Search

ห่วง”ชาวเล”ถูกรุกถิ่น-ที่ทำกิน


เมื่อวันที่ 21 พ.ย. น.ส.นฤมล อรุโณทัย นักวิชาการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ความเป็นอยู่ของชาวเลที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ ใน จ.ภูเก็ต และเปิดเผยว่าขณะนี้กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล โดยเฉพาะชาวเลที่อาศัยอยู่บริเวณหาดราไวย์ กำลังถูกรุกรานจากวัฒนธรรมสมัยใหม่ ที่ทำลายความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลพื้นเมืองดั้งเดิม ที่อาศัยหากินบริเวณทะเลอันดามันมากว่า 300 ปี จากการศึกษาพบว่าชุมชนชาวเลในปัจจุบันมีทั้งหมด 41 ชุมชน รวม 12,000 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต จ.พังงา จ.สตูล จ.ตรัง และจ.กระบี่ 


“ชาวเลได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่อันดามันให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวระดับโลก และการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล และอื่นๆ ของรัฐที่ขัดกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมคนกลุ่มนี้ อีกทั้งความต้องการในการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว ทำให้ชาวเลถูกขับออกจากพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ตลอดจนใช้พื้นที่ทางทะเลสำหรับบริการนักท่องเที่ยว หรือการประกาศเขตหวงห้ามของรัฐที่มีมาทีหลัง ทำให้ชาวเลไม่มีสิทธิเข้าไปหากินในที่ทำกินดั้งเดิมที่เคยหากินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ? น.ส.นฤมลกล่าว

 

นักวิชาการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ปัญหาสำคัญของชาวเล คือความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย เพราะไม่มีเอกสารสิทธิที่ดิน พบว่ามีไม่ต่ำกว่า 25 ชุมชน ที่มีโอกาสถูกไล่ที่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่พื้นที่ชายหาด ที่สำคัญมีข้อมูลระบุว่าตั้งแต่ปีพ.ศ.2553-2555 มีชาวเลถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติจับกุมพร้อมยึดเรือ อุปกรณ์ และสัตว์น้ำแล้ว 32 ราย ส่งผลให้ครอบครัวชาวเลต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นทำให้ต้องออกหากินไกลชายฝั่ง และต้องดำน้ำลึก 30-50 เมตร ส่งผลให้เกิดโรคน้ำหนีบ ซึ่งเกิดจากภาวะความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีปัญหาต่อสุขภาพตามมา

 

ข่าวสดรายวัน 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8029

 

 

On Key

Related Posts

เหยื่อค้ามนุษย์ 9 ชาติยื่นหนังสือร้อง กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษย์ริมน้ำเมย ร่ำไห้วอนรัฐบาลไทยสกัดแก๊งมาเฟียจีน แฉถูกทรมานสารพัด สุดอนาถแม้แต่หญิงท้องยังถูกบังคับจนพยายามฆ่าตัวตาย

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 ตัวแทนครอบครัวเหยื่อค้าRead More →