สำนักข่าวชายขอบ
Transborder News

ชาวราชบุรีต้านเวทีน้ำอยู่หมัด ผวจ.รับข้อเสนอยุติแค่ครึ่งวัน เสียงโห่ค้านกระหึ่มหอประชุม หวั่นสิ้นชื่อตลาดน้ำดำเนิน

 rachaburi3

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดราชบุรี เรื่อง “แผน แม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรณีโครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและ ระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย โดยมีนายนิสิต จันทร์สทวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวายเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ที่เดินทางมาได้พากันคัดค้านการสร้างฟลัดเวย์หรือแม่น้ำสายใหม่ และการขุดลอกแม่น้ำแม่กลองตามแผนในโมดูล 5 ต่างแสดงความไม่พอใจในโครงการดังกล่าว และมีเสียงโห่กันอยู่ตลอดเวลา จนพิธีเปิดแทบล่ม จนแกนนนำเครือข่ายประชาชนต้องมาขอร้องให้ทุกคนอยู่ในความสงบชั่วคราว

 

หลังจากนาบนิสิตกล่าวเปิดเสร็จสิ้น ผู้แทนกบอ.พยายามชี้แจงขอมูล แต่ประชาชนในหอประชุมไม่พอใจและโห่เป็นระยะๆ จนผู้แทนกบอ.ต้องรีบกล่าวจบ หลังจากนั้นชาวบ้านได้ตั้งคำถามและตั้งข้อกังวลหลายข้อต อาทิ จำนวนประชาชนที่ จะได้รับผลกระทบจากการขุดคลอง แต่ผู้แทนกบอ.ไม่สามารถตอบได้ เช่นเกียวกับคำถามเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้รับคำชี้แจงที่ชัดเจน ในที่สุดผู้ร่วมประชุมจึงสรุปว่าการเปิดเวทีครั้งนี้ของกบอ.ไม่มีความสมบูรณ์ โดยได้เชิญ นายมานิตย์ นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี และนายเดชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกวุฒิสภาราชบุรี มาร่วมเป็นสักขีพยานและร่วมกันยืนยันว่าไม่เอาฟลัดเวย์และการขุดลอกแม่น้ำ และสุดท้ายได้เชิญผู้ว่าราชการฯมารับรู้เป็นสักขีพยายานด้วย

 

นอกจากนี้แกนนำชาวราชบุรีได้ตั้งคำถามกับผู้ว่าฯว่าในวันนี้มีประชาชนร่วมเท่าไหร่ ซึ่งนายนิสิตตอบว่า “หลายหมื่นครับ” จากนั้นแกนนำได้ให้ประชาชนยืนยันมติโดยถามว่ามีใครเห็นด้วยกับโครงการหรือไม่ ปรากฎว่าไม่มีใครยกมือเห็นด้วย และเมื่อถามว่ามีใครคัดค้านบ้าง ปรากฎว่าทั้งหอประชุมต่างร่วมกันยกมือ ดังนั้นแกนนำจึงให้ผู้ว่าฯยืนยันมติของที่ประชุมโดยนายนิสิตกล่าวว่า “มติมหาชนชาวราชบุรีไม่เอาโครงการนี้ครับ”

 

ทั้งนี้ผู้แทนเครือข่ายราชบุรี ได้อ่านแถลงการณ์ว่า วันนี้ชาวราชบุรีและชาวลุ่มน้ำกลองได้แสดงจุดยืนในเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ว่า เนื่องจากข้อมูลที่ กบอ.นำเสนอไม่มีความละเอียดและไม่ครอบคลุมอีกทั้งตอบคำถามจากภาคประชาชนไม่ได้ จึงขอยืนยันว่าชาวราชบุรีไม่เอาโครงการคลองผันน้ำและโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ 1. ไม่เห็นด้วยกับการผันน้ำมาลงสู่แม่กลอง 2. หากโครงการเกิดขึ้นประชาชนหลายคนต้องทนรับน้ำท่วมนาน 4-6 เดือน ทนกับภาวะน้ำกัดเซาะ และตลิ่งพัง ไม่มีมีใครรับผิดชอบ จึงขอเสนอให้รัฐบาลนำไปพิจารณาและตรวจสอบอีกที โดยเร่ง ออกแบบแผนงานก่อสร้างพร้อมทั้งศึกษาผลกระทบก่อนทำการจ้างผู้รับเหมา

 

 

จากนั้นชาวบ้านจึงประกาศให้สิ้นสุดการเปิดเวทีในเวลา 11.50 น.โดยให้นายมานิตร่วมยืนยันความต้องการของชาวบ้านที่จะไม่ให้มีการประชุมต่อไป และชาวบ้านยังได้มอบรายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วย 2 หมื่นคนให้กบอ. พร้อมทั้งประกาศเชิญชวนให้ชาวราชบุรีไปร่วมเวทีรับฟังน้ำที่จังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 29 พฤศจิกายน

 

สำหรับบรรยากาศภายนอกหอประชุมตั้งแต่เช้า ชาวบ้านจากหลายอำเภอต่างเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคึกคักนับหมื่นคนโดยมีป้ายคัดค้านไม่เห็นด้วยกับฟลัดเวย์และการขุดลอกด้วยข้อความต่างๆหลากหลาย ขณะที่กบอ.ให้โควต้าชาวบ้านในพื้นที่มาแสดงความคิดเห็น 800 คนและผู้ที่มาลงทะเบียนทางออนไลน์อีก 1,000 คน ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างตึงเครียดเพราะส่วนใหญ่อยากเข้าแสดงความคิดเห็นหรือรับฟังในหอประชุม ขณะที่ทางจังหวัดได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวณชายแดน 2 กองร้อยมาดูแลความเรียบร้อยยืนเฝ้าประตูรอบๆห้องประชุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรอีก 1 กองร้อยคอยสนับสนุน อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ว่าราชการฯเดินทางมาถึง ตัวแทนชาวบ้านซึ่งยืนออกกันหน้าหอประชุมได้เรียกร้องขอเข้าฟัง ในที่สุดนายนิสิตจึงยอมให้ทั้งหมดเข้าห้องประชุม

 

ทั้งนี้ในตอนแรกทางคณะผู้จัดได้ห้ามนำนกหวีดและป้ายคัดค้านเข้าหอประชุม รวมทั้งห้ามใช้เครื่องกระจายเสียงในบริเวณโดยรอบ แต่สุดท้ายเมื่อชาวบ้านที่คัดค้านมาจำนวนมาก ในที่สุดจึงไม่สามารถห้ามได้ นอกจากนี้ชาวบ้านยังร่วมกันเผาโลงศพที่มีภาพนายปลอดประสพติดอยู่ โดยมีพวงหรีดที่ทำจากรองเท้ายางและมีผู้แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์นำหน้าโลงศพเข้ามา

 

นายนิสิต ให้สัมภาษณ์ว่า เข้าใจดีว่าประชาชนในพื้นที่นั้นมีข้อกังวลอย่างไรบ้างต่อกรณีโครงการตามแผน งานโมดูล เอ 5 คือ การจัดทำคลองผันน้ำด้านฝั่งตะวันตก เช่น การขุดลองลัด การขยายคลอง ฯลฯ ที่อาจก่อเกิดผลกระทบต่อชุมชน แต่อยากให้เข้าใจว่า โครงการเป็นแค่ร่างเท่านั้นยังไม่ได้ยืนยันจะทำจริง ทั้งนี้ที่ผ่านมาก่อนหน้าที่จะมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ มีประชาชนบางส่วนยื่นหนังสือคัดค้านโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการศึกษาก็รับมทราบว่ามีประชาชนบางส่วนคัดค้าน แต่ไม่สามารถสรุปจำนวนได้ หลังจากเสร็จสิ้นเวทีนี้แล้วน่าจะสรุปได้ โดยจังหวัดจะแนบเอกสารที่ประชาชนได้ร้องเรียนเข้ามาเพื่อชี้แจงให้ กบอ.รับทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อไป อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การจัดเวทีในครั้งนี้ไม่ใช่เวทีประชาพิจารณ์ แต่เป็นการรับฟังความคิดเห็น ความวิตกกังวล และข้อเสนอของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการแผนขุดลลอกแม่กลอง โดยตรง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้มอบให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านไปชี้แจงประชาชนแล้ว ดังนั้นการที่ชาวบ้านบอกว่ายังไม่รับรู้ข้อมูลจึงไม่ทราบ

 

นพ.พนัส พฤกษ์สุนันท์ ผู้ประสานงานเครือข่ายคนรักษ์แม่กลอง จังหวัดราชบุรี กล่าวว่าโครงการแม่น้ำสายใหม่และขุดลอกแม่น้ำแม่กลองเป็นการทำลายวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่กันมานาน และถือว่าเป็นโครงการที่โยนความผิดมาให้คนแม่กลอง ถือว่าเป็นการพัฒนาที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง และลูกหลายชาวแม่กลองจะอยู่กันอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาทางการไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนทราบเลย ทั้งๆที่อย่างน้อยควรให้ข้อมูล 15 วันก่อนจัดเวทีรับฟัง

 

“การที่พื้นที่นี้ต้องรับน้ำเพิ่มอีกจำนวนมาก แม่น้ำเชี่ยวกราดขึ้นทุกทีจากการขุดลอก ในที่สุดก็ทำให้ตลิ่งพัง เกิดน้ำท่วมแช่ขัง ต้นไม้ในเรือกสวนไร่นาต้องตายหมด ประชาชนเองก็อยู่ไม่ได้ เพราะตอนนี้ทุกๆปีในฤดูน้ำหลาก เราก็ต้องต่อสู้กับน้ำท่วมกันอยู่แล้ว หากรับปริมาณน้ำเพิ่มอีกจะเกิดน้ำท่วมตั้งแต่อำเภอโพธารามไปจนปากอ่าวแม่กลอง สัตว์เลี้ยงทั้งกุ้งหอยปูปลาก็ต้องตายหมด แม้แต่ตลาดน้ำดำเนินสะดวกที่เป็นตลาดเก่าแก่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศก็ไม่เหลือ เพราะต้องถูกน้ำท่วมหมด”

 

—————
ภาสกร จำลองราช

On Key

Related Posts

โฆษก KNU ประกาศไม่เหลือพื้นที่เจรจาให้ SAC ระบุต้องรบให้ชนะเท่านั้น ชวนประชาชนร่วมกำจัดปีศาจร้ายออกจากแผ่นดินกอทูเล เผยพยายามให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด “เศรษฐา” ตั้งกก.ชุดใหญ่ติดตามดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในพม่า ให้ปานปรีย์เป็นประธาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 พะโดซอตอนี (Padoh Saw Taw NeRead More →

NUG เชื่อการปฏิวัติเข้าใกล้ชัยชนะ ส่งจดหมายกระชับไมตรีกองทัพว้า ชื่นชมมีส่วนสำคัญถอนรากSAC จับตาความเปลี่ยนแปลงภายหลังทูตจีนพบอดีต 3 นายพลผู้นำพม่า

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 สำนักข่าว Irrawaddy รายRead More →

นักวิชาการหลายสถาบันเห็นพ้องทบทวนโครงการผันน้ำยวม ชี้ไม่คุ้มค่าการลงทุนนับแสนล้าน-ปริมาณน้ำไม่พอ-อีไอเอไม่คลอบคลุม ชาวบ้านผู้รับผลกระทบวอนให้ลงดูพื้นที่จริง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประRead More →

ร่วมรำลึก 10 ปี ‘บิลลี่’ ถูกอุ้มหาย ชี้สูญชีวิตแต่ไม่สูญเปล่า ไทยเกิดกฎหมายป้องกันคนหาย และเป็นแรงบันดาลใจคนบางกลอยรุ่นใหม่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่บ้านบางกลอย ต.ห้วยแมRead More →

ย้ายอองซานซูจี-อูวินมิ้น ออกจากเรือนจำไปบ้านพักเหตุสุขภาพย่ำแย่ ฝ่ายต่อต้านโจมตีโรงเรียนนายร้อยทหารในเมืองปวินอูหลิ่น มีผู้เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บอีก 12 นาย

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 เมษายน 2567  สำนักข่าว ChindRead More →