Search

หวั่นชาวบ้านถูกเหมารวมร่วมขบวนการลักลอบตัดไม้เขาบูโด เด็กๆร่วมปลูกป่า 2 หมื่นต้น เผยเหตุเกิดมาอย่างต่อเนื่องแต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าจัดการ แฉนักการเมืองท้องถิ่นหนุนหลัง

received_1101708653205752
ขอบคุณภาพจากเฟสบุค Preeda Hornbill

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 นายอาหามะ ลีเฮง ผู้ประสานงานเครือข่ายแก้ไขปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโด เปิดเผยถึงปัญหาการลักลอบตัดไม้ในอุทยานแห่งชติบูโด-สุไหงปาดีว่า ปัญหานี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการต่อสู้ของชาวบ้านรอบเขาบูโด ที่กำลังเรียกร้องสิทธิ์ที่ดินทำกินของชาวบ้าน ที่ถูกอุทยานแห่งชาติประกาศทับที่เมื่อปี 2542 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่สวนยางพาราและสวนผลไม้ดั่งเดิม จึงกังวลว่าข่าวการลักลอบตัดไม้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ชาวบ้านในพื้นที่เขาบูโดเป็นกลุ่มเดียวกับขบวนการตัดไม้ แต่ยอมรับว่ามีชาวบ้านบางส่วนไปรับจ้างนายทุนตัดไม้ ซึ่งปัญหานี้เครือข่ายฯ พยายามสร้างความเข้าใจในระดับชุมชน ด้วยวิธีการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในหมู่บ้าน

received_1101708703205747
ขอบคุณภาพจากเฟสบุค Preeda Hornbill

“คงจะลำบากถ้าให้ไปห้ามปรามคนที่ไปรับจ้างตัดไม้ เราก็เลยใช้วิธีชวนเด็กๆ เข้าไปปลูกต้นไม้ในป่า และให้เขาเป็นคนดูแลต้นไม้ ปีที่แล้วเราทำที่อำเภอบาเจาะที่เดียว 2 หมื่นต้น แต่ปีนี้เราต้องเจอกับภัยแล้งด้วย แม้จะไม่หนักเท่าจังหวัดอื่นๆ แต่ถ้าดูจากแม่น้ำโกลกกับแม่น้ำสายบุรีก็จะเห็นว่ามีปัญหา ปีนี้เราจึงจะทำทั้งเครือข่ายในพื้นที่อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี ยี่งอ ของนราธิวาส และอำเภอรามันของยะลาให้ได้ 5 หมื่นต้น” นายอะหามะ กล่าว

นายปรีดา เทียนส่งรัศมี เจ้าหน้าที่โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แม้จะมีโครงการปรับปรุงรังและติดตั้งโพรงเทียมให้นกเงือก แต่ช่วยได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากนกเงือกจำเป็นต้องมีป่าเป็นแหล่งอาศัยและหากิน ที่แต่ละตัวจะมีพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ดังนั้นหากพื้นที่ป่าเหลือน้อย นกเงือกจะไม่สามารถเพิ่มประชากรของได้

“นกเงือกช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ต้นไม้ป่ากว่าร้อยชนิดไปทั่วป่า เมล็ดต้นไม้บางชนิดมีขนาดใหญ่ต้องอาศัยนกเงือกช่วยกระจายพันธุ์ไปไกลนับร้อยกิโล ซึ่งไม่มีสัตว์ใดทำหน้าที่นี้ได้เหมือนนกเงือก และช่วยกินแมลง ควบคุมศตรูพืชไม่ให้มีมากเกินไป ถ้าที่ไหนมีนกเงือกป่าก็จะสมบูรณ์” นายปรีดา กล่าว

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวยังได้รับการเปิดเผยจากชาวบ้านด้วยว่า ปัญหาการลักลอบตัดไม้ในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีมานานแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ของอำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เจ้าหน้ารัฐเข้าไม่ถึงเพราะเป็นที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการสใต้ดิน ขณะเดียวกันในบางพื้นที่ยังมีเจ้าหน้าที่รัฐหนุนหลังการลักลอบตัดไม้ด้วย โดยร่วมมือกับนักการเมืองท้องถิ่น โดยไม้จำนวนมากถูกนำไปแปรรูปทำเฟอนิเจอร์
///////////

On Key

Related Posts

นักโทษทางการเมืองพม่าเสียชีวิตในคุก หลังถูกเรือนจำปฏิเสธให้เข้ารับการรักษา ชี้รัฐบาลทหารหวังผลทางการเมืองหลังนิรโทษกรรมกว่า 5 พันคน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →