Search

กำลังใจล้นหลามป้อมมหากาฬ ประชาชนหลายภาคส่วนร่วมยืนคล้องแขนร่วมสู้กับชาวบ้าน ย้ำข้อเรียกร้องรัฐบาลตั้งพหุภคีร่วมแก้ปัญหา ชูแผนดันชุมชนเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต

received_1192498694126747

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ที่ชุมชนป้อมมหากาฬ มีการจัดกิจกรรม คล้องแขนหน้าป้อม “มหากาฬไม่โดเดี่ยว” โดยความร่วมมือของชาวชุมชนป้อมมหากาฬและภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อรณรงค์การหยุดไล่รื้อชุมชน ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านบ้านชุมชนใกล้เคียง ประชาชนทั่วไป นักศึกษาหลากสถาบัน และกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม เข้าร่วมกว่า 300 คน

ทั้งนี้ กิจกรรมเริ่มต้นตั้งแต่เวลา 15.00 น. มีการแสดงดนตรีจากวงโฮปแฟมมิลี่และคีตาญชลี รวมทั้ง นาฏศิลป์จากเยาวชนกลุ่มบางกอกนี้ดีจัง ดนตรีจากวงคีตาญชลี และมีการแนะนำตัวแทนกลุ่มต่างๆ ที่มาร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจในครั้งนี้ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก
received_1192498907460059

กระทั่งเเวลาประมาณ 17.00 น. ชาวบ้านและผู้ที่มาร่วมกิจกรรมนำพวงมโหตรที่ได้ร่วมกันทำเตรียมไว้ 400 อันนำไปประดับในแนวสังกะสีที่ถูกรื้อโดยกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้กลายเป็นแนวกำแพงชุมชนแห่งสันติ ที่จะเป็นสัญลักษณ์ยืนยันคัดค้านการไล่รื้อด้วยแนวทางสันติวิธี

นางสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การร่วมใจในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการสร้างกำแพงที่เป็นอิฐ แต่ทุกคนกำลังสร้างกำแพงจากพลังแห่งการต่อสู้ของพี่น้องที่มาร่วมกัน เราจะผนึกกำลังว่าไม่เห็นด้วยกับการไล่รื้อ และกำแพงสันตินี้ชาวบ้านร่วมกันปักหลักสู้มากว่า 20 ปี ต้องไม่เสียเปล่า เราต้องปกป้องชุมชนและกำแพงเมืองนี้ไว้ หมดเวลาแล้วกับการไล่รื้อ ถึงเวลาที่ กทม.ต้องให้ทุกภาคส่วนได้พูดคุยกัน เปิดแผนหรือข้อมูลทั้งหมดต่อชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านต้องการให้ชุมชนเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต จึงอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าลงมาคุยกับชาวบ้าน
received_1192499067460043

จากนั้นในเวลา 18.00 น. ชาวบ้านและประชาชนที่มาร่วมให้กำลังใจ ออกไปตั้งแนวตลอดกำแพงป้อมมหากาฬ โดยมีการถือป้ายหยุดรื้อถอนชุมชน, เดินหน้าพหุภาคี, คนกับเมืองอยู่ร่วมกัน, มหากาฬไม่โดดเดี่ยว และยืนสงบนิ่งเพื่อฟังเพลงชาติร่วมกัน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบร้อย และไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเฝ้าติดตามแต่อย่างใด โดยมีตัวแทนชาวบ้านกล่าวถึงจุดยืนว่า “ขอให้รัฐเร่งจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคีที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม ชุมชน และนักวิชาการ ให้เป็นตัวแทนศึกษาข้อมูลแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชนป้อมมหากาฬ เพราะชุมชนแห่งนี้ไม่ได้เป็นของพี่น้องทุกคนเท่านั้น แต่ต้องรักษาให้เกิดคุณค่าแก่ประเทศชาติสืบไป”

นายมานพ ปั้นทองดี พนักงานบริษัทเอกชน ชาวจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจเดินทางมาให้กำลังใจชาวบ้าน แม้จะไม่ได้มีญาติหรือเพื่อนอาศัยอยู่ที่นี่ แต่ตนได้ติดตามข่าวสารการไล่รื้อชุมชนมาโดยตลอด และไม่อยากเห็นการไล่ชุมชนออกไปจากพื้นที่นี้ โดยคิดว่า กทม.น่าจะหาทางออกโดยการพัฒนาป้อมมหากาฬ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิต นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปเที่ยวชมและพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อให้เป็นผู้คอยบอกเล่าประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง

received_1192499407460009
ด้านนางแสงเงิน งามสลับ ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง ซึ่งมาร่วมให้กำลังใจกับเพื่อนบ้านในครั้งนี้ กล่าวว่า รู้สึกใจหาย สงสารชาวบ้าน เพราะเป็นเพื่อนบ้านกันมานาน ตนเองเกิดและโตในย่านนี้ ทำให้มีเพื่อนและรู้จักคนในชุมชนป้อมมหากาฬเป็นอย่างดี วันนี้ตนเดินเข้าไปเยี่ยมในชุมชนแล้วรู้สึกหดหู่ อยากจะร้องไห้แทนชาวบ้าน เพราะทุกคนเป็นคนจน และยังไม่รู้จะต้องย้ายไปอยู่ที่ไหน อยากให้ กทม.พิจารณาปรับพื้นสวนสาธารณะเฉพาะด้านหน้าที่เป็นพื้นที่ว่าง ส่วนชุมชนควรกันไว้อนุรักษ์เป็นชุมชนประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่กับเกาะรัตนโกสินทร์

นางเสาวรส วรมหาคุณ หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวว่า รู้สึกตื้นตันใจที่มีคนมากมายออกมาร่วมปกป้องชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่ามีคนอีกจำนวนมากยินดีและต้องการให้ชุมชนป้อมมหากาฬคงอยู่ในพื้นที่นี้ และที่ผ่านมาชาวบ้านถือว่าเป็นผู้สืบทอดและต่อยอดองค์ความรู้และสิ่งดีงามให้อยู่คู่กับเกาะรัตนโกสินทร์ ตอนนี้จึงหวังเพียงให้ความร่วมมือของทุกคนช่วยสร้างให้เกิดปาฏิหาริย์ดลใจผู้ที่มีอำนาจเห็นใจชาวบ้าน

“ชีวิตคนๆ หนึ่งที่อยู่ในเมืองมาตั้งแต่เกิด จะให้ย้ายไปเริ่มต้นใหม่ที่ชานเมืองก็เป็นเรื่องยากแล้ว แต่นี่คนเป็นหลายร้อยจะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่กันอย่างไร หลายคนยังไม่รู้จะต้องถูกย้ายไปไหน พวกเราอยู่ที่นี่สืบทอดมาตั้ง 6 ชั่วอายุคน จะให้พวกเราทิ้งบ้านไปได้อย่างไร” นางเสาวรส กล่าว
received_1192499490793334

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตออกจดหมายเปิดผนึก ที่มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ร่วมลงชื่อ 41 รายชื่อ สนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตคนอยู่กับโบราณสถานได้ โดยมีการเนื้อหาสำคัญระบุว่า ชุมชนป้อมมหากาฬถือเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่า และเป็นชุมชนโบราณที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมอยู่คู่มาช้านาน จึงควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแผนแม่บทการพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มีการยอมรับหลักการที่คนและชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจิตวิญญาณของประวัติศาสตร์ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคารพในหลักการการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน และทางออกที่เหมาะสมเป็นไปได้คือ การยุติการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ และขอสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหลายฝ่าย มากำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนาในการสร้างพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต ทำให้เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์โบราณสถานที่มีชุมชนอยู่ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

————

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →