Search

สารพันปัญหารุมเร้าชาวเล พบอีกกว่า 400 คนยังไร้บัตรประชาชน แม่เฒ่ามอแกนโอดอยากได้เบี้ยผู้สูงอายุ-รักษาพยาบาลฟรี


เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ได้มีการจัดงานวันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 9 “เหลียวหลังแลหน้า 9 ปี มติครม. ชาวเล”ขึ้นเป็นวันแรก ซึ่งภายในงานมีการจัดนิทรรศการสะท้อนปัญหาต่างๆของชาวเล และการแสดงทางวัฒนธรรม

นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ให้สัมภาษณ์ว่า​ชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั่งเดิม ประกอบด้วย อูรักลาโว้ย มอแกน มอแกลน จำนวน 2,800 ครอบครัว ประมาณ 14,000 คน อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างสงบสุขมาช้านานกว่า 300 ปี แต่นโยบายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการประกาศเขตอุทยานทางทะเล ส่งผลกระทบต่อวิถี และการดำรงชีวิตของชาวเลเป็นอย่างมาก เช่น ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน พื้นที่ทางจิตวิญญาณ

นางปรีดากล่าวว่าหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกับพี่น้องชาวเล จัดทำข้อเสนอหาแนวทางแก้ไขจนนำไปสู่มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) 2 มิถุนายน 2553 โดยมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ นำปัญหาของชาวเล 10 ประเด็น และนำแผนสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพด้านการประมงและหาทรัพยากรตามเกาะต่างๆ โดยการผ่อนปรนให้ใช้อุปกรณ์ดั่งเดิมของชาวเล ปัญหาด้านสาธารณะสุข การไม่มีบัตรประชาชน การศึกษาของเด็ก การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น การส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายชาวเลให้เข้มแข็ง ตลอดจนปัญหาด้านอคติชาติพันธุ์

นางปรีดากล่าวว่าขณะนี้มติ ครม. 2 มิถุนายน 2553 ครบ 9 ปี แล้ว แต่พบว่าปัญหาในหลายๆด้าน ยังได้ไม่รับการแก้ไข หรือแก้ไขไม่แล้วเสร็จ เช่น ชาวเลจำนวน 28 แห่ง ที่อาศัยอยู่ในที่ดินรัฐ ยังไม่มีความมั่นคงในที่ทำกินและที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับที่ดินชาวเลถูกเอกชนออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน 7 ชุมชน และชาวเล 3 ชุมชน กว่า 200 ครอบครัว ถูกฟ้องร้องขับไล่ที่ โดยที่ดินศักดิ์สิทธิ์ทางจิตวิญญาณที่ชาวเลใช้เป็นสุสานฝังศพ มาหลายชั่วอายุคนจำนวน 23 แห่ง กำลังถูกเบียดขับรุกราน

“ตอนนี้ยังมีชาวเลกว่า 400 คน ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน กว่า 20 ราย ถูกจับเพราะออกทำการประมงในทะเล ซึ่งเคยทำกินมาแต่ดั่งเดิม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและครอบครัว ล่าสุดได้มีการประชุมหารือร่วมกับอุทยาน 7 แห่ง ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีแต่ยังต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด”นางปรีดา กล่าว และว่านอกจากนี้ปัญหาอื่นๆ ใน 10 ประเด็นก็ยังไม่มีผลทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาของเด็ก การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งปัญหาด้านอคติทางชาติพันธุ์

นางสังวาลย์ กล้าทะเล อายุ 73 ปี ชาวมอแกนชุมชนชัยพัฒน์ อ.คุระบุรี จ.พังงา กล่าวตนนั่งเรือข้ามจากฝั่งพม่ามาอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์เมื่อกว่า 30 ปีก่อนซึ่งเป็นเรื่องปกติของพวกตนที่ข้ามกันไป-มาเพราะไม่รู้ว่าที่ไหนเป็นของใคร ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บนเกาะพระทองจนเกิดสึนามิจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ชุมชนชัยพัฒน์

“ทุกวันนี้ยายไม่มีบัตรประชาชนสักที ทำเรื่องไปตั้งนานแล้วแต่ไม่เห็นได้ ผิดกับเพื่อนๆที่ได้กันหมดแล้ว ตอนนี้ลูก 4 คนก็ตายหมดแล้ว ยายอยากได้บัตรเพราะเวลาไปหาหมอจะได้ไม่ต้องเสียเงิน อยากได้เบี้ยผู้สูงอายุเหมือนคนอื่นๆเขา”นางสังวาลย์ กล่าว

นางสาวฌามา กล้าทะเล อายุ 25 ปี ชาวมอแกนชุมชนชัยพัฒน์ กล่าวว่า ครอบครัวตน 6 คนยังไม่มีบัตรประชาชนเช่นเดียวกันโดยพ่อแม่เข้ามาอยู่ประเทศไทยกว่า 40 ปีแล้ว ทุกวันนี้แม้มีบ้านที่ในหลวงพระราชทานให้ตั้งแต่เกิดสึนามิ แต่ก็ยังไม่มีทะเบียนบ้านทำให้ประสบปัญหาต่างๆมากมาย เช่น การเดินทางและความช่วยเหลือต่างๆจากรัฐบาล

On Key

Related Posts

USIPแนะไทยชิงธงนำปราบปรามแหล่งอาชญากรรมริมเมย ชี้มีนาคมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่-จีนจับชิตู เชื่อแดนมังกรต้องการขยายอิทธิพลเปิดช่องให้รัฐบาลทหารพม่ากุมพื้นที่ ขณะที่ 32 เหยื่อชาวอินโดฯหนีข้ามแดนทะลักไทย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 นายเจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำRead More →

แหล่งอาชญากรรมริมเมยป่วนหลังถูกกดดันหนัก มาเฟียจีนพล่าน-ชักไม่มั่นใจกองกำลังกะเหรี่ยงเทา เตรียมฉวยจังหวะช่วงตรุษจีนกลับประเทศ แนะรัฐสบช่องเก็บข้อมูลแก๊งอาชญากร

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 แหล่งข่าวด้านความมั่นคงRead More →

ทัวร์จีนเมืองชายแดนป่วน นักท่องเที่ยวแดนมังกรหายไป 80% ผู้ประกอบการโอดกรุ๊ปทัวร์ยกเลิกแทบเหี้ยน เผยโลกโซเชียลจีนกระหึ่มหวาดกลัวหนัก เชื่อคนหายนับแสนราย ตั้งคำถามทำไมช่วยไม่ได้เหมือน “ซิงซิง”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จาRead More →