Search

เตรียมตั้งกลไกดูแลการลงทุนไทยในต่างแดน ชง ครม.อนุมัติแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ที่สำนักงานกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ร่วมหารือกับตัวแทนชาวบ้านเมืองทวาย ประเทศพม่าซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างถนนสองช่องทางเชื่อมต่อระหว่างโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และด่านชายแดนที่บ้านพุน้ำร้อน จ. กาญจนบุรี พร้อมรองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยได้รับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้าน ที่เสนอแนะให้มีการดำเนินการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการลงทุนของผู้ลงทุนสัญชาติไทยในโครงการดังกล่าว หลังจากที่โครงการได้หยุดชะงักไป และกำลังจะมีการดำเนินการต่อภายใต้การสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 4.5 พันล้านบาท ของรัฐบาลไทย ผ่านสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.)

นายซอ เคโดะ หนึ่งในตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการถนนตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งทางบริษัทเข้าทำโครงการโดยไม่บอกกล่าวชาวบ้านและมีการนำเครื่องจีกรหนักเข้าไปทำลายพื้นที่สวน พื้นที่ผ่าไม้ และพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนในหลายแห่ง จนชาวบ้านเดือดร้อนและออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจากการดำเนินโครงการที่ขาดความรับผิดชอบ

“พวกเราต้องการความชัดเจนจากทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาโครงการว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะรับผิดชอบอย่างไรต่อผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นไปแล้วทั้งด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หากจะมีการดำเนินโครงการเกิดขึ้นอีกในอนาคตก็ขอให้มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แต่เดิมก่อน โครงการถนนและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างรอบด้าน” นายอูเยอ่อง กล่าว

นายสามารถ กล่าวว่ายินดีรับเรื่องร้องทุกข์ไว้ เนื่องจากเป็นหนึ่งในนโยบายภายใต้กรอบวาระแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน สอดรับกับนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และยินดีอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา

ขณะที่นางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่าในส่วนการดำเนินการของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในปัจจุบันได้มีการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมีการกำหนดให้จัดตั้งกลไกการกำกับดูแลการลงทุนของผู้ลงทุนสัญชาติไทยในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจนั้น ทางหน่วยงานมีหน้าที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP) ซึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมพิจารณาก่อนจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไปภายในอีกไม่กี่วันนี้ โดยประเด็นการลงทุนของบรรษัทข้ามชาตินั้น ถือเป็น 1 ใน 4 ประเด็นหลักที่ต้องมีการแก้ไขเร่งด่วน (ประเด็นอื่น ได้แก่ แรงงาน, ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน) ที่ถูกบรรจุไว้ในแผนฯ

นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า จะติดตามการดำเนินการในชั้นคณะรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด และจะประสานงานเพื่อหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาจัดตั้งกลไกการกำกับดูแลการลงทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนจัดการอบรมเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้กับเจ้าหน้าที่การทูตเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจด้วย

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →