Search

แนะกดดันจีนร่วมเวทีแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขง ชี้ความโปร่งใสแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญ

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 ตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และหน่วยงานด้านพลังงานของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้ตอบคำถามต่อสื่อมวลชนที่ร่วมงานเสวนาสัปดาห์สิ่งแวดล้อมอาเซียน ถึงกรณี ผลกระทบจากเขื่อนในประเทศจีน ที่อยู่ตอนบนแม่น้ำโขง โดยนาย DR.Umezawa Akima รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า  ทุกวันนี้ไม่มีข้อตกลงกันเลยเรื่องแม่น้ำโขง  เรามีอนุสัญญา แต่จีนกับพม่า ไม่ได้ร่วมด้วยกับอนุสัญญานี้  และจีนกับพม่าก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้  อีกทั้งในข้อตกลงก็ไม่มีรูปแบบของข้อกฎหมาย ส่วนมากจีนมักทำข้อตกลงแบบทวิภาคี  จีนจะเข้าไปเจรจาเป็นรายประเทศ กับประเทศที่มีอนุสัญญา กรณีแม่น้ำโขง ถึงแม้ว่าจะมีกลุ่มทวิภาคีอยู่ แต่จีนจะไม่เข้าร่วมเวที  แต่จะเข้าไปต่อรองเองกับแต่ละประเทศ ถึงแม้ว่า ประเทศที่อยู่ภายนอก จะมาร่วมกันกดดัน ให้จีนเข้าร่วมเวทีต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง  ไม่รู้ว่า  รัฐบาลจีน จะเข้ามาหรือไม่ และเรื่องนี้ อเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ ก็ต้องร่วมมือกันต่อไป และประเทศในภูมิภาคอาเซียนควรร่วมมือกันเจรจาเรื่องนี้กับจีนด้วย

ด้านนาย Evan Fox  เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทยกล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกา เราพยายามที่จะพูดถึงความโปร่งใสทางด้านข้อมูล และเราพยายามที่จะรวมตัวกันที่จะให้ทุกคนรู้ว่า เรามีข้อมูลอะไรบ้าง มีการแชร์ข้อมูลกับใครบ้าง และข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างโปร่งใส ตนคงไม่สามารถที่จะมาให้ความเห็นได้ว่า ทำอย่างไรให้จีนยอมเข้าร่วมในเวทีอาเซียน หรือว่าเวทีพหุภาคี แต่คิดว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความโปร่งใส เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเวทีที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้คนที่ได้รับผลกระทบสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อที่จะได้ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่อยากให้ไปทบทวนกันดู

ส่วนด้านนาย TOM MOODY ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสภาพอากาศ และพลังงาน สำนักงานเครือจักรภพและการพัฒนาต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ประเทศต่างๆ พยายามที่จะแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยจีนเองก็มีบทบาทที่ยูเอ็น  และมีเป้าที่ใหญ่ที่น่าสนใจมากๆ กรอบนี้ก็เป็นกรอบที่น่าสนใจ ที่จีนจะสามารถเข้ามามีบทบาทในอาเซียน และอาเซียนสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับจีนได้ และจีนสามารถสนับสนุนเซียนเป็นความสัมพันธ์แบบจีนกับอาเซียน เพื่อที่จะทำให้มีการพัฒนาเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเวทีนี้อาจเป็นหนึ่งเวที ที่จะสามารถทำได้  ที่จริงมีกลไกที่จะดึงคู่เจรจาเข้ามาสู่กระบวนการเจรจาได้ หลายรูปแบบนะ ผ่านการร่วมมือ ไม่ใช่ว่า ใช้อำนาจจากประเทศใดประเทศหนึ่งถึงเข้าไป แต่ว่าใช้เวทีพหุภาคี ในการดึงให้ประเทศอยากให้จีนเข้ามาร่วมมือ


On Key

Related Posts

ผวาเหมืองทองเกลื่อนน้ำกก กองกำลังว้าจับมือจีนขุดแร่ทำลำน้ำขุ่น ชาวท่าตอนผวาเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลไทยปกป้อง หวั่นสารพิษปนเปื้อนลงสายน้ำแหล่งประปาของคนเชียงราย

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 น.ส.หอม ผู้ประสานงานมูลRead More →

เพลงชาติกะเหรี่ยงดังกระหึ่มแม่น้ำสาละวินหลังปลอดทหารพม่าในรอบกว่า 20 ปี ชาวบ้าน 2 ฝั่งแดนร่วมจัดงานวันหยุดเขื่อนคึกคักหลังพื้นที่ปลอดทหารพม่า “ครูตี๋”ใช้บทเรียนแม่น้ำโขงถูกทำลายปางตายแนะชุมชนสู้

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่บริเวณหาดทรายริมแม่นRead More →