Search

นักวิจัยเผยแรงงานเขมรยังถูกเก็บค่าหัวคิวสูง ชี้ไทยเสี่ยงเป็นตลาดค้าทาส แนะรัฐบาลในภูมิภาคจับมือกัน

received_865733686888027

ศ.มาลิสซ่า มาร์ชเก นักวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและความสัมพันธ์ของมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยออตาวา ประเทศแคนาดา ที่ศึกษาด้านแรงงานประมงจากประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นลูกจ้างในเรือประมงไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมเรื่องปัญหาแรงงานทาสบนเรือประมงและแนวทางจัดการนโยบายประมง ว่า ตนได้ศึกษาเรื่องราวของแรงงานประมงชาวกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยพบว่าปีนี้มีแรงงานเข้ามาทำประมงนับหมื่นคน ส่วนมากเป็นพื้นที่ จังหวัดระยองและตราด โดยพบว่า แรงงานประมงส่วนมากไม่ได้มีความรู้เรื่องการทำประมงที่มีคุณภาพ แต่แรงงานส่วนมากเข้ามาเพื่อจะหนีภัยเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราการจ้างงานในประเทศกัมพูชานั้นมีค่าแรงที่ถูกกว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า แรงงานส่วนมากจึงตัดสินใจทิ้งลูก-หลานให้อยู่กับคนชราที่บ้านเกิดแล้วเดินทางมาประเทศไทย แต่ไม่ได้ผ่านกระบวนการส่งออกแรงงานแบบรัฐต่อรัฐ ส่วนมากผ่านกระบวนการนายหน้า โดยยอมจ่ายเงินทำหนังสือเดินทางสูงถึงประมาณ 3,000-6,000 บาท ต่อการทำหนังสือเดินทาง1 ปี และมีค่าบริการอื่นๆ ที่นายหน้าเรียกเก็บอีกราว 10,000-30,000 บาท เมื่อเข้ามาในประเทศไทย ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานบนเรือประมง ซึ่งหาสัตว์ทะเลในน่านน้ำไทย นั้นไม่ได้ทุกข์ทรมานมากเหมือนแรงงานไทย และประเทศอื่นๆ ที่ถูกหลอกใช้แรงงานเพื่อทำประมงที่ประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นการทรมาน หรือการบังคับทำงานของลูกเรือประมงชาวกัมพูชาจึงไม่ได้โหดร้ายมากนัก แต่หนักตรงที่ต้องหาเงินใช้หนี้นายหน้า

ศ.มาลิสซ่า กล่าวด้วยว่า แม้ปัญหาการทรมานจากการทำประมงไม่เกิดขึ้นในกลุ่มแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย แต่ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานยังมีอยู่ อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างนายหน้าหางานและเจ้าของเรือ โดยการการวิจัยปี2558พบว่า ลูกเรือกัมพูชาที่ไม่มีความรู้ภาษาไทยนั้นถูกหลอกทำสัญญาจ้างแบบมีพันธะ หมายความว่า เรือประมงบางลำมีการจ่ายเงินให้แรงงานที่ถูกต้อง แต่ครั้นแรงงานลากลับบ้านแบบปีละ2ครั้งก็ไม่อนุญาต หรือมีสัญญาจ้างแบบราย5-10ปี

ศ.มาลิสซ่ากล่าวว่า แรงงานบางคนอยากกลับบ้านเกิดเร็วกว่านั้น แต่กลับไปลงนามสัญญากับนายจ้างและนายหน้าแล้วจึงกลับบ้านไม่ได้ จึงต้องพักอาศัยที่ริมฝั่งไทย และมีโอกาสเดินทางไปต่อหนังสือเดินทางกับนายหน้าเท่านั้นไม่ได้มีเวลาไปเยี่ยมครอบครัวหรือญาติจนกกว่าจะครบสัญญา ขณะที่บางคนต้องอดทนทำงานต่อเนื่องเพียงเพราะนายหน้ายึดหนังสือเดินทาง แรงงานจะต้องทำงานเพื่อชดใช้หนังสือเดิน ซึ่งในทางสิทธิมนุษยชนนั้นการกระทำแบบนี้ ถือว่าเป็นการใช้งานเกินกว่าเหตุ

“ บางคนเล่าให้เราฟังว่า เขาต้องการกลับบ้านเพราะทำงานได้เงินพอแล้ว อยากไปทำไร่ ทำนา แต่ไม่มีโอกาส เพราะหลงทำสัญญาจ้างที่นาน ดังนั้นถ้าไทยและกัมพูชาไม่มีการจัดนโยบายด้านการจ้างงานร่วมกัน วันหนึ่งการหลั่งไหลของแรงงานกัมพูชามายังไทย จะมีมากขึ้น และโอกาสทำเงินของนายหน้าสูงขึ้นด้วย ซึ่งหากไม่มีระบบจัดการนโยบายเรือประมงและระบบปราบปรามนายหน้า ที่มีเสถียรภาพพอประเทศไทยก็อาจเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นแหล่งขายแรงงานทาสเหมือนอินโดนีเซีย ดังนั้นเมื่อพบปัญหาเบื้องต้นต้องรีบแก้ไข เพราะนโยบายประมงเป็นภาระของคนทั้งภูมิภาค ” ศ.มาลิสซ่า กล่าว

///////////////////////////////////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

นักโทษทางการเมืองพม่าเสียชีวิตในคุก หลังถูกเรือนจำปฏิเสธให้เข้ารับการรักษา ชี้รัฐบาลทหารหวังผลทางการเมืองหลังนิรโทษกรรมกว่า 5 พันคน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →