Search

จับตาแผนชาติว่าด้วยธรรมาภิบาลของธุรกิจข้ามพรมแดน


เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่โรงแรมมิโด กทม. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เครือข่ายชุมชนและเครือข่ายภาคประชาสังคมติดตามแผนธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Plan) ได้จัดเวทีความจำเป็นในการประกาศและบังคับใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติ ว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน อาทิ ผู้แทนชุมชนและองค์กรชุมชนด้านแรงงาน ชาวบ้านที่ประสบปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ นักป้องสิทธิ์และการลงทุนข้ามพรมแดน

นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้แทนศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา กล่าวว่า แผนปฏิบัติการระดับชาติ (National Action Plan) ควรจะเป็นแผนที่จะมาตรวจสอบกฎหมาย ว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายนี้หรือไม่ ในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่าวประเทศ หรือ ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิ์ในการรวมตัว และร่วมเจรจาและต่อรอง และเสรีภาพและป้องกันการเลือกปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และการกำหนดให้มีการผลักดันการนำไปปรับใช้สำหรับ การรวมกลุ่มก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่มองว่าเป็นการคัดค้าน โดยการเมือง ต้องไปมองใหม่ ไทยมีปัญหาเรื่องความคิด หากคนคิดไม่ได้ว่าการรวมกลุ่มมีความเข้มแข็ง เพื่อนำพาประเทศ ซึ่งตอนนี้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายหลายครั้ง การแก้ไขกฎหมายต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน จะตรวจสอบในเสาหลักแรกว่า ธุรกิจมีความเคารพสิทธิมนุษยชนแค่ไหนด้านแรงงาน เป็นหน้าที่ของภาครัฐต้องมีอะไรจับต้องได้จริงๆ ว่าการตรวจสอบจะเป็นประเด็นอะไร รายละเอียดในเวทีต่างๆ ที่ได้มีการสะท้อนความคิดเห็น นำข้อคิดเห็นดี ๆ ของประชาชนมาใช้ ไม่ใช่เป็นการโชว์ให้สหประชาชาติ การเคารพสิทธิต้องออกมาจากหัวใจ จะได้ครอบคลุมรอบด้าน ไม่ใช่เกิดเหตุเรื่องนี้ แก้เรื่องนี้

นายสมพล จีรพรชัย ผู้แทนสมาคมพลเมืองนครนายก กล่าวว่ากรณีโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ซึ่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ปั๊มชิ้นส่วน เสียงดังมาก คนที่อยู่รอบก็ย้ายไปหมด ตอนนี้ต่อสู้มา 5 ปีแล้ว โรงงานก็ยังไม่ไปไหน เรื่องเสียงดังกรมโรงงานก็วัดไม่ได้ กรมวิทยาศาสตร์ก็วัดไม่ได้ และกรมควบคุมมลพิษก็วัดไม่ได้ ตอนนี้อบต.อยู่ระหว่างดำเนินการ ว่าส่งให้สำนักงานที่ดินตรวจสอบว่าทับทางสาธารณะแค่ไหน ตั้งแต่สร้างโรงงานไม่มีใบอนุญาตที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นางสาวจินดารัตน์ เพิ่มลาภวิรุฬห์ ผู้แทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า ประเทศไทยมีกฎหมายมากมาย แต่ใช้ม.44 แทรกแซงในกฎหมายสิ่งแวดล้อมทำให้พรบ.สิ่งแวดล้อม มาตราหนึ่งบอกว่า ในการอนุมัติอนุญาตอะไรก็ตาม EIA รอพิจารณาไปก่อน ประมูลโครงการไปก่อน ซึ่งต้องประเมินผลกระทบก่อนไม่ใช่เดินหน้าไปเรื่อย ๆ มองว่ามีอำนาจเหนือกฎหมาย ดังนั้นแผนปฏิบ้ติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนดังกล่าวต้องไปคานอำนาจนั้น

นางสาวดรุณี ไพศาลพานิชยกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา ที่อยู่ในสปป.ลาว ในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับผลกระทบข้ามพรมแดน หรือกฎหมายที่กำกับกับการจัดการผลกระทบข้ามพรมแดนตั้งแต่รัฐธรรมนูญ จนถึงกฎหมายอื่นๆ แต่ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับกฎหมายของลาวมีการพูดถึงการจัดการผลกระทบข้ามพรมแดน

นางสาวสุธารี วรรณสิริ นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า ปัญหาที่พบคือ หากมีการนำแผนปฎิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนมาใช้ หลัก ๆ คือ การออกกฎหมายที่นักปกป้องสิทธิ์พบว่า ตัวกฎหมายเองเป็นที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพ ในมาตรา 326-328 กฎหมายหมิ่นประมาท และประมวลกฎหมายอื่นๆ รวมถึงพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็เป็นการใช้คุกคามหรือปิดปาก หรือพรบ.ชุมนุมสาธารณะ ที่ถูกนำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพเอง อย่างกรณีเหมืองทองคำเลย หรือ กรณีเทพา หรือเครือข่ายต่าง ๆ ที่มาในกทม. ก็ถูกตำรวจบังคับใช้ในลักษณะนี้

ขณะที่ตัวแทนจากกรมคุ้มครองสิทธิกล่าวว่า กระบวนการของแผนปฎิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP) ต่อไปคือ หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตั้งแต่วันนี้ – 15 มีนาคม ทางออนไลน์ หลังจากนั้นจะปรับปรุงร่างฉบับสุดท้ายและเสนอต่อสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งโดยหลักการสภาพัฒน์ฯ จะใช้เวลาในการพิจารณา 30-45 วัน หลังจากนั้นจะมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และประกาศใช้ต่อไป

นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า ร่างนี้เนื้อหาอาจจะยังไม่ครบถ้วนตามความต้องการของพวกเรา และยังมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อร่างนี้ช่วง 1 เดือนในการปรับปรุงร่างของกรมคุ้มครองสิทธิ์ และวงของการพิจารณาของสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและร่วมกันผลักดันให้ข้อเสนอที่จำเป็นของพวกเรา ได้ถูกประกาศไว้ในแผนดังกล่าว และควรผลักดันประกาศใช้แผนภายในกลางปีนี้ ดังที่ได้ตัวแทนของรัฐบาลได้ประกาศในเวที UN Business and Human Rights ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปลายปีที่แล้ว และเห็นว่าหลายประเทศทั่วโลกกำลังจับตาอยู่ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยภาครัฐในภูมิภาคอาเซียน

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →