สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

แนะไทยออกกฎหมายกำหนดกติกาลงทุนข้ามแดน องค์กรสิทธิเอเชียเปิดรายงาน “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” สื่อต่างชาติ-ผู้แทนสถานทูตสนใจคึกคัก


เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศ (FCCT) ถนนเพลินจิต ได้มีการประชุมเรื่องการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 70 คน จากสถานทูตต่างๆ และสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งได้มีการเปิดตัวรายงาน “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” โดยองค์กรฟอรั่มเอเชีย และได้มอบรายงานดังกล่าวให้แก่นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

นางสาว สอ รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวถึงกรณีการฟ้องคดีเขื่อนไซยะบุรี ที่ศาลปกครอง ว่าแม้โครงการเขื่อนจะอยู่นอกประเทศไทย แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของไทย เนื่องจากเป็นการลงทุนโดยบริษัทสัญชาติไทย และมีคนไทยเป็นผู้ได้รับผลกระทบ โดยศาลปกครองสูงสุดได้รับอุทธรณ์ และรับว่ามีผลกระทบข้ามพรมแดนต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัดของประเทศไทย เราไม่ได้พูดเฉพาะการลงทุนข้ามพรมแดนเท่านั้น แต่เกิดผลกระทบสู่ประเทศไทย เช่นเดียวกับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาในลาว ซึ่งลงทุนโดยบริษัทไทย แต่อยู่ห่างจากพรมแดนไทย ที่ จ.น่าน เพียงไม่กี่กิโลเมตร

ทั้งนี้ระหว่างการเสวนา มีการฉายภาพยนต์สารคดีสั้น กรณีโครงการเหมืองแร่ และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่ลงทุนโดยบริษัทไทย แต่มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ในพื้นที่ทวาย ประเทศพม่า โดยชาวบ้านได้ออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างช่วงการถามตอบ ดร.คาร์ล มิเดิลตัน นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคำถามถึงบทบาทของอาเซียน ว่ากระบวนการภูมิภาคจะเป็นอย่างไรได้บ้าง สำหรับ กสม.ไทยซึ่งได้ ทำงานข้ามพรมแดน ถือเป็นเป็นผู้นำในภูมิภาค และกสม.จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะนอกเหนือจาก พรป. หรือไม่ มีกรณีตัวอย่างคือที่สิงคโปร์ ที่มีการออกกฎหมายกรณีผลกระทบจากควันไฟข้ามพรมแดน กรณีของภูมิภาค จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีมาตรการทำงานในการพัฒนากลไกกำกับความรับผิดชอบข้ามพรมแดน

นางเตือนใจ กล่าวว่า การตรวจสอบกรณีในพม่า เช่น เหมืองบานชอง แต่ยังไม่มีความร่วมมือกับกสม. พม่าอย่างเป็นรูปธรรม กสม. จึงเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องจากในพื้นที่มาให้ข้อมูล และมีข้อเสนอให้สร้างความร่วมมือกับ กสม. ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย พม่า

นางเตือนใจกล่าวว่า สำหรับกฎหมายไทยในการติดตามตรวจสอบการลงทุนไทยในต่างประเทศนั้น ขณะนี้เรามีเพียงมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งออกมา 2 ปีแล้ว ควรต้องพัฒนาไปสู่กฎหมาย และกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กสม.ไทย ต้องติดตามให้มติ ครม. สามารถปฏิบัติการได้จริง ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายให้ธุรกิจดำเนินตามหลักการของสหประชาติ ( UNGP) ซึ่งเน้นทั้งการป้องกัน และการเยียวยา โดยหวังว่าระยะเวลาที่เหลืออีก 6 เดือนนี้จะพยายาม

ขณะที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ถามกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ว่ากสม.พม่า จะสามารถช่วยสนับสนุนงาน กสม.ไทยได้อย่างไรบ้าง โดยผู้แทนสถานทูตรายหนึ่งตั้งคำถามว่า ในประเทศอื่นๆ เคยมีเหตุการณ์เหมือนประเทศไทย ที่เมื่อมีโครงการพัฒนาแล้วมีชาวบ้านออกมาเรียกร้อง ให้แก้ไขผลกระทบ แต่สักพักก็จะมีชาวบ้านอีกกลุ่มออกมาสนับสนุนโครงการ ซึ่งนางสาว สอ รัตนมณี ชี้แจงว่ากรณีแบบนี้เกิดขึ้นแทบทุกแห่ง เช่นเดียวกันกับในกัมพูชา ขณะที่นางเตือนใจ กล่าวว่า เห็นเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย อย่างเช่นกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่ง ชาวบ้านที่พึ่งพิงทรัพยากร ออกมาปกป้องสิทธิ ด้วยข้อมูลที่ชัดเจน แต่จะมีการจัดตั้งประชาชนอีกกลุ่มในการสนับสนุน ดังนั้นการตรวจสอบของ กสม. จึงต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน โดยในปีนี้ นายกรัฐมนตรีประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ จึงต้องร่วมกันสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดการเคารพ คุ้มครอง และเยียวยา ตามกระแสของโลก ให้โลกล้อมไทย ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ เนื่องจากผลกระทบต่างๆ เกิดขึ้นข้ามพรมแดน

ด้านกรรมการสมาคมนักข่าวต่างประเทศ ชาวอเมริกัน ได้ถามถึงการติดตามกรณีการลงทุนของบริษัทอิตาลเลียนไทยว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างไร นางสาวสอ กล่าวว่าระหว่างการตรวจสอบ อิตาเลียนไทยมาให้ข้อมูลว่าได้ระงับการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการลงทุนของไทยในโครงการดังกล่าวเป็นอย่างไร เป็นข้ออ่อนของกฎหมายไทยที่สาธารณะไม่สามารขอข้อมูลหรือติดตามโครงการของบริษัทไทยที่ลงทุนข้ามพรมแดนได้

นางสาวสอ กล่าวว่าตนขอเรียกร้องให้มีการออกกฎหมาย เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงการเยียวยา ข้อเรียกร้องสำหรับบริษัทไทยที่ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน บริบทโลกในขณะนี้ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิทธิมนุษยชน เพราะต้องการกลไกเยียวยาผู้เสียหายจากกิจกรรมของบริษัท เช่น มีช่องทางการตรวจสอบภายใน ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น

อนึ่ง รายงานเรื่อง “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการติดตามประเด็นสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในประเทศต่างๆของเอเซีย โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งพูดถึงการลงทุนของไทยในประเทศอาเซียนโดยเฉพาะในกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามซึ่งแม้ว่าจะนำมาซึ่งผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่ดีระหว่างประเทศไทยและประเทศเจ้าบ้าน แต่พบว่าในแทบทุกกรณีมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งการแย่งชิงที่ดิน การบังคับอพยพ โดยโครงการต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมากสม.ไทยได้ติดตามประเด็นเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดความรับผิดชอบ

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →