Search

เวทีรายงานสถานการณ์สิทธิ UN เสนอทางการไทยยุติดำเนินคดีชาวบ้านบางกลอย จับตา 24 พค.ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มอีก

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 เฟซบุ๊ก Cross Cultural Foundation (CrCF) ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า เมื่อวานนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จัดประชุมออนไลน์ รับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคมต่อการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกลไก Universal Periodical Review (UPR) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ฉบับที่ 3 โดยมี นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และนางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอข้อมูลและตอบคำถามจากตัวแทนขององค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคมและประชาชนที่เข้าร่วมฟัง ซึ่งรวมถึงชาวบ้านกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี 

การประชุมครั้งนี้ องค์กรสิทธิมนุษยชนได้นำเสนอประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าแก่งกระจาน 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอยที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.อุทยาน 2562 เป็นผลให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานใช้อำนาจมาดำเนินคดีกับชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอยจำนวนหนึ่งที่กลับขึ้นไปยังพื้นที่ใจแผ่นดินเมื่อเดือน ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ก่อนจะถูกจับกุมและตกเป็นจำเลยข้อหาบุกรุกอุทยานแห่งชาติในเวลาต่อมา โดยวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นี้ ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย 28 คน จะต้องไปรายงานตัวตามหมายเรียกที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนสั่งฟ้องให้อัยการจังหวัดเพชรบุรีแล้ว เป็นผลให้อัยการเป็นผู้มีอำนาจสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องได้

ประเด็นที่สองคือ การเสนอชื่อ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลก (UNESCO) ได้ปฏิเสธข้อเสนอก่อนหน้านี้ 3 ครั้ง ในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา โดยให้ข้อเสนอนำกับรัฐบาลไทยว่า รัฐไทยควรแก้ไขความเดือดร้อนของชาวบ้านกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจานทั้งหมดก่อนการนำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติครั้งถัดไป ในเดือน กรกฎาคม 2564 นี้ แม้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่บางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีกระบวนการพูดคุยรับฟังปัญหาของชาวบ้านกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจานเพื่อหาข้อสรุปและวิธีการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง 

ประเด็นที่สามคือ การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดย นายเกรียงไกร ชีช่วง เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อการอนุรักษ์และวัฒนธรรม กล่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการโดยอ้างว่า ทำตามกฎหมาย แต่เมื่อชนเผ่าพื้นเมืองเสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองชนเผ่าพื้นเมืองอย่าง ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ก็ไม่เป็นผล ทำให้ยังคงเกิดปัญหากดทับเชิงโครงสร้างและการใช้กฎหมายในลักษณะสองมาตรฐานผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ส่งผลต่อชนเผ่าพื้นเมืองโดยรวม

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้แทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และตัวแทนองค์กรสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอยตกเป็นจำเลยข้อหาบุกรุกอุทยานแห่งชาติว่า อัยการจะต้องมีอิสระในการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี เมื่อเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์ ให้เสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 และหากจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา รัฐจะต้องเชิญชาวบ้านเข้าร่วมในคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นด้วย

“รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรม ควรจัดทำข้อเสนอเร่งด่วนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อชะลอการดำเนินคดีชาวบ้านบางกลอย เนื่องจากขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโดยนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลยังคงดำเนินคดีอาญาร้ายแรงกับชาวบ้าน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามถึงเรื่องดังกล่าว จากทั้งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ ที่ประเทศจีน และในเวทีรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกลไก UPR ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แน่นอน” พรเพ็ญ กล่าว

ทั้งนี้ตัวแทนรัฐบาลทั้งสองหน่วยงานคือ กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อเสนอแล้ว โดยอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตอบรับว่า จะนำเรื่องการเรียกร้องให้ถอนฟ้องคดีชาวบ้านบางกลอยไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนในเร็ววันนี้

มูลนิธิผสานวัฒธรรมจึงขอเชิญชวนในประชาชนจับตาดูว่า วันที่ 28 พ.ค. นี้ อัยการจังหวัดเพชรบุรีจะสั่งฟ้องชาวบ้านบางกลอยทั้ง 28 คน ที่ถูกหมายเรียกคดีบุกรุกผืนป่าแก่งกระจานหรือไม่อย่างไร และหากรัฐไทยมีความบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านบางกลอย รัฐจะต้องนำข้อเสนอเรื่องชะลอการดำเนินคดีชาวบ้านบางกลอย จากเวทีรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกลไก UPR มาปรับใช้ ก่อนการเสนอชื่อ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ขึ้นทะเบียนคณะกรรมการมรดกโลกอีกครั้ง เดือน กรกฎาคมนี้

อนึ่งในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ตำรวจได้ขอให้ศาลแจ้งผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ต้องหาให้ไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เนื่องจากพนักงานอัยการส่งสำนวนกลับมาว่ายังดำเนินกระบวนการไม่ครบถ้วน โดยชาวบ้านบางกลอยทั้ง 28 คนจะเดินทางไปยังสถานีตำรวจแก่งกระจานในเวลา 10.00 น.


On Friday (May 21) the Rights and Liberties Protection Department (RLPD), Ministry of Justice, organized an online public hearing on the preparation of the third UPR (Universal Periodical Review) regarding the human rights situation in Thailand. The forum was joined by Mr. Nadhavathna Krishnamra, Director-General of the Department of International Organizations, Ministry of Foreign Affairs; Mr. Ruangsak Suwaree, Director-General of the Rights and Liberties Protection Department; and Ms. Nareeluck Phaechaiyaphum, Director of the International Human Rights Division, the Rights and Liberties Protection Department, who gave speeches and responded to questions from representatives of human rights organizations, civil society organizations, and villagers, including the Karen people in the Kaeng Krachan forest, Phetchaburi Province. 

At the forum, the suffering of the Karen people of Bang Kloi, and the repercussion from the national park law and the proposal to include the Kaeng Krachan forest on the list of World Heritage site were discussed. For the past six years, the World Heritage Committee has rejected this proposal on three occasions, suggesting that the Thai government resolve all of the conflicts with the Karen indigenous peoples of the Kaeng Krachan forest before submitting a new proposal in July this year. Instead of having a dialogue with the Karen as the World Heritage Committee suggested, the government has, however, arrested a number of Karen villagers of Bang Kloi for encroaching the national park area. The investigation officer has already submitted the case report to the prosecutor, and on next Friday (May 28), 28 Karen villagers of Bang Kloi will travel to the Phetchaburi Provincial Court to hear the decision of the prosecutor general whether the case will be proceeded or dropped. 

“We urge the Ministry of Foreign Affairs and the Ministry of Justice to order the police and the prosecutors to delay the prosecution against the Bang Kloi villagers. It is unreasonable for government officials to file a serious criminal charge against the villagers when a problem-solving committee has already been established by the Prime Minister to resolve the conflicts. On the World Heritage Forum in July 2021 in China and on the UPR forum in November 2021 in Geneva, Switzerland, this issue will inevitably be brought up.”

“The prosecutors, by virtue of the Public Prosecution Organization and Public Prosecutors Act B.E. 2553 (2010), have the authority to proceed the case, or propose to the prosecutor general to drop the case if they believe the prosecution is of no benefit. In addition, it is necessary to have villagers as members of the problem-solving committee,” said Pornpen Khongkachonkiet, Director of the Cross-Cultural Foundation.

The government representatives from the Ministry of Justice and the Ministry of Foreign Affairs, at the forum, acknowledged the problems and facts from the villagers’ side, and the Director-General of the Rights and Liberties Protection Department (RLPD) confirmed the forum that they will work with relevant agencies on the request to withdraw the lawsuit against Bang Kloi villagers.

“Not least, the rights of the indigenous peoples are often violated by government officials who claim to follow the laws, but when the peoples propose to establish a law to protect them, nobody listens. This reflects a structural problem and double standards in the judicial process against the indigenous peoples as a whole,” said Mr. Kriengkrai Chichuang, the Karen Network for Conservation and Culture.

.

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →