สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ลาวทุ่ม3พล.ออกแบบเขื่อนไซยะบุรีใหม่

หนังสือพิมพ์เวียงจันท์ ไทมส์ รายงานอ้างการเปิดเผยของนายเรวัต สุวรรณกิตติ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไซยะบุรี เพาเวอร์ ผู้บริหารเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีที่ถูกวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมและ การทำลายสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขงมาโดยตลอด ว่าบริษัทจะปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าแห่งนี้แม้ว่าจะต้องใช้ เงินลงทุนในการออกแบบใหม่อีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,100 ล้านบาท)

 

แต่องค์การแม่น้ำโลก เอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา ติงว่าแม้จะมีการเปลี่ยนแบบของเขื่อนแต่ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการวางไข่ของ ปลาและสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงอยู่ดี

 

สื่อลาวรายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยนามด้วยว่า การเปลี่ยนรูปแบบของเขื่อนเป็นไปตามคำแนะนำของบริษัทที่ปรึกษาปอยรี แห่งฟินแลนด์ และ นาซิอองนาล ดู โรน แห่งฝรั่งเศส

 

ขณะเดียวกัน ไซยะบุรีเพาเวอร์ พยายามลดแรงกดดันจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการแม่น้ำโขง และแหล่งเงินทุน ทั้งธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และ ธนาคารโลก โดยเชิญตัวแทนจากสถานทูตกัมพูชา เวียดนาม และ ไทย รวมทั้งธนาคารทั้งสองแห่ง เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.08 แสนล้านบาท) ในแขวงไซยะบุรีทางตอนเหนือของลาวเมื่อวันอังคาร (17 ก.ค.) ที่ผ่านมา

 

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมคณะกรรมการแม่น้ำโขงมีมติให้ลาวชะลอการก่อสร้าง ออก ไปเพื่อทำการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรี เสียก่อน

 

เอมี ทรานเดม โฆษกองค์การแม่น้ำโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ผู้สร้างเขื่อนไม่อาจทราบผลกระทบต่อการอพยพวางไข่ของสัตว์น้ำในแม่ น้ำโขงได้ จนกว่าจะมีข้อมูลพื้นฐานที่เพียงพอ และ มีความเข้าใจต่อระบบนิเวศน์ของแม่น้ำโขงเสียก่อน ทั้งยังระบุด้วยว่าเขื่อนแห่งนี้จะใช้บันไดปลาที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ เคยทดลองใช้กับแหล่งน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน

 

ตัวแทนองค์การแม่น้ำโลกยังให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งที่สำคัญคือแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้้ำในทวีปที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ ใหญ่ที่สุดในโลก และมีจำนวนสัตว์น้ำรวมทั้งความหลากหลายของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่าง มากระหว่างพื้นที่ทางตอนบนและตอนล่างของแม่น้ำ ดังนั้นการก่อสร้างบันไดปลาเพื่อให้สัตว์น้ำได้ใช้เป็นทางผ่านไปยังแหล่ง ขยายพันธุ์ได้ดีจึงเป็นเรื่องยากยิ่ง และ มีต้นทุนสูงมาก

 

รัฐบาลลาว ประเมินว่า จะมีรายได้จากสัมปทานเขื่อนไซยะบุรีเป็นเวลา 29 ปี ถึง 3.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12 ล้านล้านบาท)และทางการลาวได้ถือหุ้น 20 %ของโครงการเขื่อนแห่งนี้ที่บริษัทช.การช่าง ของไทยเป็นผู้ถือหุ้นหลัก

 

(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2555)

 

 

 

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →