Search

รองประธานาธิบดีสหรัฐหารือ 6 ตัวแทนภาคประชาชนไทย เผยสนใจประเด็นแม่น้ำโขง-พลังงาน

เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ที่เรือนรับรองของสถานเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กทม. นางกมลา แฮร์รีส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เดินมาร่วมประชุมเอเปค ได้เชิญตัวแทนภาคประชาชนไทย 6 คนเข้าพบเพื่อหารือแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์แม่น้ำโขง-สาละวิน สถานการณ์ในพม่า และสถานการณ์ด้านพลังงานสะอาด

ทั้งนี้ผู้แทนที่เข้าหารือประกอบด้วยนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ นายพอล เส่งทวา ผู้อำนวยการเครือข่ายสิ่งแวดล้อมและสังคมกะเหรี่ยง นางสาวปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์ จากโครงการ Mekong Storytelling นายฉัตรพล ศรีประทุม องค์กรพลังงาน Energy Absolute นางสาวอัจฉรา ปู่มี โครงการ PAC นายเอ็มแค บาลาจี ผู้อำนวยการฝ่ายระบบพลังงานชั้นสูง USAID ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวแจ้งว่านิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของได้เล่าให้รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงสถานการณ์ของแม่น้ำโขงที่ประชาชนเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนและแม่น้ำโขงตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ ดังนั้นการจะแก้ไขต้องมีการคิดใหม่ เพราะหากยังคิดอยู่ในกรอบเดิมๆ ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ที่สำคัญควรเอาสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์กลางแทนที่จะเอาคนเป็นศูนย์กลางเหมือนในอดีต เพราะการฟื้นฟู่แม่น้ำโขงให้ดีขึ้นก็จะส่งผลให้ประชาชนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงดีขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกมาสานต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ขณะที่ ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์ จากโครงการ Mekong Storytelling มูลนิธิมะขามป้อม ได้เล่าถึงการลงพื้นที่ริมแม่น้ำโขงเพื่อใช้ศิลปะเล่าเรืองสะท้อนประเด็นแม่น้ำโขงซึ่งจากการฟังเสียงสะท้อนของเยาวชนต่างบอกว่าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาบนแม่น้ำโขงน้อยมากซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจหรือการออกแบบนโยบายเกี่ยวกับตัวเองในอนาคต 

ทั้งนี้รองประธานาธิบดีฯ ได้ถามว่าเยาวชนได้ใช้สื่อโซเชียลหรือไม่ ซึ่งปิยฉัตรตอบว่า ได้ใช้และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ จากทั่วโลกยกเว้นข้อมูลของแม่น้ำโขง ซึ่งมักรู้เอาทีหลัง เพราะโครงการพัฒนาต่างๆ เป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐและมักปกปิดข้อมูล

ด้านนายพอล เส่งทวา ผู้อำนวยการเครือข่ายสิ่งแวดล้อมและสังคมกะเหรี่ยง (Karen Environmental and Social Actions Network-KESAN) กล่าวกับรองประธานาธิบดีสหรัฐฯว่า ตนได้ทำงานกับชุมชนชาวกะเหรี่ยงมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงบริเวณชายแดน  โดยได้มีการก่อตั้งอุทยานสันติภาพสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและธรรมชาติโดยชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง 

“การรัฐประหารในพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทำให้พม่าแตกสลาย เป็นความไม่แน่นอนทางการเมืองและสิ่งแวดล้อมอย่างสาหัสสำหรับภูมิภาคนี้ ความขัดแย้งทางอาวุธที่ทวีความรุนแรงขึ้นได้ผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน กลุ่มติดอาวุธที่รัฐบาลทหารพม่าสนับสนุนและเครือข่ายอาชญากรข้ามชาติกำลังทำลายประเทศพม่า ทำให้แม่น้ำและป่าไม้ถูกทำลาย ไทยและจีนกำลังผลักดัน 5 โครงการเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นแม่น้ำอิสระสายสุดท้ายของเอเชีย โครงการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความความรุนแรงมานานหลายทศวรรษ และเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่มีการกำกับดูแลหรือการป้องกันผลกระทบใดๆ เลย” พอล เส่งทวา กล่าว

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →