าย นอกจากแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่องเที่ยวที่ผลักดันชาวบ้านออกแล้ว แรงเคลื่อนอื่นที่เป็นการสนับสนุนโครงการการพัฒนาอันดามัน ก็เพราะมีปัจจัยอื่น เช่น เรื่องเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เส้นทางขนส่งพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทางรัฐบาลพยายามจะใช้อำนาจในการเพิกถอนแหล่งอนุรักษ์ต่างๆ นั่นเอง ดังนั้นหากจะป้องกันปัญหานี้ ภารกิจ เร่ง ด่วน คือ ทางชาวบ้านในทุกพื้นที่ต้องต่อต้านเรื่องการแก้ผังเมืองที่เปิดให้รัฐธรรมนูญชั่วคราวจัดการแก้ไข และเพิกถอนอุทยานฯ หรือที่หลวงได้ แนวคิดนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะจะทำลายชีวิตคนท้องถิ่นอย่างมาก รัฐบาลควรมองเรื่องสิทธิชุมชนให้มาก ไม่เช่นนั้นชาวบ้านจะแย่กว่าเดิม ทั้งท่องเที่ยว ทั้งอุตสาหกรรม จะกลายเป็นการผลักดันคนพื้นเมืองไกลสังคมไทยกว่าเดิม” ดร.เดชรัตน์ กล่าว

ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ชาวเลในชุมชนราไวย์เกิดข้อพิพาทกับนายทุนจนเกิดการปะทะกันเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา ล่าสุดเครือข่ายภาคประชาชน อาทิ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) และเครือข่ายด้านชาติพันธุ์ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์กรณีนายทุนละเมิดสิทธิและกระทำการคุกคามต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองชาวเล (มอแกน มอแกลน อูรักราโว้ย) ชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต โดยระบุว่ า จากเหตุการณ์นายทุนนำกลุ่มชายฉกรรจ์กว่า 100 คนเข้าปิดเส้นทางเข้าออกสาธารณะเชื่อมริมชายหาด โดย นำรถบรรทุกหินขนาดใหญ่มาเทขณะที่ผู้หญิงและเด็กนั่งอยู่ ทุบตีทำร้ายชาวเลจนบาดเจ็บ หลายราย นำรถไถมาทำลายเครื่องมือประมง / ศาลาเฝ้าเรือ รวมทั้งนายทุนมีหนังสือขอกำลังทหารคุ้มกันจากจังหวัดภูเก็ตในลักษณะไม่ตรงข้อเท็จจริงนั้น ขอแจงข้อมูลเพื่อทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ดังนี้

1).กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยในพื้นที่อันดามันมากว่า 300 ปี(มีงานวิจัยชัดเจน) และเป็นพลเมืองไทย มีบัตรประชาชนไทย ได้นามสกุลพระราชทานจากสมเด็จย่า เป็นกลุ่มที่หาอยู่ หากินแบบพอเพียง เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และธรรมชาติ รักสงบไม่เคยรุกรานใคร มีความเชื่อว่า ทรัพยากร เช่น ที่ดิน ทะเล ฯลฯ เป็นของทุกคนใช้ร่วมกัน

2).ชาวเลชุมชนราไวย์ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินนายทุนแต่นายทุนต้องการปิดทางเข้าออกชายหาดเพราะต้องการเอาชายหาดมาเป็นของส่วนตัว…..อ้างเพื่อทำการท่องเที่ยว (ในขณะที่ชาวเลเชื่อว่าหาดทะเลเป็นของทุกคน) 3).ถนนทางเดินชายหาดที่นายทุนจะปิด ในหลวงเคยเสด็จเยี่ยมชาวเล ปี 2502 ตามกฎหมาย เป็นที่สาธารณะโดยปริยายแล้ว เพราะเขาใช้กันมานาน มีหลักฐานพยานชัดเจน (แผนที่DSI)

4).ข้อมูลงานวิจัยของนักวิชาการ และแผ่นที่DSI ระบุที่ดินนายทุน เดิมเป็นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้าน และมีบ่อน้ำโบราณที่ชาวเลใช้เป็นหลักฐานยืนยัน…เอกสารสิทธิ์นั้นได้มาอย่างไร? ควรตรวจสอบ ข้อกังขาคือ ที่ดินนายทุน 33 ไร่ ครอบคลุมถึงไหน (ถึงทะเลเป็นไปไม่ได้ )และพื้นที่ชายหาดที่น้ำท่วมถึงแค่ไหน : ในขณะที่ชาวเลยันว่าแต่เดิมชายหาดถึงเสาไฟฟ้าและถนนที่จะปิด แต่นายทุนมาทำกำแพงกั้นหน้าหาดหลังสึนามิ เจตนาจะเอาที่เพิ่มหรือไม่?) ควรให้ DSI ตรวจสอบเพิ่มเติม 5).หากที่ดินนั้นนายทุนมีสิทธิ์ แต่ สุสาน / พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางจิตวิญาณที่ชาวเล ใช้มานานเอกชนไม่มีสิทธิ์มาออกเอกสารสิทธิ์ทับ (หากทับเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนดั้งเดิม ควรให้D SI ตรวจสอบเพิ่มเติม)

————

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →