Search

วอนรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลท่าเรือปากบารา-ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ก่อนทำเวทีรับฟังความคิดเห็น ต.ค.นี้

received_1149853508391266
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม นายสมบูรณ์ คำแหง แกนนำเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงข่าว เรื่อง “ท่าเรือน้ำลึกปากบาราภายใต้ความเห็นแย้งและท่าทีของเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลต่อการเดินหน้าโครงการของรัฐ” ว่า หลังจากการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่15 กรกฎภาคม ที่ผ่านมากรณีความคืบหน้าโครงการท่าเรือปากบารา เครือข่ายชาวบ้านได้ตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของรัฐบาลที่ไม่ยอมสรุปข้อมูลของโครงการทั้งหมด ต่อกรณีการพัฒนา 2 พื้นที่ คือ ท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล และท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา แห่งที่ 2 ซึ่งถูกกำหนดให้สร้างขึ้นที่ชายหาดบ้านสวนกง ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมทั้งโครงการแลนด์บริดจ์ ด้วยการสร้าง “รถไฟรางคู่” เชื่อมต่อทะเลทั้ง 2 ฝั่งเข้าด้วยกัน ซึ่งปลายทางของแต่ละฝั่งจะสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกขึ้น เพื่อให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาจอดเทียบท่าได้

นายสมบูรณ์กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ยังตอบคำถามไม่ได้ ทั้งที่จะมีเวทีรับฟังความคิดเห็น (ค1) เรื่องท่าเรือปากบาราแล้วในเดือนตุลาคม นี้ แต่กรมเจ้าท่าก็ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึก และทบทวนรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) แล้วประชาชนในพื้นที่ ที่อาจได้รับผลกระทบจะตัดสินอย่างไรต่อโครงการทั้งหมด ซึ่งหากปล่อยให้ประชาชนยังสงสัยและไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไป ตรงมา แต่กลับนำเสนอทีละส่วนแบบนี้เป็นเรื่องยากของภาคประชาชนที่จะพิจารณาข้อมูลว่ารับหรือไม่รับโครงการพัฒนา

“สิ่งที่รัฐบาลทำ ทำทีละส่วน แยกออกมา แลนด์บริดจ์อีกประเด็น ปากบาราอีกประเด็น ท่าเรือสงขลาอีกประเด็น งบประมาณตั้งคณะทำงานทำความเข้าใจประชาชน ที่ทุ่มไป 50 ล้านศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA กรณีท่าเรือปากบารา ก็ค่อนข้างจะเปลืองงบไปโดยใช่เหตุทั้งที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นแค่ไม่นาน และทำเหมือนแค่ให้ผ่านพ้นไปตามกระบวนการ เรื่องนี้กรมเจ้าท่าต้องชี้แจงใหม่ เพราะทางเครือข่ายภาคประชาชนเองศึกษาข้อมูลเองก็มองว่าทั้งหมดเป็นโครงการใหญ่ใน 2 จังหวัดและสร้างผลกระทบมหาศาล และหากเป็นเช่นนั้นกรมเจ้าท่าและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสรุปข้อมูลรายละเอียดใหม่ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนวันทำเวที ค.1” นายสมบูรณ์ กล่าว

อนึ่ง โครงการโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ได้รับการบรรจุให้อยู่ในยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม (ปี 2555-2559) ตามมติของคณะรัฐมนตรีในปี 2550 ซึ่งเดิมกำหนดพื้นที่ของโครงการทั้งหมดไว้ที่ 4,734 ไร่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และมีการศึกษาโครงการนี้นับตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากประสบปัญหาหลายด้าน รวมทั้งการออกมาคัดค้านของเครือข่ายประชาชนสตูล ที่ท้วงติงว่า โครงการจะทำลายระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งวิถีชีวิตและแหล่งสัตว์น้ำของชาวบ้านในพื้นที่ชายฝั่ง อีกทั้งการท่องเที่ยวทางทะเลก็จะได้รับผลกระทบด้วย โครงการดังกล่าวถูกรื้อขึ้นมาใหม่โดยรัฐบาลยุคปัจจุบันระบุว่า จะศึกษาผลกระทบในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ในภาพรวมของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด จากการมีท่าเรือน้ำลึกปากบาราและท่าน้ำลึกเรือสงขลา รวมไปถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ ทางถนน เพื่อให้เกิดสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ที่จะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึก คาดว่าจะใช้เวลาศึกษารวม 10 เดือน จากนั้นจะของบประมาณปี 2559 เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) พร้อมกับทบทวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ผ่านการประเมินแล้วในบางประเด็น โดยใช้วงเงินเพื่อการนี้คือ 118 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวถูกฝ่ายวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนาเอกชน ภาคประชาชนท้วงติงมาโดยตลอด แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ กระทั่งเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ต้องเข้าชี้แจงข้อกังวลต่างกับ สนช.และยืนยันคัดค้านการดำเนินโครงการต่อไป /////////////////////////////////

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →