Search

แรงานข้ามชาติผู้หญิง 500 ติดคุกมหาชัย เหตุนายจ้างไม่แจ้งชื่อเปลี่ยนทั้งๆที่มีพาสปอร์ต หลายเครือข่ายจับมือแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ

received_1100426143334003

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการเสวนาและเปิดตัวเครือข่ายความร่วมมือภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านแรงงานของไทย โดยรศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลไทยตื่นตัวเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการยอมรับถึงมิติใหม่ที่ว่าทรัพยากรมีจำกัด และทุกประเทศมีวินัยดูแลร่วมกัน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นการคำนึงถึงบรรทัดฐานใหม่ ไม่ได้แก้ตัวให้ประเทศไทย ซึ่งทุกประเทศต้องตื่นตัว และถือว่าเราให้ความสำคัญกับแรงงานไม่ใช่แค่พิธีกรรมในวันแรงงาน
“รัฐจะทำได้ดี หากยอมรับข้อจำกัดของรัฐเอง ไม่ใช่บทบาทของการควบคุมอย่างเดียว แต่เป็นบทบาทประสานความร่วมมือกันให้ได้

ทั้งนี้ได้มีการเปิดตัวความร่วมมือ 4 องค์กรประกอบด้วย เครือข่ายสหภาพลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ(TMFG) เครือข่ายความร่วมมือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย(MUNT-SCPM) เครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์(ATN) และเครือข่ายความร่วมมือเพื่อความโปร่งใสในภาคการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง(MAST)

นายธนพล โรรมรักษา ผู้แทนเครือข่ายTMFG ซึ่งเป็นอดีตลูกเรือที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์และถูกจองจำ กล่าวว่าปัญหาลูกจ้างในเรือประมงเกิดจากผู้ประกอบการที่เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ โดยไม่ได้มองแรงงานประมงเหมือนมนุษย์ แต่มองว่าเป็นเศรษฐกิจที่ต้องได้ และเป็นจุดเริ่มต้นของการค้ามนุษย์ และเอาคนลงเรือไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซีย กรณีของตนไม่ได้ถูกหลอกโดยตรง แต่ถูกหลอกในหน้าที่การงานคือไม่ได้ไปทำงานตามที่แจ้งไว้ และเมื่อขอกลับบ้าน ผู้ประกอบการบอกว่ากลับได้ก็กลับไป สุดท้ายจึงถูกขังคุกเถื่อน ทำให้รู้สึกว่าคิดผิดที่ลงเรือ

นายธนพลกล่าวว่า การที่คนถูกหลอกลงเรือจุดเริ่มต้นมาจากคนหาคนงานส่งนายหน้า เช่น หมอชิต หัวลำโพง หลอกคนเอาไปขายนายหน้าที่มหาชัย และนายหน้าเหล่านี้จะมีเครือข่าย โดยนายหน้ามีเครือข่ายเรือแต่ละลำเพื่อเอาคนงานไปส่ง ส่วนการไปถึงอินโดนีเซียนั้น เพราะการทำหนังสือคนประจำเรือหรือซีแมนบุค ทำได้ง่ายมาก แค่มีรูปถ่ายและกรอกข้อมูลเดินทางไปแสดงตนที่กรมเจ้าท่าสมุทรสาครเพื่อประทับตา

“ผมเดินทาง 15 วันถึงเกาะเบนจินา ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่คนอื่นคิด เมื่อถึงกลับไม่ได้ทำงานตามที่ตกลงไว้ ผมสมัครเป็นช่างเครื่อง กลับต้องเป็นคนอวน คอยคัดแยกปลา ตั้งแต่ตี 5 ต้องกู้อวนปากแรก แล้วปล่อยปากที่สอง นั่งคัดแยกปลาเอาไปแช่แข็งห้องท้ายเรือ การทำงานถ้าช้า เวลาพักเรากไม่มี ถ้าคัดเป็นเราอาจมีเวลาพัก 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นคนที่ไปใหม่ๆ ทำงานช้า คัดปากแรกยังไม่ทันเสร็จ อวนปากที่สองขึ้นมาแล้ว ก็ไม่มีเวลาพัก เราต้องทำงานวนเวียนจนถึง 4 ทุ่ม หากช้าก็ถึงตีสอง พักวันละ 2-3 ชั่วโมง จะวนเวียนไปจนกว่าปลาจำเต็มลำเรือ อย่างเรือที่ผมอยู่ใช้เวลากว่า 1 เดือนถึงจะเต็มลำเรือ คนที่ถูกหลอกไปไม่มีสิทธิกลับบ้าน แม้แต่ผมที่สมัครใจไป แค่ขอกลับบ้านยังถูกจับติดคุกเลย สวัสดิการไม่มี นอกจากเดินไม่ไหวจริงๆถึงได้หยุดงาน คัดปลาเป็นงานที่เบาที่สุดแล้ว”นายธนพล กล่าว

นายโกโกนาย ผู้แทนเครือข่ายความร่วมมือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย กล่าวว่าแรงงานข้ามชาติมีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุในการทำงานและค่าจ้าง ที่ผ่านมารัฐบาลไทยพยายามแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ แต่ก็ยังเหลืออยู่ ตอนนี้ยังมีผู้ที่ร้องทุกข์ติดต่อเข้ามาเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามการลงนามด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและพม่า แม้ดำเนินการแล้ว แต่มีบางเรื่องที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง อย่างเรื่องค่าจ้างตกลงราคากันวันละ 300 บาทแต่พอมาถึงกลับไม่ได้ ตอนนี้หลายฝ่ายไปตรวจโรงงาน แม้มีพาสปอร์ตก็ถูกจับเพราะไม่ได้เปลี่ยนย้ายนายจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องเป็นผู้กระทำ แต่แรงงานกลับติดคุก ทำให้เกิดความสูญเสีย อยากฝากตรงนี้เพื่อให้ดูแลแรงงานมากกว่านี้นิดหนึ่ง ตอนนี้มีแรงงานผู้หญิงล้วนๆที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่มีพาสปอร์ตคิดคุกมหาชัยอยู่ 500 คน”นายโกโกนาย กล่าว และว่า ขณะนี้คนงานข้ามชาติในที่ทำงานอยู่โรงหมูแห่งหนึ่ง ต้องติดคุกเพราะเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจพบว่าผิดกฎหมาย แม้มีพาสปอร์ตถูกต้อง ทำให้ต้องติดคุก 48 วัน ตอนแรกยังไม่ได้รับค่าแรง บางคนติดค้างอยู่แสนกว่าบาท อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประสานจนมีการจ่ายค่าจ้าง แต่เรือนจำบอกเก็บเงินไว้ไม่ได้ และให้ฝากไว้ แต่พอคนงานพ้นจากคดีเขากลับไม่ให้เงินคืน อย่างไรก็ตามขณะนี้เครือข่ายได้ติดตามคืนมาได้แล้ว

ด้านศาตราจารย์ ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯกล่าวว่าเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องรื้อรังมานาน แม้จะมีการตื่นตัวภายหลัง แต่สะท้อนว่าเราไม่ได้สนใจคนงานเป็นหลัก แต่สนใจผู้ประกอบการเป็นหลัก โดยกรณีของกิจการประมง ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการส่งออกหรือไม่เข้าสู่กระบวนการค้าระหว่างประเทศก็ไม่น่ากลัว แต่ในวันนี้เมื่อผลประโยชน์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ถูกมองว่าเป็นผลประโยชน์ของประเทศทั้งๆที่แท้จริงแล้วเป็นเพียงพ่อค้าส่งออกไม่กี่ราย จึงทำให้หวาดกลัว แต่เราไม่เคยตกใจกับชีวิตคนงานจริงๆ

“เรากำลังเหมาเอาว่าผลประโยชน์ของพ่อค้าเป็นผลประโยชน์ของประเทศ ทั้งๆที่ปัญหาหลักคือนายจ้างและนายหน้า โดยนายจ้างต้องการผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด วันนี้ที่มีปัญหาเพราะทำท่าจะถูกคว่ำบาตร ขณะเดียวกันในส่วนของนายหน้าซึ่งเกิดจากความล้มเหลวของราชการที่ไม่สามารถประสานความต้องการระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ลงตัว”ศาตราจารย์ ดร.แล กล่าว

ศาตราจารย์ ดร.แล กล่าวว่า การร่วมมือกันในรูปแบบเครือข่ายถือว่าเป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยก็สามารถชี้เป้าได้ดีกว่าราชการ เพียงแต่การแก้ปัญหาด้วยการชี้เป้าอย่างเดียวนั้นไม่สำเร็จ หากรัฐไทยไม่ยอมปล่อยอำนาจให้ถึงมือหรือไม่ยอมแบ่งอำนาจให้
————————

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →