สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

Search

รวมญาติชาวเลครั้งที่ 11 สร้าง “หลีเป๊ะ”ต้นแบบเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

เรื่องโดย ไมตรี จงไกรจักร์ ,  วิทวัส  เทพสงค์ 
ภาพโดย จารยา บุญมาก

ชาวเลเป็นกลุ่มคนดั้งเดิม(กลุ่มชาติพันธุ์หรือชนเผ่าพื้นเมือง)ที่อาศัยอยู่ชายฝั่งประเทศไทยก่อนมีประเทศสยาม  เท่าที่พอมีหลักฐานยืนยันพบว่าอยู่กันมามากกว่า 1,300 ปี โดยปัจจุบันมีชาวเลอยู่ประมาณ 14,000 คน ใน 5 จังหวัดอันดามัน  ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ “มอแกน” อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งแถบระนอง และพังงา “มอแกลน” อาศัยอยู่ในจังหวัดพังงา และตอนเหนือของเกาะภูเก็ต และ “อูรักลาโว้ย” มีเมืองหลวงที่บันทึกไว้ คือเกาะลันตา นอกจากนั้นกระจัดกระจายอยู่แถวภูเก็ต และสตูล 

         

ชาวเลส่วนใหญ่เป็นเครือญาติเชื่อมโยงและไปมาหาสู่กันตลอด แต่ปัจจุบันเมื่อมีกฎหมายได้เกิดข้อจำกัดในการเดินทาง และการล่องเรือหากันเป็นเรื่องยากขึ้น สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ชาวเลจึงได้เสนอนโยบาย กับรัฐบาล ให้มีมติ คณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 ให้ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ขึ้นโดยให้มีวันรวมญาติชาวเลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประกอบกับการอยู่อาศัยของชาวเล ที่อยู่ริมทะเล เกาะแก่งเป็นหลัก โดยไม่ยึดถือครอบครองที่ดิน จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้เอกชนฟ้องร้องขับไล่ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ของรัฐแต่กลับเข้าไม่ถึงการพัฒนา บางส่วนอยู่ตามเกาะแก่งแต่หากินไม่ได้เพราะติดระเบียบกฎหมาย และกติกาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  สถานการณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเบียดขับกลุ่มชาติพันธุ์โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

   

ชุมชนชาวเล “อิซักกาอู้” หรือ”สังกาอู้” ชุมชนนี้ตั้งอยู่ ม.7 ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ พวกเขาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อนจะกลายเป็นเส้นทางการค้าทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าเป็น “เมืองหลวง” ของชาวอูรักลาโว้ย เพราะเป็นถิ่นแรกๆ ที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร และเป็นชุมชนที่มีญาติพี่น้องทยอยกันเข้ามาอยู่เป็นชุมชนใหญ่ จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส และจากชื่อภูมินามบริวณรอบหมู่เกาะลันตาที่เป็นภาษาอูรักลาโว้ย ล้วนบ่งบอกว่าชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประมาณ 500 ปีก่อน. แต่ด้วยวิถีเร่ร่อนหากินทางทะเลที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยไม่มีการจับจองพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานถาวร อาศัยพักพิงชั่วคราวตามชายฝั่งทะเลเฉพาะช่วงฤดูมรสุม เมื่อกลับมาแหล่งเดิมจึงมักถูกคนกลุ่มอื่นเข้ามายืดครอง ชาวอูรักลาโว้ยจึงต้องหาแหล่งพักพิงใหม่ไปเรื่อยๆ ชาวอุรักลาโว้ยเรียกเกาะลันตาว่า “ชาตั๊ก”

   

แต่ต่อมาชาวอูรักลาโว้ยทยอยย้ายจากหัวแหลมมาที่นี่ ตั้งแต่ประมาณ พศ. 2360 หรือนับได้ประมาณ 8 ชั่วอายุคนมาแล้ว เนื่องจากเป็นถิ่นอาศัยมานาน ชาวเลจึงกระจายตัวไปอยู่อาศัยและทำมาหากินรอบเกาะ และมีพิธีสำคัญคือ งานลอยเรือที่ชุมชนต่างๆ จะรวมตัวฉลองร่วมกัน

    ปัจจุบันพื้นที่ธรรมชาติบริเวณนี้ของเกาะลันตาค่อยๆถูกจับจองสร้างเป็นสถานที่รับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นๆ ทุกปีชาวอูรักลาโว้ยที่นี่ได้เคยประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษ (บริเวณศูนย์วัฒนธรรมชาวเลสังกาอู้)​ ตามมติครม.เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล 2 มิถุนายน 2553 โดยมีบ้านร็องเง็งและพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวของชุมชน ส่วนด้านการรองรับการท่องเที่ยว

    ขณะที่ชาวเล “เกาะหลีเป๊ะ” เป็นชุมชนดั้งเดิม ที่อาศัยอยู่บนเกาะ มานานกว่า 150 ปี ก่อนสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งอาณาเขตประเทศสยามในขณะนั้น ข้าหลวงแห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนกลางในการปักปันเขตแดนประเทศสยาม กับประเทศมาเลเซีย

    “เราอยู่ประเทศสยาม” คือคำตอบของชาวเลบนเกาะในยุคนั้น ที่บันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุ จับใจความได้ว่า เราได้เกาะหลีเป๊ะเป็นของประเทศไทยมาถึงปัจจุบัน เพราะการที่มีคนบนเกาะอาศัยอยู่ แต่วันนี้ชาวเลเกาะหลีเป๊ะกว่า 125 ครัวเรือน กลับไม่มีที่อยู่อาศัยเลย ไม่มีสิทธิในที่ดิน ส่วนท้องทะเลก็เป็นไปเพื่อการท่องเที่ยวเป็นหลัก ชาวเลได้แค่หากินประทังชีวิตด้วยการทำลอบ ตกปลา ปัญหาคุณภาพชีวิตชาวเลที่นี่ย่ำแย่ลงมาก จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งการแย่งชิงที่ดิน การฟ้องร้องขับไล่ การข่มขู่คุกคาม การใช้ช่องทางกฎหมายแบ่งปันที่ดิน แย่งชิงด้วยกลวิธีต่างๆ ซึ่งชาวเลไม่สามารถรู้เท่าทันจึงสูญเสียที่ดินไปเกือบหมด

    งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2563 มีเป้าหมาย ที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่ห่างไกล เราต้องการสื่อสารกับผู้บริหารนโยบายประเทศ   ให้เห็นปัญหาชาวเล เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวเล การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่จะทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นโมเดล ในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันกฎหมาย ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ ร่วมกัน โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย

        1.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เป็นประธานจัดงาน และบันทึกความร่วมมือในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2553  โดย ทส.ยังเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ซึ่งกรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  สนับสนุนพาเครือข่ายเข้าร่วมงาน 

         2.รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ลงมาร่วมงาน และเป็นเจ้าภาพร่วม พร้อมบันทึกความร่วมมือในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและขับเคลื่อน เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเล

         3.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นเจ้าภาพหลัก ในการประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ศิลปิน ลงพื้นที่ และการสนับสนุนการเตรียมการจัดงานต่างๆ ผ่าน มูลนิธิชุมชนไท และบันทึกความร่วมมือในการเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายชาติพันธ์

        4.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(อค์การมหาชน) ร่วมสนับสนุนในการจัดงาน และลงบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลอย่างยั่งยืน ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและอื่นๆ

        5.สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯเป็นภาคีด้านวิชาการ และบันทึกความร่วมมือในการจัดทำข้อมูลทางวิชาการ เพื่อการขับเคลื่อเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมร่วมกัน

        6.มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จะประสานเครือข่ายกะเหรี่ยงเข้าร่วมงาน และบันทึกความร่วมมือการเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ภาคเหนือ และอื่นๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

       7. มูลนิธิชุมชนไท เป็นองค์กรเลขาในการจัดงานสนับสนุนเครือข่ายชาวเล และร่วมเป็นเลขาขับเคลื่อนนโยบายต่างๆพร้อมการสนับสนุนกระบวนการยกร่างกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แบบมีส่วนร่วม และเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายชาวเลในอันดามัน

        8.เครือข่ายชาวเลอันดามัน ถือเป็นเจ้าภาพหลัก ที่ต้องปฎิบัติการขับเคลื่อทุกอย่างให้เป็นจริง  โดยลงบันทึกความร่วมมือไว้ด้วยกัน

    9.เครือข่ายกะเหรี่ยงในฐานะภาคีขับเคลื่อนกฎหมายเข้าร่วมงานและบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกัน ส่วนสำนักงานกรรมกาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและสนับสนุนสนับสนุนงบประมาณจัดงาน โดยสก.สว.ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยชุมชนเพื่อเตรียมเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

      กิจกรรมในงาน รัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงและคณะ จะลงพื้นที่ รับฟังปัญหา และสภาพพื้นที่จริงตั้งแต่เช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน ก่อนชมนิทรรศการและเปิดงานอย่างเป็นทางการ. จากนั้น ภาคีทั้ง 9 องค์กรจะลงบันทึกความร่วมมือกัน ภายใต้เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งการศึกษา รวบรวมข้อมูล วิชาการ เพื่อแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์

    เครือข่ายชาวเลอันดามันจากทุกจังหวัดเข้าร่วมงานนี้กว่า 300 คน เครือข่ายกะเหรี่ยง เครือข่ายชุมชน เครือข่ายภาครัฐ และส่วนต่างๆของสังคม พร้อมเข้าร่วมเรียนรู้มากกว่า 300 คน. และชาวเลเกาะหลีเปะ อีก 1,200 คน ร่วมเป็นเจ้า

———————-

On Key

Related Posts

ครูฝึกตำรวจมาเลเซียหวิดตกเป็นเหยื่อมาเฟียจีน-ขบวนการค้ามนุษย์ หลอกมาเที่ยวไทย เตรียมนำตัวข้ามน้ำเมยสู่แหล่งอาชญากรรมเมืองเมียวดี แต่ฉุกคิดเลยขัดขืน-วิ่งหนีให้ตำรวจพบพระช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 นายอาฟาด (นามสมมุติ) Read More →

“ครูแดง”ชี้มติ ครม.ลดขั้นตอนให้สัญชาติ 4.8 แสนคนถือว่าปฎิรูประบบพัฒนาสถานะบุคคล จี้สมช.-มท.ออกกม.เร่งช่วยคนเฒ่าไร้สัญชาตินับแสนคนที่กำลังเปราะบาง พ่อเฒ่าแม่เฒ่ากลุ่มชาติพันธุ์คึกคักสอบสัมภาษณ์ขอสัญชาติไทย เผยอยู่ไทยร่วม 50 ปีแต่ไม่มีบัตรประชาชน

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ที่ห้องประชุมธรรมลังกRead More →

เหยื่อทวงคืนผืนป่า “ป้าวันเสาร์” ห่วงชาวบ้านหนองหญ้าปล้องถูกจับบุกรุกป่า ด้าน กมธ.ที่ดินฯ ชี้ควรเร่งสำรวจที่ดินร่วมกับชุมชนรอบป่าแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Read More →

“กัณวีร์”จี้รัฐบาลเร่งช่วยเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ 110 คนจากแหล่งอาชญากรรมริมน้ำเมย แฉฟรีวีซ่าจีนกลายเป็นช่องทางข้ามไปคาสิโน ระบุรัฐบาลไทยตกหล่มรัฐบาลทหารพม่า เหยื่อชาวบังคลาเทศวอนรัฐบาลช่วยเหลือด่วน เผยจีนเทาสุดโหด

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายกัณวีร์ สืบแสง สส.พรRead More →