Search

นักวิชาการ ร่วมเปิดโปง หนทางสร้างกำไรของธุรกิจถ่านหิน ชี้ผลกระทบอื้อ-ต้นทุนต่ำ ต่างประเทศพากันเลิก-หนีไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นหมดแล้ว เหลือแต่ไทยยังทู่ซี้นักวิชาการ ร่วมเปิดโปง หนทางสร้างกำไรของธุรกิจถ่านหิน ชี้ผลกระทบอื้อ-ต้นทุนต่ำ ต่างประเทศพากันเลิก-หนีไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นหมดแล้ว เหลือแต่ไทยยังทู่ซี้

tepa1

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2560 ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีวงเสวนา “โลกกับถ่านหิน และข้อตกลงปารีส” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานประเทศไทยในสัญญาปารีส “ถ่านหิน-ไฟฟ้า-ทรัพยากร” โดยดร.อาภา หวังเกียรติ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ทันทีที่ประธานธิบดีของสหรัฐอเมริกาเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ทางเว็บไซต์ทำเนียบขาวได้ตัดเนื้อหาประเด็นสภาวะทางอากาศ ซึ่งในนั้นมีกรณีการแก้ปัญหาโลกร้อนด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ในปี 2558 บริษัทที่ทำธุรกิจพลังงาน เพียง 5 แห่ง กำไรวันละ 13,125 ล้านบาท หรือ 4.79 ล้านล้านบาทต่อปี แต่กำไรในที่นี้คือต้องหักจ่ายและรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะมีกฎหมายควบคุมหลายอย่าง แต่พอย้อนมามองประเทศไทยที่เรามีไฟฟ้าใช้ถูกและได้รับการโฆษณาชวนเชื่อมาตลอดว่าพลังงานขาดแคลน และหายาก จึงพยายามผลักดันให้มีการใช้ถ่านหินก็เพราะไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นลองคิดดูว่าจะกำไรเท่าไหร่ ดังนั้นเมื่อทราบว่าธุรกิจพลังงานโกยกำไรไปมหาศาลเราจึงควรหาพลังงานทางเลือก ซึ่งข้อเสนอก็คือพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้เราไม่ตกอยู่ภายใต้พลังงานผูกขาด

“เรื่องการทำพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่ทำ เพราะรัฐบาลไม่มีนโยบาย แถมยังมีการวางแผนพัฒนาพลังงานถ่านหินต่อเนื่องอีก และมีปริมาณถ่านหินสำรองเยอะมากมาย ซึ่งเหตุผลที่นายทุนถ่านหินอยากขายให้ไทยเพราะไม่รู้จะขายให้ใครแล้ว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ยังสามารถลงทุนทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย หรือค่าผลกระทบใด ๆ ยืนยันว่าสถานการณ์ทั่วโลกนั้น ในประเทศอื่นเขามีการขยับกระบวนการเรื่องการทำข้อตกลงปารีส ในปี 2558 นั้นต่างประเทศมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมเข้มงวดกว่าบ้านเรา เช่น ที่ต่างประเทศมีการกำหนดค่าห้ามปล่อยปรอทเกินมาตรฐาน และมีการจ่ายค่าภาษีคาร์บอนมอนออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ทำให้ทุนทำไฟฟ้าถ่านหินมันแพงเรื่อย ๆ แต่บ้านเรานโยบายไม่มีแบบนั้น ไม่มีกฎหมายคุมปรอท ไม่มีการเรียกเก็บค่าปล่อยคาร์บอนฯ ถ่านหินเลยถูก แค่สกปรก” ดร.อาภา กล่าว

tepa2

ด้าน ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ต้นทุนที่มองไม่เป็นในพลังงานถ่านหินมีมากมาย เพราะในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นไม่ได้มุ่งเพียงการส่งเสริมด้านพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศและแม้จะมองผิวเผิน อาจจะคิดว่าได้กำไร แต่จริง ๆ แล้วมีต้นทุนที่ซ่อนอยู่จำนวนมาก เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแบ่งปันงบประมาณเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมการแก้ปัญหาสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน นำงบประมาณไปบำบัดมลพิษหรือมลภาวะที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งเมื่อลองเปรียบเทียบภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วจะเห็นว่า มีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ สังคมและสภาพแวดล้อมถูกทำลายกำไรที่ได้จากการลงทุนด้านถ่านหินจึงคล้ายกับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและทำลายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยจากมูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวว่า การดำเนินการเรื่องพลังงานหมุนเวียนและพลังงานชีวมวลในต่างประเทศเช่นเดนมาร์กและเยอรมัน ทั้งสองประเทศไม่ได้คำนึงแค่เรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังคิดถึงการผดุงเศรษฐกิจ ด้วยการดำเนินการที่ช่วยให้ประชากรได้มีงานทำด้วย เช่น ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จำเป็นที่จะต้องมีการจ้างแรงงานเพื่อไปดำเนินการติดตั้ง จะใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติไม่ได้ การคิดเช่นนี้เป็นการคิดของประเทศที่พัฒนาแล้ว หากประเทศไทยจะทำก็ต้องออกไปนโยบายที่ชัดเจน แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ) ไม่อยากดำเนินงาน เพราะในนโยบายกลางมีการวางแผนซื้อขายถ่านหินระยะยาว และกลุ่มธุรกิจพลังงานได้กำหนดกลไกไว้แล้ว

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →