Search

ชาวบ้านชายแดนใต้เตรียมบุกทำเนียบรัฐบาล หวังหยุดโรงไฟฟ้าเทพา-หยุดไฟใต้ เตรียมยื่นยูเอ็น หวั่นไทยทำโลกร้อน

received_10153588419181492

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 นายตูแวดานียา ตูแวแมแง ผู้ประสานงาน เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ(PERMATAMAS) กล่าวว่า ในระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์นี้ เครือข่ายภาคประชาชนที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จะเคลื่อนมีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ “จากปักษ์ใต้สู่เมืองกรุง” โดยตัวแทนชาวบ้าน ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) และตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประมาณ 30 คน จะเดินทางขึ้นมากรุงเทพฯ เพื่อร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อรัฐบาล ว่าไม่ต้องการให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเกิดขึ้น

นายตูแวดานียา กล่าวต่อว่า สืบเนื่องจากการยื่นหนังสือคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาต่อกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน) ที่ค่ายสิรินธร จังหวัดยะลาะ เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งหวังให้มีมาตราการแก้ปัญหาออกมาให้ชัดเจน แต่การที่ข้อเสนอของชาวบ้านกลับไม่ได้รับความสนใจจาก กอ.รมน.นั้น รวมทั้งการที่หัวหน้าคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ(คสช.) ออกคำสั่งมาตรา 44 ปลดล็อคผังเมืองให้เอื้อต่อการสร้างโรงไฟฟ้า ถือเป็นท่าทีของรัฐที่ไม่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครือข่ายฯ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการยกระดับการเคลื่อนไหว โดยจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปยื่นหนังสือคัดค้านที่หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐพิจารณายกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตามความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการขยายความร่วมมือกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในส่วนกลาง ที่ได้ตอบรับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้

นายตูแวดานียา กล่าวอีกว่า จะเข้ายื่นหนังสือคัดค้านต่อองค์การสหประชาติ(ยูเอ็น) และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ซึ่งถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นโครงการที่กระทบต่อสิทธิชุมชนของชาวบ้านในพื้นที่ และมีความเสี่ยงในด้านผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งในประเทศแถบยุโรบกำลังลดการพึ่งพาถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า แต่ประเทศไทยกลับมีนโยบายผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้

นายตูแวกล่าว กล่าวว่า นอกจากนี้จะไปยื่นหนังสือต่อสถานทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย ที่ถือเป็นประเทศต้นทางของถ่านหินที่จะถูกส่งมายังปลายทางคือประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา รวมทั้งยื่นหนังสือต่อสถานทูตมาเลเซีย ประจำประเทศไทย ที่ถือเป็นประเทศคนกลางในกระบวนการพูดคุยสันติภาพเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รับทราบต่อกระแสการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาของชาวบ้าน ซึ่งถือเป็นประเด็นที่อาจกระทบต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

ทั้งนี้กำหนดการเบี้องต้น
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จะไปยื่นหนังสือที่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ จะมีการจัดกิจกรรม “รวมพลังนิสิต นักศึกษาทุกสถานบัน” ที่อนุสรณ์ 14 ตุลา แยกคอกวัว เพื่อให้กำลังใจและร่วมขับเคลื่อนกับ นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ที่เดินทางมาเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้าถ้านหินเทพาที่กรุงเทพฯ

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →