Search

แนะนายกฯนำความเดือดร้อนจากเขื่อนถกผู้นำจีน หลายฝ่ายร่วมถกปัญหาน้ำโขง ระบุไทยได้รับผลกระทบมานานกว่า 2 ทศวรรษ

ร้านอาหารริมน้ำโขงที่บ้านน้ำก่ำใต้ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม  ถูกน้ำท่วมหลังจากจีนปล่อยน้ำจากเขื่อน (ขอบคุณภาพจากเฟสบุค  Thapanee Muangkote)
ร้านอาหารริมน้ำโขงที่บ้านน้ำก่ำใต้ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ถูกน้ำท่วมหลังจากจีนปล่อยน้ำจากเขื่อน (ขอบคุณภาพจากเฟสบุค
Thapanee Muangkote)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เครือข่ายประชาชนไทย 7 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขงจัดแถลงข่าว “แม่น้ำโขง แม่น้ำของใคร? น้ำโขงจากจีน น้ำโขงของใคร”

ร้านอาหารริมน้ำโขงที่บ้านน้ำก่ำใต้ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม  ถูกน้ำท่วมหลังจากจีนปล่อยน้ำจากเขื่อน (ขอบคุณภาพจากเฟสบุค  Thapanee Muangkote)
ร้านอาหารริมน้ำโขงที่บ้านน้ำก่ำใต้ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ถูกน้ำท่วมหลังจากจีนปล่อยน้ำจากเขื่อน (ขอบคุณภาพจากเฟสบุค
Thapanee Muangkote)

นายมนตรี จันทวงศ์ เจ้าหน้าที่โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขงหรือเทอร่า(TERRA) กล่าวถึงสถานการณ์เขื่อนบนแม่น้ำโขงและกระแสน้ำแปรปรวนจากเขื่อนในจีนว่า ผลกระทบจากเขื่อนจีนเกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงมาแล้ว 23 ปี นับตั้งแต่เริ่มเก็บน้ำในเขื่อนมานวาน ทำให้ระดับน้ำขึ้นลงผิดปกติ ถึงขั้นที่ลดลงในระดับต่ำสุดในประวัติการณ์มาแล้ว และเมื่อจีนสร้างเขื่อน 6 เขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้วเสร็จ ทำให้สามารถบริหารจัดการแม่น้ำโขงได้ 100% แตกต่างจากก่อนสร้างเขื่อนที่ระดับน้ำเพิ่มขึ้นและลดลงเป็นธรรมชาติ โดยเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า เพื่อเดินเรือสินค้า และเพื่อพร่องน้ำในเขื่อนให้สามารถรับน้ำได้ในฤดูฝนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการบรรเทาภัยแล้งให้ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างแต่อย่างใด

นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวว่า ที่พี่น้องชาวภาคอีสานให้ความสำคัญที่สุดในช่วงนี้คือเทศกาลท่องเที่ยว เมื่อน้ำลดระดับลงตามาธรรมชาติจะเกิดหาดทรายที่สวยงาม เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นมีอาชีพทำรายได้แก่ตนเองและจังหวัดมหาศาล แต่เมื่อจีนปล่อยน้ำมาทำให้หาดทรายจมหายไป ชาวบ้านขายของไม่ได้ ไม่มีหาดทรายที่สวยงามดังเดิม เกิดผลกระทบทั้งเรื่องรายได้และผลกระทบทางจิตใจ

ขณะที่เครือข่ายประชาชนไทย 7 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ผู้นำ 6 ประเทศลุ่มน้ำโขงต้องฟังเสียงประชาชนเรื่องเขื่อนแม่น้ำโขง โดยคำนึงถึงชุมชนท้ายน้ำเขื่อน้ำโขงตอนล่าง ความว่า แม่น้ำโขงไหลผ่าน 8 จังหวัดในประเทศไทย ตั้งแต่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แต่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งแรกที่ประเทศจีน ทำให้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลง และในวันนี้ (23 มีนาคม) ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงได้ร่วมประชุมที่ประเทศจีน เพื่อลงนามในกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขงล้านช้าง ที่ประเทศจีนเป็นผู้นำ เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จึงขอเรียกร้องให้ผู้นำไทย และผู้นำในประเทศลุ่มน้ำโขง ดังนี้

1.ยอมรับและนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการแม่น้ำโขงด้วยเขื่อนตอนบนจากจีนมาตลอดหลายปี ขึ้นมาพิจารณาอย่างเร่งด่วน 2.ร่วมหาทางแก้ไขบรรเทาผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นทันที และเยียวยาความเสียหายที่ผ่านมา ทั้งภาวะน้ำท่วมฉับพลันจากการปล่อยน้ำของเขื่อน และภาวะน้ำแห้ง เพราะเขื่อนหยุดระบายน้ำ

3.หยุดและชะลอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนล่าง เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนที่พึ่งพาแม่น้ำโขง และ 4. สร้างกลไกการบริหารจัดการแม่น้ำโขงอย่างรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมทั้ง 6 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

///////

On Key

Related Posts

จี้รัฐทำแผนรับมือน้ำท่วมเชียงรายหลังพบเหมืองทองต้นน้ำกก นักวิชาการหวั่นซ้ำรอยปีที่แล้ว แนะรัฐเจรจากับพม่า-กองกำลังชาติพันธุ์-เร่งตรวจสารปนเปื้อนและเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 นายสืบสกุล กิจนุกร อาจาRead More →

หวั่นภาพพจน์การท่องเที่ยวเมืองภูเก็ตติดลบ หลังพบใช้แรงงานข้ามชาติอื้อแต่คุณภาพชีวิตย่ำแย่-เด็กนักเรียนกว่า 300 คนเสี่ยงหลุดจากระบบหลังสถานศึกษาถูกปิด

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ด้านนายฐิติกันต์ ฐิติพฤRead More →