Search

จากใจช่างภาพสัตว์ป่า ทำไมถึงต้องคัดค้าน ถนนคอนกรีตในป่าแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 ได้มีกิจกรรม “ถนนในป่าอนุรักษ์ ความพอดีอยู่ตรงไหน .. Roadkills..!!” ซึ่งคัดค้านการสร้างถนนคอนกรีตสู่เขาพะเนินทุ่งในผืนป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นวันสุดท้าย ก่อนย้ายไปจัดต่อที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งภายในงานนอกจากมีนิทรรศการภาพถ่ายสัตว์ป่าในแก่งกระจานแล้ว ยังมีเวทีหลากหลายมุมมองขอบบรรดาช่างภาพสัตว์ป่าทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ และเสียงสะท้อนของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งการแสดงดนตรี กลุ่มเยาวชนจากค่ายเพลง Brickhouse

บรรยายภาพ กลุ่มผู้คัดค้านร่วมกันแสดงพลังและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ .. Roadkills

 

ในมุมมองของช่างภาพคลื่นลูกใหม่ ทั้งนายธนาวุธ วรนุช นายสุทธิพงษ์ กิจอุดมวรรณ นายรัชพงษ์ ดีมาก และนายวุฒิดนัย บุตรน้ำเพชร์ เป็นไปในท่วงทำนองคล้ายกันคือไม่เห็นด้วยกับการสร้างถนนคอนกรีตในครั้งนี้ เพราะจะสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศและสัตว์ป่า โดยมีตัวอย่างแถวอ่างฤาไน

“มันห้ามไม่ให้รถยนต์ขับช้าไม่ได้อยู่แล้ว ป่าแก่งกระจานมีความอุดมสมบูรณ์มาก ถ้าไม่รักษาเอาไว้สเน่ห์ก็จะหายไป โดยสัตว์จะได้รับผลกระทบจากไอร้อนที่ขึ้นมา และรถต้องใช้แรงส่งค่อนข้างสูง ถ้าขับเร็วก็ต้องชนสัตว์ป่าแน่นอน เราไม่เห็นด้วยอยู่แล้วกับการสร้างถนนคนอกรีต ทำไมสัตว์ต้องมาปรับตัวให้เรา แทนที่เราจะปรับตัวให้เขา สัตว์ต้องการที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย ไม่ใช่ถนน
“ สิ่งที่ยากที่สุดในการถ่ายภาพคือตัวเอง เราต้องสู้กับใจตัวเองอย่างมาก ต้องมีสมาธิ สิ่งที่ไม่เห็น ไม่ได้แสดงว่าไม่มี สิ่งที่ช่วงภาพสัตว์ป่าทุกคนคิดอยู่เสมอคือคนที่ถ่ายภาพต้องให้เกียรติตัวเองคือทำในสิ่งที่ควรจะทำและให้เกียรติสัตว์ป่าเพราะเข้าไปบ้านเขา เราเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปรบกวนเขา

ช่างภาพคนรุ่นใหม่ร่วมกันสะท้อนมุมมอง

“คนคิดทำถนนเข้าไปไม่อยากพูดว่าสมองน้อย มันมีอะไรหลายๆอย่างที่ทำได้ จะปรับหรือเปลี่ยนแปลงในจุดที่เกิดเหตุบ่อยๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำถนนคอนกรีตทั้งเส้นเพราะทำให้วิถีชีวิตของสัตว์เปลี่ยนซึ่งทุกวันนี้มันก็เปลี่ยนไปแล้วบางส่วน สัตว์ที่เป็นนักล่าในแก่งกระจานที่พบบ่อยๆบนถนน ตอนนี้ไม่อยากไปล่าตัวอะไรในป่าแล้ว คอยแต่มากินสัตว์ที่ถูกรถชนตายบนถนน ระบบนิเวศกำลังเปลี่ยน ธรรมชาติของเสือเขาก็ชอบทางเรียบๆ เขาไม่เหยียบโคลนแฉะๆ ถนนคอนกรีตจะยิ่งทำให้พฤติกรรมของสัตว์เปลี่ยน และจะกลายเป็นโรดคิลล์ ผู้มีอำนาจควรใช้สมองให้มากกว่าน้หน่อย”

ขณะที่นายดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ช่างภาพอิสระ บุตชายคนโตหม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล นักอนุรักษ์ และยังเป็นหลานตาของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ยุคล ระบุว่า
“ผมเข้าแก่งกระจานมาตั้งแต่เด็กๆ ป่าตะวันตกสำคัญ เคยมีแรดอยู่และเดี๋ยวนี้ก็ยังมี เพียงแต่ความเจริญและมนุษย์เข้าไป มันก็ขยับเข้าไปในเขตพม่า แต่ยังเจอรอยเท้าอยู่ ป่าแก่งกระจานมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในลำดับสูงสุดของประเทศ ซึ่งเรียกว่าเป็นมรดกโลกได้เลย ถ้าทำถนนเข้าไปแล้วก็เหมือนเขาใหญ่ที่เสือหายไปเพราะความเจริญไม่ใช่หรือ เมื่อก่อนผมเป็นคนหนึ่งที่เจอเสือมาก ผมเป็นคนหนึ่งที่ขึ้นไปกับ นพ.บุญส่ง เลขะกุล ปรมจารณ์และเป็นเพื่อนกับคุณตาของผม ซึ่งเป็นคนกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปต้นแม่น้ำเพชรเพื่อดูความอุดมสมบูรณ์และอนุรักษ์อยู่จนชั่วลูกชั่วหลาน

“เมื่อไม่นานมานี้พอได้ยินข่าวการสร้างถนนคอนกรีต ผมได้นำไปลงในเฟสบุคและมีคนแชร์เกือบ 300 แชร์ มีคนต่างชาติติดต่อมาว่าถ้าทำถนนเข้าจะไม่ให้เป็นมรดกโลก

นายดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ช่างภาพอิสระ

 

“ศาสตร์พระราชารับสั่งว่าหญ้าแฝกช่วยไม่ให้ดินพังทลาย แต่อุทยานฯแก่งกระจานไม่ทำและจะสร้างถนนคอนกรีตซึ่งมีฐานรากและรางน้ำ ทำให้มีน้ำหนักขึ้น ถนนก็กว้างขึ้นเพราะมีฐานรากเพิ่มขึ้น ที่ดีคือทำถนนบดอัดและปลูกหญ้าแฝก ตรงนี้ไม่ต้องทดลองเพราะทั่วโลกน้อมเกล้านำไปทำหมดแล้ว แต่เรายังโง่อยู่โดยเฉพาะข้าราชการในแก่งกระจานทำไมถึงไม่นำศาสตร์พระราชามาใช้

ขณะที่ช่างภาพสัตว์ป่าที่มากด้วยประสบการณ์อย่างนายวิชา นรังสี บอกว่า
“ผมหันมาทำงานสิ่งแวดล้อมเพราะไปเที่ยวป่าแก่งกระจาน พอไปถ่ายภาพและได้เรียนรู้จากป่าแก่งกระจานจึงคิดว่าน่าจะมีใครสักคนมาพูดแทนสัตว์ป่า ผมจึงเลิกทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและหันมาถ่ายภาพสัตว์ป่า ผมไม่เห็นด้วยกับการสร้างถนนคอนกรีตครั้งนี้ เพราะนับตั้งแต่ปี 34 จนปัจจุบันเราก็ยังขึ้นได้อยู่

“การได้มาของงบประมาณ กว่า 80 ล้านบาท ที่จะนำมาทำถนน ถ้าไม่ใช่เป็นงบของอุทยานฯแต่เป็นงบที่โยกมาจากที่อื่น เราอาจต้องแจ้งให้สำนักงบประมาณและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบว่าใช้ถูกต้องหรือไม่

“ ผมได้เห็นแบบของถนนคอนกรีตแล้ว เป็นแบบของกรมโยธาและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งไม่ได้ศึกษาจุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายใดๆทั้งสิ้น แค่บอกว่าจะทำถนนด้วยมาตรฐานหนา 15 เซ็นติเมตร กว้าง 4 เมตร ด้านข้างมีร่อง แต่ในความเป็นจริงต้องผ่านลำน้ำหลายจุด ซึ่งทำให้มีปัญหาชำรุดทุกปี หากแก้โดยหลักการทางวิศกรรมก็ไม่จำเป็นต้องสร้างถนนคอนกรีต แต่อุทยานฯดึงดันอยู่ตลอดเวลาว่าจะสร้างถนนคอนกรีตโดยไม่ได้ศึกษาถึงจุดเสี่ยง ยังทำเหมือนถนนคอนกรีตเข้าบ้านซึ่งแก้ปัญหาไม่ได้ ในฐานะที่เป็นผู้รับเหมาและทำงานทางโครงสร้างมาก่อน บอกได้เลยว่าแบบที่ออกมานี้ใช้ไม่ได้ คนอนุมัติแบบและที่ปรึกษาโครงการไม่รู้ว่ามีความรู้ทางวิศกรรมแค่ไหน

วสันต์ สิทธิเขตและช่างภาพมากประสบการณ์ร่วมกันสะท้อนมุมมอง

“แก่งกระจานเป็นป่าตะวันตกผืนเดียวที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด จังหวัดเพชรบุรีถือว่าเป็นจังหวัดเดียวที่มีพันธุ์นกมากที่สุดของประเทศและเที่ยวได้ตั้งแต่ทะเลจนภูเขา ตรงนี้เป็นความได้เปรียบ มีผืนป่าที่สำคัญระดับโลก และรัฐบาลก็พยายามผลักดันให้เป็นมรดกโลกแต่กลับดิสเครดิทตัวเอง

“แก่งกระจานควรจำกัดนักท่องเที่ยว เพราะทุกวันนี้พอช่วงเทศกาลบนเขาพะเนินทุ่งรถติดยาวเป็นกิโลเมตร พอจะสร้างถนนคอนกรีตก็ยังไม่มีแผนรองรับว่าจะจัดการกับรถที่ขึ้นไปในแต่ละวันได้อย่างไร เราเห็นควาบกพร่องของโครงการครั้งนี้เพราะไม่ได้มีการรับฟังผู้ที่เกี่ยวข้องเลย ทั้งผู้ประกอบการบ้านพักและรถรับจ้าง แค่ปิด 3 เดือนพวกเขาก็แทบตายแล้ว ยิ่งปิดอีก 2 ปีจะต้องทำอย่างไร เขาจะสาหัสขนาดไหน

ขณะที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งไปร่วมงานด้วยเช่นกัน ระบุว่า
“เราตั้งประเด็นไว้แล้วหากรัฐบาลไม่ทบทวนเราฟ้องแน่ หลังจากล้มเหลวจากการประชุมในวันที่ 5 พฤศจิกายน ผมแปลกใจว่าผองเพื่อนในเพชรบุรีหลายคนไปสนับสนุนโครงการนี้ทั้งอดีตส.ว. อดีตส.ส. เขาพยายามติดต่อผมกลัวว่าจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้รู้สึกงงว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์อันใดในเมื่อเป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ ทุกวันนี้ทรัพยากรเหลือน้อยเต็มที เราพยายามนำเสนอเรื่องของการอนุรักษ์พื้นที่ที่เหลือน้อยเช่นนี้ไว้ แต่กรมอุทยานฯที่มีหน้าที่อนุรักษ์ของประทศกลับมีแผนงาน มีโครงการ หรือกิจกรรมที่ทำลายล้างพื้นที่ที่ตัวเองต้องอนุรักษ์ มันย้อนแย้งภายในตัวเอง

กลุ่มเยาวชนต่างมาร่วมกันเป็นปากเสียงเพื่อสัตว์ป่า

“เมื่อศึกษากฎหมายแล้ว ผมวินิจฉัยว่า จริงๆ กรมอุทยานฯไม่มีอำนาจที่จะให้ผู้รับเหมาเข้าไปก่อสร้างหรือทำกิจกรรมใดๆในพื้นที่ เป็นหน้าที่ของกรมอุทยานฯเอง ที่อ้างว่าอธิบดีมีอำนาจตามมาตรา 19 ของพรบ.อุทยานฯนั้น จริงๆเขาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯเท่านั้นที่จะเข้าไปบำรุงรักษาหรือจัดทำประโยชน์ที่เอื้อกับการท่องเที่ยว เขาไม่ได้เขียนว่าอนุญาตให้ผู้รับเหมาเข้าไปทำงานซึ่งผมตีความตามตัวกฎหมาย และในระเบียนที่กรมอุทยานฯออกมาตอนปี 49 ก็ระบุไว้ว่าอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้น ดังนั้นการที่ไปเปิดประมูลหรือรับเหมานั้น ไม่สามารถทำได้ หากหัวหน้าอุทยานฯแก่งกระจานยังดึงดัน หนทางสุดท้ายคือต้องฟ้องศาล”

 

On Key

Related Posts

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →

แหล่งอาชญากรรมริมเมยป่วนหลังถูกกดดันหนัก มาเฟียจีนพล่าน-ชักไม่มั่นใจกองกำลังกะเหรี่ยงเทา เตรียมฉวยจังหวะช่วงตรุษจีนกลับประเทศ แนะรัฐสบช่องเก็บข้อมูลแก๊งอาชญากร

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →