สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ชาวบ้านทับตะวัน เผย 12 ปี สึนามิถล่มพังงา ปัญหาที่ดินไม่ถูกแก้

15748991_665990293561868_1400305035_o

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2559เวลา 14 .30 น. ที่อนุสรณ์สถานบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมงานรำลึก 12 ปีสึนามิ มาร่วมรับชมเครือข่ายอาสาสมัครสึนามิอลัภาคี ฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ

นายภัคพงศ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ในโอกาสครบรอบ 12 ปีสึนามิที่เคยเกิดขึ้นใน 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย จังหวัดพังงาได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะบ้านน้ำเค็ม วันนี้หลายพื้นที่ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต ก็อยากขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกัน อยากให้ทำดีต่อไป และในโอกาสที่สึนามิจัดเป็นภัยพิบัติร้ายแรงก็ขอให้ทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมเสมอ อย่างกรณีกิจกรรมการซ้อมวันนี้ยัดเป็นแผนรับมือที่ดี

15776251_665990310228533_1940279391_o
ภาพการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติ

นางลำดวน เมฆจันทร์ อายุ 72 ชาวบ้านน้ำเค็มตำบลบางม่วงอำเภอตะกั่วป่าจังหวัดพังงา ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ให้สัมภาษณ์ว่า ตนสูญเสียสามี ลูกเขยและหลานชายวัย 8 เดือน แต่ตอนค้นหาศพ พบเพียงศพสามี และหลานชายเท่านั้น ไม่พบศพลูกเขย การสูญเสียครั้งสำคัญครั้งนั้นทำให้ตนกลายเป็นคนเข้มแข็งขึ้นและมีจิตใจพร้อมรับความไม่แน่นอนตลอดเวลา ปัจจุบันตนจึงหันมาใช้ชีวิตกับลูกชาย สมาชิกครอบครัวเพียงคนเดียวที่มีชีวิตอยู่อย่างมีสติ และตั้งใจไว้ว่าจะทำบุญทุกครั้งที่มีโอกาส

“ป้าเป็นคนส่วนน้อยที่เสียญาติ ไปแล้วไม่เก็บสิ่งของและรูปภาพของเขาไว้เลย ป้าไม่อยากเศร้าแค่ว่าเขาจากเราไป แต่อยากใช้ชีวิตอยู่เพื่อให้รู้ว่า ไม่มีเขาแล้วเรายิ่งต้องเข้มแข็ง ป้าไปทำบุญมาหลายวัดแล้ว ก็ได้แต่หวังว่าเขาจะสู่สุคติ และอย่าห่วงป้า คือไม่นานป้าก็ตายตามแล้วละ” นางลำดวนกล่าว

ภาพการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติ
ภาพการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติ

<
นางลำดวนกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาตนติดตามข่าวสารรำลึกสึนามิมาตลอดไม่อยากเห็นข่าวเศร้าหมองอีกแล้ว ไม่อยากฟังว่าญาติเสียใจ ร้องไห้ หรือรู้สึกแย่แค่ด้านเดียวแต่อยากให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับปัญหาที่ยังอยู่บ้านในพื้นที่มากกว่า นั่นคือปัญหาที่ชาวบ้านหลายพื้นที่กำลังเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินอย่างเช่นหมู่บ้านทับตะวัน

นายวิทวัส เทพสง ชาวบ้านทับตะวันจังหวัดพังงา กล่าวว่า หลังสึนามิผ่านไปชาวบ้านทับตะวันพบปัญหามากมาย เช่น ข้อพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ข้อพิพาทที่ดินระหว่างเอกชนกับชาวบ้าน และหลายพื้นที่ที่เคยเป็นที่ทำกินถูกทิ้งรกร้าง โดยล่าสุดในปีนี้ตรงหาดมอแกลน ที่อยู่ติดกับที่เอกชนรายหนึ่งกำลังถูกทิ้งรกร้าง โดยชาวบ้านขอให้ทางการได้ประกาศหรือจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการโดยมีชุมชนเป็นส่วนร่วมแต่กลับไม่มีความคืบหน้าในการจัดสรรพื้นที่

“หลังจากเหตุการณ์สึนามิ หากชาวบ้านไม่ออกมาเรียกร้องสิทธิ ที่ดินอาจจะกลายเป็นขอเอกชน พอต่อสู้ที่ดินตรงหาดมอแกลนสำเร็จ รัฐกลับจะเอาไปพัฒนาให้เอกชนเช่า ซึ่งไม่ใช่การพัฒนาเพื่อชุมชน” นายวิทวัสกล่าว

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →