Search

คนเมืองจันท์ฮือค้านเหมืองทอง-จี้ถอนชื่อออกจากแผนยุทธศาสตร์ นักการเมืองท้องถิ่น-กำนันผู้ใหญ่บ้าน-ภาคธุรกิจ-ภาคประชาชนจับมือต้าน

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ชาวบ้านและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ในอำเภอต่างๆของจังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะจากอำเภอแก่งหางแมว ประมาณ 3,000 คนได้นัดรวมตัวกันที่บริเวณศาลากลางจังหวัดเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพื่อคัดค้านการยืนขออาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำทั้งหมดในจังหวัดจันทบุรี โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จังหวัดจันทบุรี ได้รับจดทะเบียนคำขออาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำของบริษัทริชภูมิ จำกัด เนื้อที่ 14,650  ไร่ ที่ตำบลพวาและตำบลสามพี่น้อง อำเภอแก่งหางแมว และได้มีการปิดประกาศขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อให้เป็นไปตามประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานฯ

ในหนังสือระบุว่า จากการประชุมร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาชนในจังหวัดจันทบุรีเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้มีมติคัดค้านการดำเนินการของบริษัทดังกล่าว เพื่อป้องกันอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชุมชนและประชาชนอย่างรุนแรงทั้งทางสุขภาพ และผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดจันทบุรีโดยมีเหตุผลประกอบดังนี้

1.จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองแห่งความสุข น่าอยู่ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งผลิตผลไม้และสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งซื้อขายและเจียระไนอัญมณีที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์การค้าเชื่อมต่อการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา และเชื่อต่อจากประเทศกัมพูชาไปยังประเทศลาว เวียดนามและจีน สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนจันทบุรีและประเทศชาติ เราจึงได้กำหนดเป็นแผนพัฒนาจังหวัดภายใต้วิสัยทัศน์ “จันทบุรีเมืองเกษตรปลอดภัย เศรษฐกิจมูลค่าสูง สังคมมีความสุขบนวิถีพอเพียง”

2.กระบวนการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและประชาชนอย่างรุนแรงตั้งแต่การระเบิดหิน การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลและไม่อาจฟื้นคืนสภาพดังเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้น ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆตามมา ยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินงานของเหมืองแร่ทองคำมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษในปริมาณมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารไซยาไนต์ ซึ่งที่ผ่านมาในจังหวัดที่มีการเปิดเหมืองทองคำ ชุมชนและประชาชนประสบปัญหาดังกล่าวอย่างรุนแรง และยังไม่ได้รับการแก้ไขเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม

“พวกเราขอคัดค้านการออกอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำ ตามประกาศกรมอุตสหากรรมพื้นฐานฯและขอเรียกร้องให้ถอนรายชื่อจังหวัดจันทบุรีออกจากการเป็นเขตแหล่งแร่ทองคำเพื่อการทำเหมืองตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ.2560-2564 ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนและเกิดผลในทางปฎิบัติ”หนังสือระบุ

ทั้งนี้หนังสือดังกล่าวมีผู้ลงนามคัดค้านประกอบด้วย 1.นายธนภณ กิจกาญจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2.นายเฉลิมพล ศักด์คำ ประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดจันทบุรี 3.ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมการค้าและท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา 4.นายศิริพงษ์ ศรีงาม นายกสมาคมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดจันทบุรี 5.นายธิติ เอกบุญยืน ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี 6.นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี 7.นายสุวิชาณ สุวรรณาคะ นายกสมาคมพัฒนาการเมืองไย และ 8.นายอำนาจ ชูสนุก ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจันทบุรี

———————

On Key

Related Posts

ผวาเหมืองทองเกลื่อนน้ำกก กองกำลังว้าจับมือจีนขุดแร่ทำลำน้ำขุ่น ชาวท่าตอนผวาเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลไทยปกป้อง หวั่นสารพิษปนเปื้อนลงสายน้ำแหล่งประปาของคนเชียงราย

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 น.ส.หอม ผู้ประสานงานมูลRead More →

เพลงชาติกะเหรี่ยงดังกระหึ่มแม่น้ำสาละวินหลังปลอดทหารพม่าในรอบกว่า 20 ปี ชาวบ้าน 2 ฝั่งแดนร่วมจัดงานวันหยุดเขื่อนคึกคักหลังพื้นที่ปลอดทหารพม่า “ครูตี๋”ใช้บทเรียนแม่น้ำโขงถูกทำลายปางตายแนะชุมชนสู้

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่บริเวณหาดทรายริมแม่นRead More →