สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ระนองโมเดล-ต้นแบบแก้ปัญหาสัญชาติหลายฝ่ายร่วมเร่งพิสูจน์สถานะคนไทยพลัดถิ่น อธิบดีกรมการปกครองลุยพื้นที่-นักศึกษา ม.รังสิตช่วยเก็บข้อมูล

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง อ.เมืองระนอง กรมการปกครองร่วมกับเครือข่ายการแก้ปัญหาสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น มหาวิทยาลัยรังสิต คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มูลนิธิชุมชนไท ได้จัดโครงการพิสูจน์สิทธิคนไทยพลัดถิ่น โดยนายอาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครองเป็นประธานมอบบัตรประชาชนให้ชาวบ้านกว่า 70 คนซึ่งมีทั้งคนไทยพลัดถิ่นและชาวมอแกน

ทั้งนี้ ภายในงานคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตกว่า 30 คนช่วยเหลือชาวบ้านกรอกแบบสำรวจข้อมูล รวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆก่อนที่จะยื่นคำร้องให้อำเภอ มีชาวบ้านไทยพลัดถิ่นจำนวนนับร้อยเดินทางมาดำเนินเรื่อง บางคนทำเรื่องมาแล้วนับ 20 ปี บางคนถูกหน่วยชื่อออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

นายอาทิตย์ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากพิธีมอบบัตรประชาชนว่า การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลที่หลายฝ่ายร่วมมือกันโดยเฉพาะการให้นักศึกษามาร่วมบันทึกข้อมูล ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานรวดเร็วขึ้น รูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่จังหวัดระนองในครั้งนี้จะเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ในพื้นที่อื่น ซึ่งจริงๆแล้วในกรณีที่รายใดยังติดขัดอยู่เล็กๆน้อยๆก็ควรดำเนินการไปก่อน เช่นเดียวกับครอบครัวใดที่ยังมีปัญหาอยู่ อาจยื่นเรื่องแค่ของพ่อแม่ เพราะหากพ่อแม่ได้แล้วลูกก็ได้

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีทุจริตเรียกเก็บเงินจากผู้ขอคืนสัญชาติจะดำเนินการอย่างไร อธิบดีกรมการปกครองกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ทุจริตยากแล้ว เพราะใช้ระบบอิเลคทรอนิคเข้ามาช่วย ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่เกิดมาก่อนหน้านี้ และใครที่ทุจริตไม่มีทางรอดพ้นได้ในยุคนี้

นางสุนี ไชยรส อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการขอคืนสัญชาติเป็นไปอย่างชักช้าเพราะมีจำนวนมากที่ไปกองอยู่บนอำเภอ ปัจจุบันตัวเลขของคนไทยพลัดถิ่นที่ไปลงทะเบียนไว้กับทางการมีด้วยกัน 18,000 คน แต่ได้ดำเนินการไปแล้ว 10,000 คน เหลืออีก 8,000 คนที่ยังค้างอยู่ บางส่วนถูกจำหน่วยชื่อแบบเหมารวมโดยที่เจ้าตัวไม่รู้เรื่อง บางกลุ่มก็ผิดหลง สิ่งที่ทางการต้องเร่งแก้ไขคือคนที่ยังตกค้างอยู่จำนวนมาก จำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกัน ขณะเดียวกันในส่วนของผู้ที่ถูกจำหน่ายซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ยื่น ก็ควรมีการปลดล็อคให้คนกลุ่มนี้ดำเนินการได้

นางมีน๊ะ ขุนภักดี ชาวบ้านตำบลปากน้ำ อ.เมืองระนอง ซึ่งเป็นคนไทยพลัดถิ่น กล่าวว่า ครอบครัวเข้ามาอยู่ฝั่งไทยตั้งแต่ปี 2538 จนปัจจุบันตนกับสามีได้บัตรประชาชนแล้ว แต่ลูกๆอีก 5 คนซึ่งกำลังเรียนหนังสืออยู่ยังไม่ได้บัตร เมื่อสอบถามไปที่อำเภอก็ได้รับคำตอบว่าหลักฐานยังไม่ครบ และลูกชายคนหนึ่งถูกจำหน่ายชื่อทำให้รู้สึกเป็นห่วงเพราะต่างรอกันมานานแล้ว


ด้านนายโซไอซ์ ปาทาน นักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตนและครอบครัวเป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่มีบัตรประชาชน แต่มีโอกาสได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรังสิต รู้สึกภูมิใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการกับเพื่อนๆนักศึกษาในการเก็บข้อมูลให้ชาวบ้านพลัดถิ่นที่พิสูจน์สถานะทำให้ช่วยเร่งรัดกระบวนการให้เร็วขึ้น เพราะพี่น้องมักไม่เข้าใจเรื่องเอกสารที่เตรียมไว้ยื่นและมักไม่ครบถ้วน

“ผมเกิดในประเทศไทย แต่พ่อแม่ข้ามมาจากมะริด-ทวาย พอเขาเห็นหน้าผมเหมือนแขก เขาก็ตัดสินแล้วว่าผมไม่ใช่ไทยพลัดถิ่น ทำให้ครอบครัวผมยังไม่ได้บัตรประชาชนไทย ทั้งๆที่ยื่นเรื่องมาแล้ว 17 ปีตั้งแต่รุ่นพ่อ” นายโซไอซ์ กล่าว

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →