
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ชาวบ้านกลุ่มฮักน้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย เข้ายื่นหนังสือถึงนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ในระหว่างการประชุมคณะทำงานบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย เพื่อดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมโครงการชลประทานจังหวัด ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย โดยชาวบ้านเห็นว่าควรชะลอการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานอนุรักษ์ฯ ดังกล่าวข้างต้นออกไปก่อน จนกว่าจะมีการดำเนินการตามข้อเสนอที่กรมชลประทานและกลุ่มฮักเลยมีร่วมกัน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งกรมชลประทาน ได้ตอบรับข้อเสนอของกลุ่มฮักแม่น้ำเลย ทั้งนี้การลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนอกเหนือจากการจัดเวทีสาธารณะและการตั้งคณะกรรมการศึกษาตามข้อเสนอแล้ว ข้อตกลงที่สำคัญที่มีร่วมกันคือ การยุติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักฯ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้กลุ่มฮักแม่น้ำเลยเรียกร้องให้ กรมชลประทานชะแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ออกไปก่อน ขอให้ตระหนักถึงความกังวลใจของกลุ่มชาวบ้านที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการ และแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยเคารพข้อตกลงที่มีร่วมกันระหว่าง กลุ่มฮักแม่น้ำเลยกับกรมชลประทาน การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก โดยต้องดำเนินการจัดเวทีสาธารณะและการดำเนินการศึกษาของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อเสนอได้แล้วเสร็จไปแล้ว ตั้งอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

หลังจากยื่นหนังสือถึงตัวแทนของกรมชลประทานแล้ว ตัวแทนกลุ่มฮักน้ำเลยไม่ได้เข้าร่วมการประชุมด้วยเนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่เคยร่วมประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา และเดินทางไปยื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.เลยเพิ่มเติม สำหรับความคืบหน้าล่าสุดนั้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มฮักน้ำเลยได้เดินทางไปชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดเลยและได้มีการเปิดประชุมและยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผ่าน 3 ข้อประกอบด้วย 1 กำชับให้ สั่งการให้ กรมชลประทานจัดเวทีสาธารณะเพื่อหาทางออกจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และตั้งคณะกรรมการศึกษาถึงความคุ้มค่าของโครงการฯ มานําเสนอในเวทีสาธารณะดังกล่าว โดยรูปแบบของการจัดเวทีต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มชาวบ้าน ส่วนราชการ และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง 2.ขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 58 ของโครงการ ประตูระบายน้ำศรีสองรัก อ.เชียงคาน จ.เลย ที่ครอบคลุมชุมชนลุ่มน้ำเลย 74 หมู่บ้าน ที่ตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำเลยตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง และ 3. ขอให้ออกคําสั่งให้กรมชลประทานยุติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการประตูระบาย น้ำศรีสองรัก อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดําเนินโครงการฯ โดยผู้อํานวยการสํานักพัฒนาโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ได้ลงนามในบันทึกข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะดำเนินการข้อ 1 และ 2 ภายใน 30 วัน ส่วนข้อที่ 3 จะนำไปหารือกับส่วนที่เกี่ยวข้อง ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร และมีการลงพื้นที่เพื่อดูความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการร่วมกับกรมชลประทานและได้กำหนดการประชุมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดจึงไม่สามารถจัดประชุมได้ ต่อมาจึงมีการนัดประชุมคณะกรรมการดังกล่าวแต่ไม่ได้มีวาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลกระทบของโครงการ

โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เชียงคาน จ.เลย คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทาน มีแผนการดำเนินงาน 6 ปี ในปีงบประมาณ 2661-2566 ด้วยวงเงินทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท ลักษณะของโครงการนั้นประกอบด้วยประตู (ช่องลัด) ระบายน้ำประเภทบานตรง ขนาดระบายกว้าง 15 .00 เมตร สูง 1,320 เมตร จำนวน 5 ช่อง ประตูระบายน้ำเดิม (แม่น้ำเลย) ประเภทบานตรง กว่าง 10.00 เมตร สูง 12.50 เมตร จำนวน 2 ช่องระบบส่งน้ำยาวประมาณม 99 กม. มีสถานีสูบน้ำ 5 สถานีบริเวณก่อสร้างหัวงาน คือ ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน เพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 72,500 ไร่ และฤดูแล้ง 18,100 ไร่ ครอบคลุม 7 ตำบล คือ เชียงคาน