Search

ชาวบ้านฮือประท้วงบริษัทจีนร่วมบริษัททหารพม่าฟื้นเหมืองทองแดงแล็ตปะด่อง ชี้ทำลายชุมชนและชีวิตประชาชน ย้ำเดินหน้าต่อต้านจนกว่าเหมืองจะปิดตัว

ภาพโดย Myo Min Soe / The Irrawaddy
ภาพโดย Myo Min Soe / The Irrawaddy

ชาวบ้านราว 300 คนได้ออกมาประท้วงเป็นวันที่ 2 และได้บุกไปยังพื้นที่โครงการของเหมืองทองแดงแล็ตปะด่อง ในเขตสะกาย เพื่อแสดงจุดยืนไม่เอาเหมือง หลังจากที่บริษัทหวันเป่า(Wanbao)ของจีน ร่วมกับบริษัท Union of Myanmar Economic Holdings Limited (UMEHL) ซึ่งเป็นของกองทัพพม่าได้ประกาศจะเปิดทำการเหมืองอีกครั้งเมื่อวานนี้ (5 พฤษภาคม) โดยผู้ที่ออกมาประท้วงส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่สูญเสียที่ดินให้กับโครงการเหมือง มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางมาตรการรักษาความปลอดภัยรอบเหมืองอย่างเข้มงวด

ประชาชนที่ออกมารวมตัวประท้วงได้บุกเข้าไปในบริเวณพื้นที่ของบริษัท แม้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำสิ่งกีดขวางมาวางกั้นไว้ก็ตาม ผู้ประท้วงได้แสดงความไม่พอใจหลังมีการเปิดทำเหมืองอีกครั้ง โดยชาวบ้านที่ร่วมประท้วงเปิดเผยว่า โครงการเหมืองทองแดงแล็ตปะด่อง เป็นโครงการหายนะที่ทำลายชีวิตและยึดเอาที่ดินทำกินของประชาชน ระบุ ชาวบ้านจะเดินหน้าประท้วงจนกว่าเหมืองจะปิด โดยยังมีการส่งหนังสือไปยังรัฐบาล NLD ให้เข้ามาตรวจสอบ

ทั้งนั้ โครงการเหมืองทองแดงแล็ตปะด่องนั้น เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัทหวันเป่าของจีน และบริษัท UMEHL ซึ่งเป็นของกองทัพพม่า โดยโครงการมีมูลค่าราว 997 ล้านดอลลาร์

ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการและออกมาประท้วงหลายครั้ง แต่รัฐบาลเต็งเส่งกลับใช้ความรุนแรงปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง เมื่อปี 2555 ทหารพม่าได้ใช้สารฟอสฟอรัสขาวกับผู้ประท้วง ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารระเบิดมีพิษร้ายแรง ทำให้ผู้ประท้วงราว 100 คน รวมถึงพระสงฆ์ ได้รับบาดเจ็บมีแผลไฟไหม้ บางคนต้องพิการไปตลอดชีวิต และเหตุการณ์ในปี 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงกราดใส่กลุ่มผู้ประท้วง มีหญิงรายหนึ่งได้รับบาดเจ็บและชาวบ้านอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บด้วยเช่นกัน

ชาวบ้านเปิดเผยว่า โครงการนี้ไม่ผ่านการตรวจสอบจากรัฐสภา และยังส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมไปถึงปัญหาด้านสังคม ก่อนหน้านี้ ได้มีการจัดทำรายงานสืบสวนเกี่ยวกับโครงการเหมืองแล็ตปะด่องซึ่งสรุปออกมาว่า โครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ หากสามารถทำตามเงื่อนไข อย่างเช่น มีความโปร่งใสและมีแผนมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมที่มากพอ ซึ่งคณะจัดทำรายงานนำโดยนางอองซาน ซูจี อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ได้ทำให้นางซูจีถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากชาวบ้านว่าสนับสนุนโครงการดังกล่าว

“เราไม่ต้องการโครงการนี้ เราตกงานมาแล้วครั้งหนึ่งตอนที่ดินของเราถูกยึดไป พวกเราหลายคนต้องไปหางานทำในเมืองเป็นแรงงานก่อสร้าง เราได้รับผลกระทบมากพอแล้ว เราแค่ต้องการที่ดินของเราคืนมา” นางมะโฉ่กล่าว ซึ่งเป็นชาวบ้านจากหมู่บ้านโต่ง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณโครงการเหมืองทองแดงแลตปะด่อง โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีรายงานชาวบ้านยังได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ หลังจากที่บริษัทได้นำสารเคมีมาฉีดรอบเหมือง

ชาวบ้านบางส่วนยังเปิดเผยว่า จะไม่รับเงินชดเชยจากบริษัทของจีน เพราะสิ่งเดียวที่ทางชาวบ้านต้องการเห็นก็คือการปิดเหมืองอย่างถาวร นอกจากนี้จะเดินหน้าคัดค้านโครงการนี้แม้อาจจะถูกดำเนินคดีก็ตาม

ทั้งนี้ เหมืองทองแดงแลตปะด่อง เป็นอีกหนึ่งในหลายแห่งกิจการขนาดใหญ่ของจีน ซึ่งยังเป็นประเด็นถกเถียงและสร้างความโกรธแค้นให้กับคนท้องถิ่น และเป็นบททดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพม่าและจีน ภายใต้การคุมบังเหียนของรัฐบาล NLD

ที่มา Myanmar Times/Irrawaddy
แปลและเรียบโดย สำนักข่าวชายขอบ

On Key

Related Posts

ผวจ.เชียงรายยังไม่รู้เรื่องน้ำกกขุ่นข้น-เตรียมสั่งการทสจ.ตรวจคุณภาพน้ำ คนขับเรือเผยน้ำขุ่นต่อเนื่องตั้งแต่อุทกภัยใหญ่ 6 เดือนก่อน ผู้เชี่ยวชาญชี้ดินโคลนจากเหมืองทองเสี่ยงสารปรอทปนเปื้อน ระบุการตรวจสอบต้องทำให้ถูกวิธี เก็บตัวอย่างตะกอนดิน-ปลานักล่า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่Read More →

กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำกก-ตรวจสารไซยาไนด์เหมืองทอง คาดรู้ผลภายใน 1 เดือน นักวิชาการเผยทหารว้าจับมือจีนแผ่อิทธิพลถึงชายแดนไทยใช้กลยุทธ์คุมต้นน้ำ-สร้างเหมืองกระทบไทย

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 นายชัยวัฒน์ ปันสิน ผู้อRead More →

ผู้ตรวจการแผ่นดินหวั่นโครงการสร้างเขื่อนใหญ่กั้นโขงส่งผลกระทบเขตแดนไทย แนะสร้างกลไกหารือร่วมกับภาคประชาชน กรมสนธิสัญญาอ้างยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ ภาคประชาชนจวก สนทช.งุบงิบข้อมูลจัดประชุมกรณีเขื่อนสานะคามแล้ว 4 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมRead More →

หวั่นท่องเที่ยวพินาศหลังน้ำกกกลายเป็นสีขุ่นข้นจากเหมืองทองตอนบนในพม่า นายกฯอบต.ท่าตอนเตรียมทำหนังสือจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข-ชาวเชียงรายเริ่มไม่กล้าเล่นน้ำ เผยปลาหายไป 70% ทสจ.ส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ

———เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 พ.Read More →