“ประเทศของเรามีสงครามกลางเมืองมายาวนานกว่า 60 ปี การประชุมปางโหลงครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่เราจะเริ่มหาทางออกทางการเมือง เพื่อยุติสงครามกลางเมือง”
“We have civil war on my country over 60 years that a mission to talk about politic solution to end the civil war”
Min Zaw OO คณะกรรมการจัดการประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 กล่าวถึงเป้าหมายในการจัดการประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21
ดร.มิน ซอ อู 1 ใน คณะกรรมการความร่วมมือการหยุดยิงของเมียนมา (Joint ceasefire monitoring Comittee) เคยอยู่ร่วมคณะทำงาน Myanmar Peace Center ในรัฐบาลเต็งเส่ง และมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการลงนามหยุดยิง NCA (National Ceasefire agreement) บอกด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพม่า ที่มีการประชุมร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธกับรัฐบาล,ทหาร มาหาทางออกทางการเมือง ยุติการใช้อาวุธ การประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพูดคุยทางการเมือง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลเมียนมา โดยพลเอกเต็งเส่ง ได้ลงนามหยุดยิงกับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ (Ethnic Arm group) 8 กลุ่มเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2015
ดร.มิน ซอ อู กล่าวว่า การลงนามหยุดยิง NCA เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการสันติภาพ เพื่อหยุดการสู้รบ และเริ่มเข้าสู่การเจรจาทางการเมือง ก่อนจะบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ซึ่งรัฐบาลเมียนมา คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 ปี ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญและทำอย่างไรจะไปถึงเป้าหมายในอนาคตเรื่องการตั้งสหพันธรัฐ
การประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 มี 18 กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธมาเข้าร่วมซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่ลงนามหยุดยิง NCA จำนวน 10 กลุ่ม ที่เป็นสมาชิก UNFC 9 กลุ่ม ไม่เป็น 1 กลุ่ม ไม่มาเข้าร่วม 3 กลุ่ม
ดร.มิน ซอ อู ยอมรับว่า กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ คาดหวังว่า การเข้าร่วมประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 จะมีการนำสนธิสัญญาปางโหลง ปี 1947 มาทำให้สำเร็จ
ดร.มิน ซอ อู เปิดเผยด้วยว่า ในส่วนรัฐบาลเมียนมา เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า Panglong Spirit จิตวิญญาณปางโหลง เรามีสนธิสัญญาปางโหลงปี 1947 เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องเอกราช แต่การประชุมครั้งนี้เรารวมกันอีกครั้งเพื่อสร้างประชาธิปไตย ก้าวสู่การเป็นสหพันธรัฐ ซึ่งจะเริ่มต้นจากการเจรจาทางการเมืองในการประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21
“The Ethnic arm groups expect to 1st panglong but the government said this is Panglong Spirit : in 1947 we have the panglong for independent from the Colony right now we will come again for restore the democracy and federal union according the result of a political dialogue this is Panglong Spirit” Min Zaw OO said
กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่มาเข้าร่วมประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ที่ลงนามข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (Nationwide Ceasefire Agreement) หรือ NCA จำนวน 8 กลุ่ม
1. แนวร่วมนักศึกษาพม่าทั้งมวลเพื่อประชาธิปไตย (All Burma Students’ Democratic Front – ABSDF)
2. พรรคปลดปล่อยอาระกัน (Arakan Liberation Party -ALP)
3. กองทัพแนวร่วมแห่งชาติชิน (Chin National Front -CNF)
4. กองทัพกะเหรี่ยงประชาธิปไตยผู้มีความเมตตา (Democratic Karen Benevolent Army -DKBA)
5. สภาสันติภาพแห่งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU/KNLA Peace Council หรือ KPC)
6. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union – KNU)
7. องค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ Pa-O National Liberation Organization (PNLO)
8. สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA)
สมาชิก UNFC (United Nationalities Federal Council) 9 กลุ่ม
9.Kachin Independence Organization (KIO) องค์กรปลดปล่อยคะฉิ่น
10.New Mon State Party (NMSP) พรรครัฐมอญใหม่
11.Shan State Army-North (SSPP /SSA) กองกำลังรัฐฉานเหนือ
12. KarenniNational Progressive Party (KNPP) พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี่
13.Chin National Front (CNF) แนวร่วมแห่งชาติชิน
14.Lahu Democratic Union (LDU) สหภาพประชาธิปไตยละหู่
15.Arakan National Council (ANC) สภาแห่งชาติอาระกัน
16.Pa-Oh National Liberation Organization (PNLO) องค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ
17.wa National Organization (WNO) องค์กรแห่งชาติว้า
ไม่ใช่สมาชิก UNFC 1 กลุ่ม
18.National Democracy Alliance Army (NDAA) กองกำลังเมืองลา
กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่ไม่มาเข้าร่วม 3 กลุ่ม
1.Ta-ang National Liberation Army (TNLA) กองทัพปลดปล่อยดาระอั้ง
2.Arakan Army (AA) กองกำลังอาระกัน
3.Myanmar National Democratic Alliance
_______
Pic: Min Zaw OO
ขอบคุณถาพและข่าวโดยคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย