
สำนักข่าวสตาร์ออนไลน์ ของมาเลเซียรายงาน เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ประเทศลาว ว่าอยู่ในช่วงระยะสุดท้าย โดยจะดำเนินการติดตั้งหัวปั่นไฟในเดือนมีนาคมนี้และจะเริ่มทดลองผลิตไฟฟ้าช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม นี้
ในข่าวระบุว่า เขื่อนดอนสะโฮง มีความคืบหน้ามากถึง 80 % เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ตามบันทึกของ PubInvest โดยคาดการณ์กังหันดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าในระดับ 600 ลบ/วินาที ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่สูงของโลก โดยเขื่อนดอนสะโฮงมีกังหันผลิตไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่องคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าเชิงพานิชย์ได้ประมาณ 1825 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง โดยจะส่งขายให้กับการไฟฟ้าลาวเพื่อใช้ภายในประเทศและส่วนที่เหลือจะส่งไปขายยังกัมพูชา
“ EDL หรือการไฟฟ้าลาวจะจ่ายเงินให้กับโครงการดอนสะโฮงตามความพร้อมด้านพลังงานและการชำระเงินได้รับการค้ำประกันโดยกระทวงการคลังลาว และเป็นเรื่องที่น่าสังเกตรว่า บริษัทจะได้กำไรที่เพิ่มขึ้นครั้งเดียว(ไม่รวมอยู่ในการคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2019ของเรา) โดยในช่วงระยะการทดสอบงาน 6 เดือนนั้นจะขายหน่วยไฟฟ้าดังกล่าวให้กับลาว”

สำนักข่าวแห่งนี้ยังระบุด้วยว่า คาดการณ์ โครงการเขื่อนดอนสะโองจะสามารถสร้างรายได้ต่อปีประมาณ 400 -450 ล้านริงกิตมาเลเซีย และคิดเป็นกำไร 200 – 260 ล้านริงกิตมาเลเซียตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี
สำหรับธุรกิจหินปูนของบริษัทเมกะเฟิรสท์ งานวิจัย PublicInvest กล่าวว่า จะยังคงเห็นแรงกดดันต่อนเองจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินดอลล่าร์ที่อ่อนค่าลง”
อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจาก 400 เมตริกตัน/วัน เป็น 1960 เมตริกตันต่อวัน หลังจากเสร็จสิ้นการผลิต 8 แห่งในเมืองโกเปง จะช่วยให้บริษัทลดแรงกดดันด้านรายได้และเพิ่มยอดขายขึ้น
อนึ่ง โครงการเขื่อนดอนสะโฮง เป็นเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักแห่งที่ 2 ปิดกั้นฮูสะโฮง ช่องทางปลาผ่านที่สำคัญที่สุดในเขตสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เขื่อนมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 260 เมกะวัตต์ ความสูง 25 เมตร ผู้พัฒนาโครงการคือบริษัท Mega First Coporation Berhad(MFCB) จากมาเลเซีย
เขื่อนดอนสะโฮง เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือนมกราคม ปี 2559 ในระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในทางสากล เนื่องจากเขื่อนสร้างปิดกั้นช่องทางปลาผ่านที่นักวิชาการประมงระบุว่า เป็นช่องทางที่ปลาแม่น้ำโขงอพยพขึ้นล่องตลอดทั้งปี โดยมีรายงานวิชาการระบุว่า มีปลาอพยพมากถึง 30 ตันต่อชั่วโมง และในระหว่างการก่อสร้าง ทางการลาวได้ออกกฎหมายห้ามการทำประมงแบบลี่ ในเขตเมืองโขงทั้งหมด ทำให้ประชาชนในเขตเมืองโขง ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อโลมาอิระวดี ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์ชนิดหนึ่งของลุ่มน้ำโขง รวมถึงผลกระทบข้ามด้านเศรษฐกิจและสังคมข้ามพรมแดนไปยังประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนดังกล่าวเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
——-
ที่มา https://www.thestar.com.my/business/business-news/2019/01/14/mega-first-laos-hydropower-project-in-final-stage-of-completion/#FylQ5s3YG9884362.99