สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

เผยทหารพม่าโจมตีหมู่บ้านในเขตอุทยานสันติภาพสาละวิน ร้อง UN ดำเนินการด่วน-ป้องกันการสังหารเพิ่ม

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 อุทยานสันติภาพสาละวิน (Salween Peace Park) ในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ซึ่งเป็นการรวมตัวของชุมชนในลุ่มน้ำสาละวินที่จัดตั้งพื้นที่ในการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งอยู่บนผืนป่าริมแม่น้ำสาละวิน ตรงข้าม อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และได้รับรางวัล Equator Prize เมื่อปี 2563 ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่ทหารพม่าโจมตีหลายหมู่บ้านในเขตอุทยานสันติภาพสาละวิน ว่าเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564 ทหารพม่าได้ทำการโจมตีทางอากาศ ในเขตเดปูโหน่ รัฐกะเหรี่ยง ในอุทยานสันติภาพสาละวิน เพื่อแสดงแสนยานุภาพทางทหารของทหารพม่า เหตุการณ์นี้มีเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์เข้ามาในเวลาประมาณ 15.30 น. เครื่องบินรบของทหารพม่า 2 ลำทิ้งระเบิด 9 ลูกและยิงปืนอัตโนมัติจากเครื่องบินตั้งแต่เวลา 19.30 น. จนถึงเที่ยงคืน ชาวบ้าน 3 คนเสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศ 7 คนบาดเจ็บสาหัส บ้านเรือนและอาคารหลายหลังได้รับความเสียหาย

แถลงการณ์ระบุว่า เช้าวันรุ่งขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ทหารพม่าได้ทำการโจมตีทางอากาศอีกครั้งในหมู่บ้านตะกอโต่บอ ซึ่งอยู่ห่างจากเดปูโหน่ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 12 ไมล์ ในวันเดียวกันเวลาประมาณ 15.00 น. เครื่องบินขับไล่สี่ลำบินเหนือเด่ปูโหน่ จากนั้นมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำสาละวินซึ่งไหลเลียบชายแดนไทย – พม่า เครื่องบินขับไล่เหล่านี้ได้โจมตีหมู่บ้านบางแห่งในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ บ้านแม่นึท่า และซิกอท่า

ผลจากการโจมตีเหล่านี้ทำให้ชาวบ้านได้หลบหนีเข้าไปในป่าเพื่อซ่อนตัว ผู้คนจากหมู่บ้านริมแม่น้ำสาละวิน รวมทั้งหมู่บ้านแม่นึท่า หมู่บ้านอูแวโกล และค่ายผู้พลัดถิ่นอิตุท่า ได้ข้ามแม่น้ำสาละวิน (บริเวณพรมแดน  อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน) เพื่อขอลี้ภัยในประเทศไทย

แถลงการณ์ระบุว่า การโจมตีทางอากาศทำให้ตัดขาดการสื่อสาร จึงเป็นการยากที่จะยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัยที่แน่นอน กลุ่มข่าวท้องถิ่นและองค์กรชุมชนได้รายงานว่าประชาชนจำนวนราว 2,500-3,000 คน กำลังขอลี้ภัยในประเทศไทย

ก่อนที่จะมีการโจมตีทางอากาศ ทหารพม่าได้ลอบยิงปืนใหญ่ลงในหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องหลบหนี การรุกอย่างต่อเนื่องและการโจมตีทางอากาศ สถานการณ์คาดว่าจะเลวร้ายลงโดยมีผู้เสียชีวิตและการพลัดถิ่นมากขึ้น ทหารพม่าซึ่งทำการรัฐประหาร ได้เข้ามายึดครองดินแดนของบรรพบุรุษของเรา กดขี่และกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนของเรามาหลายชั่วอายุคน

 พวกเราซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในลุ่มน้ำสาละวิน ขอเรียกร้องต่อไปนี้ต่อทหารพม่า ประเทศที่เกี่ยวข้อง และต่อนานาชาติ ดังนี้

“เผด็จการทหารพม่าต้องยุติการโจมตีทางอากาศและการโจมตีในดินแดนบรรพบุรุษของเราโดยทันที ต้องหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทันที และต้องย้ายค่ายทหารของพวกเขาออกจากดินแดนบรรพบุรุษของเรา ต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านมนุษยธรรมแก่ชาวบ้านที่พลัดถิ่นทันที”

แถลงการณ์เรียกร้องด้วยว่า เผด็จการทหารพม่าจะต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน คืนประชาธิปไตยของรัฐบาลกลางที่รับรองความเท่าเทียมกัน และสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเต็มที่สำหรับทุกชาติพันธุ์

เราเรียกร้องให้มีการดำเนินการระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการสังหารโหดครั้งต่อไป เราเรียกร้องให้มีมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อส่งต่อสถานการณ์ในพม่าไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศส่งหน่วยตรวจสอบไปยังพม่าทันทีและกำหนดให้มีการห้ามค้าอาวุธทั่วโลกกับพม่า

ขณะที่องค์กรเพื่อนไร้พรมแดน (Friends Without Borders Foundation)ได้ออกถ้อยแถลงระบุว่า ความยินดีที่รัฐไทยได้เปิดช่องทางอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยกว่า 3,000 คนจากจังหวัดมื่อตรอ รัฐกะเหรี่ยง ได้เข้ามาหลบภัยสงครามในเขต อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนเนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในจังหวัดมื่อตรอยังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อหน่วยงานความมั่นคงท้องถิ่นสามารถจัดการรองรับผู้ลี้ภัยเบื้องต้นได้แล้ว จะได้ดำเนินการประสานงานกับ UNHCR และองค์กรมนุษยธรรมซึ่งมีสำนักงานอยู่ในท้องถิ่นและมีประสบการณ์ด้านงานมนุษยธรรมมายาวนาน และได้ให้ความช่วยเหลือต่อศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยแม่ละอูนในเขตอ.แม่สะเรียงอยู่แล้ว ให้เข้ามาแบ่งเบาภาระรัฐไทยในการให้ความช่วยเหลือ  โดยวางมาตรการป้องกันโควิด 19 ร่วมกับสาธารณสุขท้องถิ่น  (แม้ผู้ลี้ภัยซึ่งมาจากชุมชนบนพื้นที่สูงในรัฐกะเหรี่ยงกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อโควิด 19 ต่ำมากก็ตาม)”ถ้อยแถลงระบุ

ในถ้อยแถลงขององค์กรเพื่อนไร้พรมแดนยังระบุด้วยว่า นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมไทยรวมถึงคนท้องถิ่นที่มีความปรารถนาดี ควรได้รับอนุญาตให้เข้าถึงผู้ลี้ภัยด้วยเช่นกัน ผ่านระบบการจัดการที่ดีและเป็นมิตร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด 19  เพื่อความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงในระยะต่อไป สำหรับการพิจารณาว่าสถานการณ์ดีขึ้นพร้อมที่จะให้ผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐานนั้น  จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจและสมศักดิ์ศรี โดยมี UNHCR หน่วยงานมหาดไทย และภาคประชาสังคมท้องถิ่นเป็นพยานในความสมัครใจ  ในกรณีมีผู้ไม่สมัครใจกลับเนื่องจากมีความเสี่ยงใด รัฐไทยจะต้องอนุญาตให้ UNHCR ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการคัดกรองผู้ที่เสี่ยงภัยต่อการประหัตประหารหากถูกส่งกลับประเทศ เพื่อดำเนินการให้ความคุ้มครองสากลต่อไป


Press release on the Burmese military dictatorship’s airstrikes on villages in the Salween Peace Park on 27th–28th, March 2021

March 29th, 2021

On March 27th, 2021, the Burmese military carried out airstrikes in Day Bu Noh, Mutraw District, in the Salween Peace Park to demonstrate their military strength. This followed helicopter surveillance which occurred at around 3.30pm.

Two Burmese military fighter jets dropped 9 bombs and fired automatic guns from the aircraft from 7:30 pm until midnight. 3 villagers were killed in the airstrikes, 7 were badly wounded, and many buildings have been damaged.

The following morning, on March 28th at around 10am, the Burmese military carried out another airstrike in Ta Kaw Toh Baw Village, which is 12 miles north-west of Day Bu Noh Village. On the same day at around 3pm, four fighter jets flew over Day Bu Noh Village and then headed to the Salween River which runs along the Thai-Burma border. These fighter jets attacked some villages in the Salween River Basin: Mae Nu Hta and Thee Kaw Hta.

As a result of these attacks, civilians have fled into the jungle to hide. People from villages along the Salween River, including Mae Nu Hta Village, U Weh Klo Village, and Ei Tu Hta IDP Camp, have been crossing the river to seek refuge in Thailand.

Because of the breakdown of communications after the airstrikes, it is difficult to confirm the exact number of casualties and IDPs/refugees. Local news and community organizations have reported an estimated 2,500-3,000 people are seeking refuge in Thailand. Prior to the airstrikes, the military had been shelling in Karen villages for several months, causing thousands to flee. In light of the ongoing offensives and recent airstrikes, the situation is expected to worsen with more casualties and displacement.

The Burmese military, which forcibly seized power through a coup, has occupied our Indigenous territories, oppressed us, and committed numerous human violations against us for generations. We, the Indigenous people of the Salween River basin, make the following demands to the Burmese military, and to all relevant national and international groups:

The Burmese military dictators must immediately cease airstrikes and attacks in our ancestral lands. They must immediately stop human rights violations and must remove their military camps from our ancestral lands.

Humanitarian aid and support must be immediately provided to the displaced villagers.

The Burmese military dictators must return the control of the country to the people, who will then work towards a federal democratic governance system that ensures equality and full self-determination rights for all ethnic peoples.

We urgently call for international action to prevent further mass atrocities. We call for a UN Security Council resolution to refer the situation in Burma to the International Criminal Court, immediately dispatch a monitoring body to Burma, and impose a global arms embargo on Burma.

——————-

On Key

Related Posts

คดีถึงที่สุด-ชาวเลราไวย์ชนะคดีพื้นที่หน้าหาด ศาลฎีกาพิพากษายืนชี้อยู่มานาน ชาวบ้านดีใจเผยมั่นใจขยายแผงขายปลา แต่ยังหวั่นเอกชนรุกเส้นทางเดินดั้งเดิมสู่ “บาลัย”

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 นายสุรพงษ์ กองจันทึก ปRead More →

กสทช.ขู่เพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบการทำผิดส่งสัญญาณโทรศัพท์ข้ามแดนไปยังแหล่งอาชญากรรมริมแม่น้ำเมย-เผยกำลังตรวจสอบเข้มทำไมหันเสาออกไปประเทศเพื่อนบ้าน

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณRead More →