Search

ชาวทุ่งป่าคาพ้นวิบากกรรม ได้รับอภัย-พักโทษออกจากคุกเกือบหมด เตรียมจัดพิธีเรียกขวัญ-ถอดเรียน หวั่นซ้ำรอยเดิม เหตุตัวการใหญ่ขบวนการลักลอบตัดไม้สาละวินยังอยู่

received_1231774073532542

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 นายสรศักดิ์ เสนาะพรไพร กรรมการอำนวยการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีชาวบ้านทุ่งป่าคา ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 39 คน ถูกดำเนินคดีในช่วงปราบปรามขบวนการตัดไม้ป่าสละวิน จนเป็นเหตุให้ต้องติดคุกระหว่าง 1-5 ปีเมื่อปี 2557 ว่า ขณะนี้ชาวบ้านได้รับการปล่อยตัวแล้ว 24 คน โดยแบ่งเป็นผู้ได้รับการปล่อยตัวจากการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษทั้งหมด 12 คน ผู้ที่ได้รับการพักโทษจำนวน 7 คน ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีชาวบ้านได้รับการปล่อยตัวช่วงเดือนมีนาคม 2558 เพราะครบกำหนดคุมขัง (ก่อนหน้าการยื่นขออภัยโทษ) แล้ว 5 คน มีเสียชีวิตระหว่างดำเนินคดีไปแล้ว 2 คน ที่เหลืออีก 11 คนยังอยู่ระหว่างรอลงอาญา และมีผู้ยังถูกจำคุกอยู่เพียง 2 คนสุดท้ายเท่านั้นที่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากไม่ได้ขอพระราชทานอภัยโทษและชาวบ้านส่วนมากยืนยันว่าผู้ต้องหาที่ยังจำคุกอยู่นั้น มีส่วนรู้เห็นกับการตัดไม้ทำลายป่าจริงๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการขอลดโทษต่อไป

received_1231774070199209

“จริงๆ แล้วคดีลักลอบตัดไม้และมีไม้หวงห้ามในครอบครองนั้น ชาวบ้านที่ถูกจำคุกส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการแจ้งความเพื่อตัดตอน ไม่ให้กระบวนการยุติธรรมทำงานจนถึงจุดสิ้นสุด และชาวบ้านทุ่งป่าคาเป็นเหมือนจำเลยที่ต้องจดจำไว้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์หนึ่งในคดีลักลอบตัดไม้ ที่มีการฟ้องร้องอย่างรวดเร็ว และชาวบ้านต้องรับผิดทั้งที่เป็นการดำเนินชีวิตไปตามวิถี ทำให้เกิดบรรยากาศแสนวังเวง และความอึดอัดกับชีวิตในคุก และชาวบ้านแทบไม่มีทางเลือก และเหตุการณ์น่าสลดใจของคดีครั้งนี้เป็นการสะท้อนบรรทัดฐานต่างๆ ซึ่งน่ากลัวว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นอีกแน่ เพราะต้นตอการทำลายป่าไม่ใช่ชาวบ้าน แต่เป็นคนมีสี มีอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งไม่เคยจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้” นายสรศักดิ์ กล่าว

นายสรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับประสบการณ์ครั้งนี้ทางเครือข่ายเล็งเห็นว่าค่อนข้างน่ากังวล ในขณะที่สถานการณ์การตัดไม้สาละวินก็ไม่ดีขึ้น ทางเครือข่ายจึงวางแผนไว้ว่า หลังจากนี้จะปล่อยให้ชาวบ้านได้ใช้เวลากับครอบครัวภายหลังผ่านพ้นเหตุการณ์ร้ายมาก่อน และอาจจะมีพิธีเลี้ยงเรียกขวัญสักพักในชุมชนก่อน จากนั้นทางเครือข่ายอาจจะมีเวทีเล็กๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและถอดบทเรียนในเรื่องการรณรงค์อนุรักษ์อนุรักษ์ป่าไม้ รวมถึงแผนการปลูกป่าทดแทนเพื่อสะท้อนให้สังคมได้เห็นว่าปกาเกอะญอคือผู้รักษาป่าไม้อย่างแท้จริง แต่เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังโศกเศร้าทั้งสถานการณ์ประเทศ และสถานการณ์ชุมชน จึงจำเป็นจะต้องพักเหตุการณ์ไว้ก่อน

อนึ่ง สำหรับลำดับเหตุการณ์สำคัญของชาวบ้านทุ่งป่าคา คือ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 ได้ถูกทหารพรานจากกรมทหารพรานที่ 36 อำเภอแม่สะเรียงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจค้นและจับกุม เนื่องจากขณะนั้นข่าวการลักลอบตัดไม้สักในป่าสาละวินกำลังเป็นเรื่องครึกโครม และสื่อมวลชนจำนวนมากได้ให้ความสนใจ รวมทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ได้มีคำสั่งให้กองทัพบกดำเนินการปราบปรามและจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ แต่กองกำลังทหารพรานที่ 36 ขณะนั้น ภายใต้การบังคับบัญชาของพันเอกคชาชาต บุญดี ได้นำกำลังบุกตรวจค้นหมู่บ้านทุ่งป่าคา และจับกุมชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีไม้สักเก่าที่เก็บมาจากหัวไร่ปลายนาเพื่อนำมาใช้ซ่อมแซมหรือสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ขณะที่ตัวการสำคัญในขบวนการค้าไม้ยังไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ รวมทั้งคนมีสีที่สมคบคิดกับพ่อค้าไม้
/////////////////////////////////////

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →