สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ประจานเวทีรับฟังน้ำสองมาตรฐาน

ขบวนชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบตรงจากเขื่อนถูกสกัดห้ามเข้าประชุม แต่ชาวบ้านปีก “เจ๊แดง” ผ่านฉลุย-เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกเต็มเหนี่ยว/ นักศึกษาร่วมกันผลัดเวรเป็นหลัก-ให้กำลังใจชาวแม่แจ่ม-แม่ขาน

 

 1

 

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่บริเวณศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน ในโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยตามแผนแม่บทการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักโดยด้านหน้าศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ เครือข่ายนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเชียงใหม่ และเครือข่ายชาวบ้านจากอำเภอแม่แจ่ม อำเภอสะเมิง อำเภอเชียงดาว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผนการสร้างเขื่อนประมาณ 300 คน ได้ร่วมเดินเท้าจากองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมชุมนุมเพื่อรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน ซึ่งระหว่างเดินเท้าได้มีฝนตกตลอดทาง โดยทันทีที่เข้ามาถึงประตูที่ 1 ของศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฯ นักศึกษาพยายามพาชาวบ้านเข้าร่วมเวที ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และให้ขบวนนักศึกษาและชาวบ้านเดินเข้าที่ประตู 6

 

นายเจนภพ ชัยคำ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เชียงใหม่ กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าคำสั่งดังกล่าวมาจากใคร แต่ที่แน่ๆ ระยะห่างจากประตู 1-6 ก็ไม่ได้ไกลกัน เราเดินตากฝนมาด้วยความสงบ เพียงเพราะหวังเข้าร่วมเวทีด้วย แต่เจ้าหน้าระบุชัดเจนว่าไม่ให้เข้า ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ลงจากรถยนต์ที่มีผู้นำมากลับได้เข้าทางประตูแรก โดยไม่มีเงื่อนไข

 

“แต่ชาวบ้านที่มากับเราต่างก็เข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้น และตั้งใจจะเข้าร่วมรับฟังข้อมูลจากภาครัฐบาลพร้อมเสนอข้อคัดค้านและข้อคิดเห็นอย่างเต็มที่ พวกเรานักศึกษาจะผลัดกันเข้าไปเป็นกำลังใจให้ชาวบ้าน โดยใครมีเรียนก็เลื่อนเวลาไปก่อน คือ เรียนบ่ายเข้าเช้า เรียนเช้าก็เช้าร่วมกับชาวบ้านภาคบ่าย เพราะที่นี่มีการประชุมตลอดวัน” นายเจนภพ กล่าว

 

เวลาประมาณ 09.30 น.ขบวนชาวบ้านและนักศึกษาได้เข้าไปภายในศูนย์ประชุมฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แยกขบวนชาวบ้านไปไว้ยังอาคารด้านข้างที่ประชุม พร้อมเจรจากับตัวแทนนักศึกษา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่า ให้ส่งตัวแทนร่วมรับฟังความคิดเห็นแค่เพียง 10 คน เป็นนักศึกษา 5 คน และเป็นชาวบ้าน 5 คน เนื่องจากไม่มีที่นั่ง อย่างไรก็ตามภายหลังมีการต่อรองจำนวนคนเพิ่ม โดยเจ้าหน้าที่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าร่วมได้ 10 คนและเป็นชาวบ้าน 5 คน โดยทั้งหมดต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน และลงทะเบียนเข้าร่วม ส่วนกลุ่มชาวบ้านที่ถือป้ายรณรงค์ต่างๆ ให้รออยู่ด้านนอก โดยผู้แทนตำรวจได้รับหนังสือจากตัวแทนชาวบ้านและรับแถลงการณ์จากกลุ่มนักศึกษา โดยรับปากว่าจะนำไปยื่นให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดให้รับรู้ข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ

 

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวบ้านกลุ่มใหญ่ได้สวมเสื้อแดงที่เขียนชื่อ “ส.ส.เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เขต 3 เชียงใหม่”ได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการประชุมในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้

 

นายจิรายุ คงแดง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนและเพื่อนนักศึกษาคิดไว้แล้วว่า จะต้องเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้ แต่ยังหวังเสมอว่า รัฐบาลจะมีแนวทางให้ชาวบ้านได้ร่วมเสนอข้อคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่งมั่นใจว่าตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมจะสามารถอธิบายถึงเหตุผลในการคัดค้านเขื่อนและร่วมรับฟังข้อมูลจากที่ประชุมเพื่อเผยแพร่สู่กลุ่มอื่นๆ ที่รออยู่นอกอาคาร

 

นางดารนี ชัยเทศน์ ชาวบ้านแม่ซา ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า ชาวบ้านปกาเกอะญอ ส่วนหนึ่งประมาณ 70 คนรู้ล่วงหน้าว่าเวทีจะมีการจำกัดจำนวนคนฟัง จึงได้ลงทะเบียนล่วงหน้า แต่เงื่อนไขการรับฟังยังไม่น่าเชื่อถือ

On Key

Related Posts

ชี้บทเรียนส่งกลับเด็ก 126 คนกลับพม่าทำลายภาพลักษณ์ไทย “ศ.สมพงษ์” แนะทำระเบียงมนุษยธรรมคุ้มครองเด็ก “ครูน้ำ” เผยส่งเด็กเร่ร่อนไปอยู่พื้นที่ชั้นในหวั่นเอเย่นต์ค้ามนุษย์ อธิบดี ดย.เผยชะลอส่งเด็กกลับ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ความคืบหน้ากรณีเด็กนักเRead More →

KNU ปรับแถลงการณ์ช่วยเหลือมนุษยธรรมหลังกองทัพบกไทยร้อนใจถูกพาดพิง-หวั่นผลกระทบ “ศ.สุรชาติ” ระบุนานาชาติแปลกใจไทยใช้บริการ BGF ที่ใกล้ชิด SAC มาก่อน แนะวางกรอบคิดยุทธศาสตร์ปัญหาสงครามเมียนมา

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงควาRead More →

KNU แสดงจุดยืน 6 ข้อหลังความช่วยเหลือมนุษยธรรมส่งถึงมือชาวบ้านกะเหรี่ยง ไม่เชื่อใจกาชาดพม่าระบุเป็นเครื่องมือ SAC “สีหศักดิ์”ตีฆ้องประกาศผลสำเร็จ-เชิญนานาชาติกว่า 50 ประเทศร่วมรับฟัง เตรียมเดินช่วยเหลือหน้าครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 คณะกรรมการกลางสหภาพแห่งRead More →

รมว.พม.ประกาศไม่ส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติกลับพม่า ข้องใจต้นตอข่าว พระอาจารย์วัดสว่างอารมณ์แจงไม่มีการนำไปเดินเรี่ยไร ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มจับตาเป็นภาค 2 ของการส่งเด็กกลับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราRead More →