เพจ Wonder of the Mekong รายงานว่า ในรอบหลายสิบปีที่ชาวประมงกัมพูชาไม่เคยจับปลาสะนากยักษ์ได้เลย จนพวกเขาคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำโขงในกัมพูชาแล้ว แต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีการจับปลาสะนากยักษ์ น้ำหนักกว่า 6 กิโลกรัม ขนาดความยาว 74 เซนติเมตร ความกว้างของลำตัว 88 เซนติเมตร ได้ที่บริเวณตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนไฟฟ้าเซซาน 2 ล่าง (Lower Sesan 2 hydropower dam)
ปลาสะนากยักษ์ เป็นสายพันธุ์ที่มีความเฉพาะโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในแอ่งลึกตอนกลางของแม่น้ำโขงในเขตไทยและลาว ในกัมพูชา
ปลาสะนากยักษ์ มีชื่อว่า “ตรัย ปาสะนาก” อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดกระแจ๊ะและสตรึงเตร็ง

ปลาสะนาก เป็นคำที่ถูกเรียกมาจากภาษาไทยและภาษาลาว ซึ่ง ดร.ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจำแนกปลาในแม่น้ำโขง ระบุว่า สะนาก ในภาษาไทยหมายถึง มีดที่ใช้ตัดหมากสำหรับคนที่ชอบเคี้ยวหมาก ปลาชนิดนี้ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะปากของมันมีรูปร่างคล้ายมีดสะนาก คนไทยและคนลาวจึงเรียกว่า ปลาสะนาก เช่นเดียวกับคนเขมร
ระหว่างปี 2008-2009 ดร.ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ ได้ติดตามอาจาย์ โยชิโอ โทโมดะ และชาวบ้านเพื่อค้นหาจำนวนของปลาสะนากในจังหวัดอุบลราชธานีของไทยและเมืองจำปาสักของลาว เขาบอกว่า ปลาสะนาก คือสัญลักษ์ณ์ของแม่น้ำโขง และย้ำว่า ครั้งนี้เขาแปลกใจมากที่เจอปลาสะนากยักษ์ในอ่างเก็บน้ำ
“ปลาสะนากคือหายากมากและเสี่ยงใกล้สูญพันธ์และยังอยู่ในการวิจัย จำนวนของปลาชนิดนี้มีบันทึกน้อยมากเพราะว่า ไม่ใช่ปลาที่คนหาปลาต้องการ ตอนที่ทราบข่าว ผมจึงแปลกใจมาก”
ดร.ชัยวุฒิ ระบุว่า ปลาสะนากอพยพไปยังแอ่งน้ำลึกในแม่น้ำโขงช่วงฤดูหนาว ขณะที่สภาพอากาศเย็นและลมแรง ช่วงที่พวกมันอพยพไปยังแอ่งน้ำลึก พวกมันจะกระโดดอย่างสูงจากน้ำ
“การจับปลาสะนากได้ครั้งนี้ คล้ายกับพวกมันอยากจะบอกคนหาปลาว่า พวกมันยังไม่สูญพันธ์และท้าทายให้คนลงไปจับพวกมัน ในไทย คนหาปลาเรียกปลานี้ว่า ปลาโง่เพราะพฤติกรรมของมัน”

นายจัน โสเค็ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการประมงและเทคโนโลยีและสถาบันการพัฒนาประมง เป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ “ปลาน้ำจืดในกัมพูชา (การจำแนกลักษณะและชีววิทยาโดยย่อ) และพันธ์ปลาน้ำกร่อย และยังเป็นผู้ที่เฝ้าติดตามปลาสะนากมากว่า 30 ปี เมื่อได้รับแจ้งว่าจับปลาสะนากได้ เขารีบจัดการให้มีการส่งปลาดังกล่าวมาจากจังหวัดสตรึงเตร็ง มายังศูนย์วิจัยปลาน้ำจืดซึ่งกำลังร่วมงานกับโครงการ Wonder of the Mekong เพื่อทำการจัดการปลาไว้ในห้องแล็บ
นายจัน โสเค็ง เล่าว่า “ผมตื่นเต้นมาก เพราะติดตามปลาชนิดนี้มากว่า 30 ปี เดินทางกลับไปกลับมาระหว่างตอนบนของแม่น้ำโขง”
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวประมงจับปลาได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2020 ปลามีน้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม โดยปลาถูกจับได้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนเซซาน 2 ล่าง ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนเซซาน 2 ล่าง เขาเคยไปทำงานที่แม่น้ำซเรป็อก(Srepok river) “คนหาปลาเคยบอกว่า พวกเขาเคยจับปลาสะนากยักษ์ที่แก่งหินในแม่น้ำ
“ก่อนหน้าผมจึงสรุปว่า ปลาสะนากยักษ์อาจจะอยู่ในแอ่งน้ำลึกของแม่น้ำสเรป็อก เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จ ปลาก็ถูกกักไว้ที่หลังเขื่อน”
เขายังกล่าวอีกว่า ปลาชนิดนี้นั้นหาพบยากมาก ชาวประมงกัมพูชาแทบจะไม่เคยพบเห็นหรือได้ยินชื่อนี้มาก่อนเลย ปลาสะนากยักษ์สามารถโตเต็มที่ได้ด้วยขนาดความยาวกว่า 130 เซนติเมตรและน้ำหนักอย่างน้อย 30 กิโลกรัม เป็นปลานักล่าที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วและกินปลาชนิดอื่นๆเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญตามบัญชีรายชื่อของ IUCN