Search

ชี้เหตุกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ นักวิชาการแนะรัฐทบทวนโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อสมดุลของทราย “ศศิน”เสนอให้พื้นที่งอกเป็นเขตอนุรักษ์

received_1121585137884770
การกัดเซาะชายฝั่งอย่างหนักที่บางขุนเทียน กทม. จนหลักกิโลเมตรอยู่กลางทะเล แม้จะมีการใช้ใส้กรอกทรายมาช่วยบรรเทา แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งก็ยังหนักหน่วง

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559 ที่โรงแรมรามาการ์เด้น ได้มีการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้ง ที่ 5 โดยนายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวเสวนาหัวข้าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ว่า จากการศึกษาข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งในทะเลไทยครั้งล่าสุดที่หลายคนถกเถียงกันว่า ส่วนมากมาจากปัญหาโลกร้อนนั้น เป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะสาเหตุที่ทำให้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งเกิดเร็วขึ้นและเกิดปัญหาคลื่นเบนทิศทาง แท้จริงแล้วฝีมือมนุษย์ที่มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นปากร่องน้ำ หรือ เจ็ตตี้ (Jetty) และอื่นๆ เช่น รอดักทราย กำแพงกันคลื่น และที่ตั้งดักคลื่น ล้วนมีผลเร่งให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นโดยกันคลื่นปากร่องน้ำนั้นพบเห็นทั่วไปในอ่าวและอันดามัน

received_1121585141218103
การกัดเซาะชายฝั่งอย่างหนักที่บางขุนเทียน กทม. จนหลักกิโลเมตรอยู่กลางทะเล แม้จะมีการใช้ใส้กรอกทรายมาช่วยบรรเทา แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งก็ยังหนักหน่วง

“หากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกจริง ก็หมายรวมถึงระดับน้ำทะเลสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าสาเหตุหลักเกิดจากโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนชายหาดทุกบริเวณต้องหายไปพอๆกันตามทิศทางที่คลื่นตีเข้า แต่นี่พบว่าไม่ได้เป็นไปตามลักษณะแบบนั้น เพราะผมศึกษาแล้วปรากฏพบว่าบางพื้นที่ชายหาดหายไป คือทรายลดน้อยลง ขณะที่บางพื้นที่กลับมีแผ่นดินงอกออกมา ดังนั้นสิ่งปลูกสร้างมีผลในการขวางกระบวนการเคลื่อนย้ายตะกอนและกระแสน้ำเลียบชายฝั่ง ซึ่งต่อมาชาวบ้านบางส่วนเริ่มตระหนักก็หันมาทำไส้กรอกทราย ปักไม้ไผ่แล้วก็ปลูกป่าชายเลนเพื่อรักษาระบบนิเวศไว้ เช่น แถวๆ สมุทรสาคร” นายศักดิ์อนันต์ กล่าว

นายศักดิ์อนันต์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของสร้างกำแพงกั้นคลื่นริมทะเล และเขื่อนกั้นคลื่นนอกชายฝั่ง เพื่อป้องกันกันกัดเซาะ แม้จะสามารถป้องกันชายหาดได้ แต่ก็จะส่งผลให้ชายหาดในบริเวณข้างเคียง หรือในทิศปลายน้ำ เกิดการกัดเซาะได้อีก เนื่องจากการสะท้อนกลับของคลื่น หรือเมื่อปะทะกับกำแพงกั้นคลื่น ก็จะสะท้อนกลับกระแทกในทรายด้านหน้ากำแพงหายไป และคลื่นยังหักเหเลี้ยวเบนไปกระทบทรายด้านข้างกำแพง ให้หายไปอีก เช่น กรณีตัวอย่างจากลงพื้นที่สำรวจชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดสงขลาขึ้นมาจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่าพื้นที่มีการก่อสร้างท่าเรือมีทรายงอกและมีพื้นที่ทรายหายไปเช่นกัน โดยการก่อสร้างเหล่านี้นั้นบางส่วนมีการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ บางส่วนต้องขออนุญาตกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมเจ้าท่าตามแต่ละพื้นที่จะจัดการ แต่บางส่วนที่มองถึงปัญหาระยะยาวก็จะขอร้องให้หน่วยงานศึกษาผลดี ผลเสียก่อนการก่อสร้าง แต่ก็ยังพบว่าในพื้นที่ส่วนมากซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ศึกษามีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นปากร่องน้ำโดยไม่มีการประเมินผลกระทบ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเมื่อมีการสร้างแนวกันคลื่นไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม ทั้งเทหิน เทปูนคอนกรีตและมีการศึกษาทางวิศวกรรมแบบดีเพียงใดก็ตามยังไม่สามารถยุติปัญหาได้ถาวรและแต่ละหน่วยงานต้องซ่อมบำรุงเรื่อยๆ หมดงบประมาณซ่อมเสริมไปกว่า 500 ล้านบาทแล้ว แต่ยังไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่ผิดพลาด เช่น ชำรุด หรือเสื่อมสภาพได้รับการรื้อถอนจากหน่วยงานใด

นายศักดิ์อนันต์กล่าวว่า ดังนั้นทางฝ่ายวิชาการที่ศึกษาจึงนำเสนอข้อมูลการวิจัยไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพัฒนาแนวทางแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น โดยอาจจะขอความร่วมมือจากชาวบ้านที่มีที่ดินติดชายหาดเลิกกำจัดพืชที่มีประโยชน์ต่อการรักษาหาด ทราย เช่น หญ้าทะเล รวมทั้งขอความร่วมมือในการยุติการก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือพื้นที่พักผ่อนที่ใกล้ทะเลเกินไป และขอให้รัฐทบทวนการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อการรักษาสมดุลของทราย เช่น ท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติม คือ ให้แต่ละฝ่ายหาองค์ความรู้ใหม่มาป้องกันพื้นที่กักเซาะชายฝั่งในทะเลที่ยังไม่มีการก่อสร้างแนวกันคลื่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักวิชาการได้ศึกษาข้อมูลของคลื่นในแต่ละฤดูเพื่อเตรียมป้องกันอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ด้าน นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งส่วนใหญ่แล้ว 90 เปอร์เซ็น เป็นฝีมือของมนุษย์ ส่วนใหญ่พื้นที่ที่เกิดปัญหาเกิดขึ้นที่ช่วงจังหวัดสงขลาต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากปากทะเลสาบสงขลาที่ไหลออกสู่ทะเล ซึ่งมีเขื่อนกั้นร่องน้ำทำให้ทรายเข้ามาสะสม ตามจริงแล้วเขื่อนนี้มีประโยชน์ ทำให้เรือน้ำลึกสามารถเข้าออกสู่ทะเลได้ แต่ก็มีผลกระทบซึ่งถ้าในช่วงนี้ที่ลมเปลี่ยนทิศจะซัดทรายขึ้นมาทางด้านเหนือ ทำให้เกิดจุดที่ทรายสะสมตัวและทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมีชายหาดที่งอกเพิ่มขึ้น ส่วนในพื้นที่หลังเขื่อนเมื่อไม่มีทรายไปเติมก็จะเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะชายฝั่ง อย่างจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทำเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งกว่า 130 ก้อน เพื่อชะลอคลื่นไม่ให้เข้ามาชายฝั่งรุนแรงน้อยลง แต่เมื่อไม่ได้ทำแบบแถวยาวต่อเนื่องคลื่นก็จะสามารถเข้ามาผ่านช่องได้ ซึ่งการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นนอกฝั่งในแต่ละก้อนนั้นใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท ระยะทาง 1 กิโลเมตร ก็น่าจะใช้งบประมาณเกิน 50 ล้านบาท

“ตอนนี้ประเทศไทยโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีการวางแนวกันคลื่นที่เป็นหินทั้งหมดในอ่าวไทยอยู่ที่ 221ตำแหน่ง ซึ่งในมุมมองผมบอกเลยว่าไทยมีทางเลือกไม่มากนัก การจะไม่มีการกัดเซาะเลย ทางเลือกที่ดีที่สุดตอนนี้ คือ เปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะเป็นพื้นที่กัดเซาะน้อยจะดีกว่า ระบบที่ต่างคนต่างทำในแต่ละพื้นที่จะทำให้ชายหาดหายไปเรื่อยๆ โครงการก่อสร้างสิ่งต่างๆไม่คุ้ม ปัญหาที่ตามมา คือ เมื่อมีการกัดเซาะก็เกิดดินงอก ชาวบ้านเห็นดินงอกก็นับเป็นที่ของตัวเองทันที ทางรัฐเข้าไปจัดการก็ยากดังนั้นผมเสนอว่าถ้าจะให้ดีควรมีการประกาศเขตอนุรักษ์ โดยอาจจะต้องเยียวยาชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ดินงอก แล้วอนุรักษ์ตามแบบธรรมชาติจะเหมาะสมที่สุดป่าชายเลนน่าจะเป็นทางเลือกอีกอย่าง ส่วนไส้กรอกทรายและการปักไม้ไผ่นั้นแม้จะมีประโยชน์ไม่มาก แต่ก็ดีกว่าระบบเทหิน เทคอนกรีต หากถ้าบางทียอมรับแนวทางนี้แล้ว คิดว่าไส้กรอกทรายกับการปลูกป่าชายเลนน่าจะไปด้วยกันได้” นายศศิน กล่าว
/////////////////////////

On Key

Related Posts

นายจ้างสีขาว-ลูกจ้างต่างด้าวหวั่นข้อมูลลงทะเบียนแรงงานหลุดถึงมือรัฐบาลพม่า-เชื่อถูกนำไปเช็คบิลแน่หลังรัฐบาลทหารพม่าถังแตกสั่งเรียกเก็บภาษี 25% ชาวมอญตื่นสั่งลูกเลิกเรียนแห่กันเข้ามาขุดทองในไทย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 นางนิลุบล พงษ์พะยอม ตัวRead More →

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →