Search

นักวิชาการชี้ไร้ความจำเป็นเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหิน ระบุไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงระดับโลก


เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ กทม.ได้มีงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน…ทางเลือกที่ต้องแลก” จัดโดยกลุ่มนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ (รศ.) ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ประจำภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรม มธ. กล่าวว่า ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่หนึ่งก่อมลพิษในระดับสูง เนื่องจากค่าเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศนั้นสูงพอกับค่าเฉลี่ยคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก และโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มี ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเกิดมลพิษที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย โดยพบว่าในหลายโครงการไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์สำคัญในการกรองมลพิษออกจากการเผาไหม้ ก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ


รศ.ชาลี กล่าวต่อว่า โดยส่วนตัวมองว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างผลเสียมากกว่าผลดี เพราะส่งผลกระทบหลายอย่าง และคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม เนื่องจากกำลังการผลิตสำรองในประเทศไทยมีมากถึง 15% หากเดินเครื่องทำการผลิตโดยพร้อมเพรียงกัน ติดเพียงปัญหาที่ระบบสายส่งไฟฟ้าที่ยังไม่ทั่วถึงพอในบางภูมิภาคเท่านั้น ดังนั้น แทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ควรมีการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้ไฟฟ้ามากกว่าหันมาใช้พลังงานสกปรก อย่างไรก็ตามยืนยันว่าทางออกพลังงานอย่างยั่งยืน คือ ทยอยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลทุกประเภท ไม่สร้างใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น Smart Grid, Clean Grid Battery ที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ และส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบตามศักยภาพของพื้นที่ ไม่พึ่งพาถ่านหินและนิวเคลียร์ หากทำได้ เราก็ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในอนาคต

“ดูง่าย ๆ ปี 2556 อย่างกรณีภาคเหนือผลิตได้ 3,500 เมกะวัตต์ ความต้องการ 2,600 เมกะวัตต์ แปลว่าผลิตได้ มากกว่าที่ใช้ ภาคอีสาน กำลังผลิต 3,600 เมกะวัตต์ ความต้องการใช้แค่ 3,300 เมกะวัตต์ เราถูกหลอกมาตลอดว่าต้องมีไฟฟ้ามากกว่าที่ใช้ แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น คือเราเป็นประเทศเดียวกันเราแบ่งกันใช้ได้ ไม่ต้องหากำลังไฟฟ้าสำรองเลย” รศ.ชาลี กล่าว

ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มธ. กล่าวว่า แม้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะสามารถจำกัดปริมาณมลพิษที่ก่อเกิดจากพลังงานถ่านหินได้ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็มีราคาแพง และโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ยังคงก่อมลพิษในปริมาณที่มากอยู่ดี โดยเฉพาะในมาตรฐานของกฎหมายไทย ที่อนุญาตให้มีมลพิษในระดับที่มากเกินค่ามาตรฐานของโลกที่ควรจะเป็น ทั้งนี้แนวคิดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมนั้น ไม่ควรเกิดขึ้นอีก เพราะประเทศไทยทางเลือกในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกมากมาย

ด้านนางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้แทนจากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2560 มาตรา 58 พูดถึงกิจกรรมโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรงว่า จะต้องมีการออกกฎหมายลูกเพื่อรองรับการดำเนินการภายใน 240 วัน และแม้ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว แต่กรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น รัฐบาลจะดำเนินการได้ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น คนท้องถิ่นสะท้อนออกมาหลายครั้งแล้วว่าไม่เอา ไม่รับ การที่รัฐจะเดินหน้าต่อ หรือจะเอาคนกลางหรือหน่วยงานใดในพื้นที่อื่นมาชี้ข้อดีนั้น ก็ไม่จำเป็นแล้ว และหากจะให้ประชาชนเคารพกฎหมายในเมื่อรัฐธรรมนูญบอกไว้ว่าต้องมีกฎหมายลูกรองรับก็ต้องออกกฎหมายนั้น ๆมาก่อน

นางสาวสุภาภรณ์กล่าวว่า หากมีกฎหมายออกมาแล้ว หมายความว่าจะต้องมีการพูดถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) การประเมินผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ (Environment and Health Impact Assessment : EHIA) ด้วยและเมื่อมีกฎหมายข้างต้นแล้วต้องเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่รับรู้ รับทราบ เพราะพวกเขาคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่กรณีการกำหนดนโยบายและพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทยที่ผ่านมานั้น ไม่เคยมีการมีส่วนร่วมทางตรงจากประชาชนในพื้นที่ผู้ที่จะได้รับผลกระทบเลยแม้แต่น้อย รวมทั้งการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่ไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างลึกซึ้งมากพอในทางปฏิบัติจริง ดังนั้นมาถึงยุคปัจจุบันนี้แล้ว ถึงเวลาแล้วที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และเคารพการตัดสินใจของประชาชน

“การประเมินศักยภาพเรื่องการพัฒนา หรือทิศทางการพัฒนาเนี่ยนะ ภาคใต้เอง หากผู้บริหารประเทศไทยมองแล้วว่ามีทิศทางพัฒนาด้านการท่องเที่ยว อาหารเป็นหลัก ถ่านหินก็ไม่จำเป็น เพราะถ่านหินมาทำลายอาหาร ทำลายการท่องเที่ยว ประชาชนก็เลยไม่เอา คนท้องถิ่นไม่เอา ซึ่งคำว่าไม่เอา แปลว่าไม่เอาถ่านหิน ต้านถ่านหิน ที่นำมาผลิต ไม่ได้ต้านการผลิตพลังงานเพิ่ม ทีนี้ถ้ารัฐกลัวพลังงานไม่พอ ต้องการผลิตเพิ่มก็มองพลังงานทางเลือกอื่นที่ไม่ทำลายศักยภาพท้องถิ่น และน่าจะทำได้ไม่ยาก หากรัฐเปิดทางการศึกษา ภาคใต้มีทั้งยาง มีทั้งปาล์ม อะไรพวกนี้ก็เป็นทางเลือกได้” นางสาวสุภาภรณ์ มาลัย กล่าว

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →