Search

ชาวบ้านเนินมะปรางมึนกมธ.ปลุกผีเขื่อนกั้นคลองชมพูอีก-ชุมชนรวมตัวขวางห้ามเข้าพื้นที่ ชี้ผลประโยชน์แอบแฝงของนักการเมือง

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 นายโม คำคูณ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู ต.ชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำ เตรียมลงพื้นที่และรับฟังความเห็นเกี่ยวกับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองชมพู หรือโครงการเขื่อนคลองชมพู ซึ่งเดิมรัฐบาลประกาศยกเลิกโครงการนี้ไปแล้วในปี 2557 ทำให้ชาวบ้านมีความเคลือบแคลงว่าเหตุใดจึงมีการผลักดันการสร้างเขื่อนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเย็นวานนี้ชาวบ้านชุมชนชมภูได้ไปรวมตัวประชุมหารือกันที่วัดชมภู ได้ข้อสรุปว่าจะยืนยันคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนคลองชมพูตามจุดยืนเดิมของชุมชน เนื่องจากเกรงผลกระทบต่อผืนป่าลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ที่เป็นแหล่งอาศัยของจระเข้น้ำจืดตามธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธ์ และยังมีความหลากหลายทางนิเวศธรรมชาติที่ไม่เหมือนที่ใด มีพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่นที่บ่งชี้ความสมบูรณ์ของผืนป่าต้นน้ำ

“ชาวบ้านสรุปกันแล้วว่าจะไม่ยอมให้คณะกรรมาธิการผ่านหมู่บ้านไปยังพื้นที่สร้างเขื่อน เพราะโครงการนี้ถูกประกาศยกเลิกไปหลายครั้งแล้ว แต่กลุ่มอิทธิพลที่ตอนนี้มีตำแหน่งทางการเมืองเข้าไปผลักดันในสภา ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าน่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะผู้ผลักดันเป็นเครือญาติกับกลุ่มสัมปทานโรงโม่หินที่ถูกชาวบ้านคัดค้านการทำเหมืองหินจนต้องยุติการระเบิดหินและต่อมาหมดสัมปทานไป” นายโม กล่าว

นายโม กล่าวต่อว่า หากมีการก่อสร้างเขื่อนผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการคือกลุ่มสัมปทานโรงโม่หินเก่า ซึ่งอยู่ในเครือข่ายของกลุ่มการเมือง เพราะจากข้อมูลอีไอเอฉบับเดิมการก่อสร้างจะต้องใช้หินจากแนวเทือกเขาป่าแดงรังกาย และพื้นที่ในเขตสัมปทานเหมืองแร่ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของกลุ่มนักทำเหมืองหิน นอกจากนี้จะสร้างผลกระทบอย่างหนักทั้งจากการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำ และการทำเหมืองหินอย่างแน่นอน

นายโม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมากลุ่มอิทธิพลที่ผลักดันเขื่อนได้เข้าไปสร้างมวลชนในพื้นที่กลางน้ำและท้ายน้ำมาโดยตลอด โดยให้ข้อมูลว่าเขื่อนจำทำให้มีน้ำเพิ่มขึ้นในการทำเกษตรโดยเฉพาะในหน้าแล้ง จึงต้องการชี้แจงกับคนท้ายน้ำว่า หากมาดูในพื้นที่ต้นน้ำจะเห็นว่า พื้นที่คลองชมพูเป็นแหล่งบ่อเกลือใต้ดินขนาดใหญ่ ในหน้าแล้งน้ำในคลองเหลือน้อยจนบางช่วงมีรสกร่อย หากสร้างเขื่อนน้ำจะแช่อยู่บนบ่อเกลือเป็นเวลานานจะมีค่าความเค็มสูง คงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในภาคเกษตร อีกทั้งผืนป่าขนาดใหญ่จะต้องจมน้ำ นั่นคือการสูญเสียแหล่งต้นน้ำหรือแหล่งผลิตน้ำตามธรรมชาติ ดังนั้่นจึงควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ำ เช่น อาจทำเป็นฝายขนาดเล็กในพื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำ และเก็บรักษาต้นน้ำไว้ น่าจะเป็ทางออกที่เหมาะสมมากกว่า

ทั้งนี้ โครงการเขื่อนคลองชมพูขนาด 86.26 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ถูกประกาศยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่กรมชลประทานพยายามผลักดันโครงการเขื่อนหลายแห่งผ่านคณะกรรมาธิการฯ โดยอ้างความจำเป็นที่ต้องมีแหล่งน้ำทั้งๆ ที่ชาวบ้านคัดค้านมาโดยตลอด


On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →