Search

นานาชาติร่วมกดดันรัฐบาลไทยเปิดทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้หนีภัยการสู้รบริมแม่น้ำสาละวิน นักวิชาการ ม.ออกซ์ฟอร์ดสะเทือนใจชาวบ้านถูกผลักดันกลับ ศูนย์สั่งการชายแดนฯตีปีบทหารไทยเข้าพื้นที่ดูแล

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาสัยเชียงใหม่ จัดสัมนาออนไลน์เรื่อง วิกฤตมนุษยธรรมบนพรมแดนไทยพม่า โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกราว 200 คน โดยดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า ระยะที่ผ่านมาความรุนแรงในพม่า ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งหนีภัยการสู้รบมายังประเทศไทย ที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีทั้งคนแก่ เด็ก ผู้ป่วย แต่คำถามที่กำลังเกิดขึ้นคือ การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชาชนเหล่านี้จะเป็นไปได้อย่างไร และทางการไทยจะมีแนวทางจัดการเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้มีการโจมตีในรัฐคะเรนนี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดการหนีภัยจากการสู้รบมายังชายแดนไทยมากยิ่งขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นางหน่อวากูชี เทนเดอร์ ผู้อำนวยการเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) กล่าวว่า เครือข่ายได้จัดทำรายงานรวบรวมสถานการณ์ล่าสุดในรัฐกะเหรี่ยง ชื่อรายงานว่า ความหวาดกลัวจากท้องฟ้า Terror from the Skies โดยขณะนี้เขตมือตรอ ของรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งถูกโจมตีทั้งทางอากาศและทางบกโดยกองทัพพม่าในห้วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนกว่า 70,000 คน ต้องหนีซ่อนตัวอยู่ในป่า โดยคิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรในเขตชนบนของมือตรอ ซึ่งกองทัพพม่าที่กระทำรัฐประหารได้อ้างว่ากองพล 5 ของ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เป็นผู้เริ่มความรุนแรงและฉีกข้อตกลงหยุดยิง NCA แต่จริงๆ แล้วกองทัพพม่าเข้ามารุกรานในรัฐกะเหรี่ยง ส่งกองกำลังมาตั้งฐานเพิ่มในเขตกองพล 5 โดยมีฐานทหารพม่ามากกว่า 80 ฐาน และมีความพยายามในการตัดถนนเพื่อส่งยุทธปัจจัย ซึ่งKNU คัดค้านมาโดยตลอด ทำให้มีการสู้รบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ในปี 2020 ประชาชนชาวกะเหรี่ยงได้เรียกร้องให้กองทัพพม่าถอนกองกำลังออกไป โดยเฉพาะฐานที่อยู่ใกล้กับหมู่บ้าน ที่ถูกทหารพม่าคุกคามและยิงปืน ค.ใส่โดยตลอด โดยกำหนดให้ถอนกำลังออกภายในเดือนธันวาคม แต่ทหารพม่ากลับไม่ปฏิบัติตาม และยังคงโจมตีหมู่บ้านต่างๆ เป็นผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเริ่มหนีออกจากหมู่บ้านเพื่อซ่อนตัวจากการโจมตี จนกระทั่งมีการยึดฐานทหารพม่าที่สิหมื่ท่า ทำให้กองทัพพม่าส่งเครื่องบินรบมาโจมตีในทันที ส่งผลให้ประชาชน 5,000 คน ต้องหนีข้ามแม่น้ำสาละวินมาฝั่งไทย แต่ก็ถูกผลักดันกลับในเวลา 48 ชั่วโมง การโจมตีต่อเนื่องทำให้เกิดจำนวนประชาชนที่หนีภัยการสู้รบมากยิ่งขึ้น

นางหน่อวากูชี เทนเดอร์ กล่าวว่า สำหรับประชาชนที่ต้องพลัดถิ่นจากภัยการสู้รบในเวลานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ข้าวสาร ยา และอุปกรณ์ที่พัก จึงขอวิงวอนให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการส่งความช่วยเหลือดังกล่าวข้ามพรมแดนให้แก่ประชาชนแก่ผู้หนีภัย และขอให้นานาชาติให้การสนับสนุนความช่วยเหลือดังกล่าวผ่านการมีส่วนร่วมขององค์กรชาติพันธุ์ และยุติความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่า หยุดการสนับสนุนกระบวนการ NCA และยุติการลงทุนต่างๆ ในพม่าทันที

นางเซลลี่ ทอมป์สัน ผู้อำนวยการ The Border Consortium ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือแก่ศูนย์พักพิงชั่วคราาวที่ตั้งอยู่ตลอดแนวชายแดนไทยมากว่า 30 ปี กล่าวว่า ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการจัดการประชาชนผู้หนีภัยสงครามมาโดยตลอด ทำอย่างไรที่จะจัดการผู้พลัดถิ่นจากการสู้รบจำนวนมหาศาล เป็นความท้าทาย ที่ต้องประสานงานทุกระดับ ทำอย่างไรที่จะเข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ

ศาสตราจารย์ฮิวโก้ สลิม มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตมนุษยธรรม ซึ่งเคยทำงานกับกาชาดสากลมาอย่างยาวนาน และผู้เขียนรายงานจริยธรรมมนุษยธรรม กล่าวว่า เผด็จการทหารเป็นสิ่งที่กำลังทำลายสังคมพม่าในวงกว้าง แวดวงการช่วยเหลือมนุษยธรรมที่มีประสบการณ์ทำงานหลายแห่งทั่วโลก การเห็นการผลักดันกลับผู้หนีภัยความตายเป็นสิ่งที่สะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง การปิดกั้นการช่วยเหลือมนุษยธรรมโดยหน่วยงานรัฐยิ่งเป็นสิ่งที่โหดร้าย สิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบร่วมของภูมิภาค เป็นเหตุฉุกเฉินของประเทศพม่าที่ต้องมีระบบความช่วยเหลือที่จัดเรียงลำดับความสำคัญอย่างเชี่ยวชาญ เราพบว่าหน่วยงานสหประชาชาติกำลังไตร่ตรองว่าจะจัดความสัมพันธ์ทางการเมืองกับกองทัพพม่าผู้กุมอำนาจอยู่อย่างไร จะเป็นกลาง จะร่วมมือ จะสร้างแนวทางความช่วยเหลือ จะสร้างความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ และจะเริ่มส่งเงินทุนอย่างเป็นทางการอย่างไรในสถานการณ์ฉุกเฉินหากจะคงความสัมพันธ์กับกองทัพพม่า หรือจะเลือกที่จะยุติสิ่งนี้แล้วหันมาสร้างแนวทางความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ในพม่า 

สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ริมแม่น้ำสาละวินซึ่งยังมีผู้หนีภัยจากการสู้รบอาศัยอยู่ตามจุดต่างๆ ในฝั่งไทย ปรากฎว่าที่บริเวณราท่า ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง ซึ่งมีผู้หนีภัยจำนวนนับร้อยคน ที่หนีมาจากบ้านสะคอท่าและใกล้เคียง ซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนรัฐคะเรนนี (คะยา) ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ล่าสุดเจ้าหน้าทหารไทยได้เดินทางไปแจ้งให้ทุกคนเดินทางกลับภายในสองวันนี้ ขณะที่ชาวบ้านพยายามร้องขออาศัยอยู่ต่อชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์ในฝั่งรัฐกะเหรี่ยงสงครามยังไม่คลี่คลาย

ขณะที่สั่งการณ์ไทย-เมียนมา จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน แถลงข่าวประจำวันระบุว่าหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 ร่วมกับศูนย์สั่งการชายแดนฯ ได้เข้าไปดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้หนีภัย โดยการจัดระเบียบและจัดสุขาภิบาลเพื่อป้องกันโรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า รวมถึงการป้องกันการแพร่เชื้อ และยังได้จัดเจ้าหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงของสถานการณ์เพื่อให้ผู้หนีภัยทราบ นอกจากนี้ยังได้ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขโดยจัดหมวดทหารเสนารักษ์ เข้าให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลในเบื้องต้น หากมีผู้ป่วยหนักก็จะมีการเคลื่อนย้ายไปยังโรงพยาบาล รวมทั้งพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อกำจัดพาหะโรคระบาดของมาลาเรีย  

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →