Search

ผู้พลัดถิ่นรัฐมอญตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายหลังรัฐประหาร ขาดแคลนความช่วยเหลือ-ไม่มีงานทำ 

ขเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวมอญ Independent Mon News Agency รายงานว่า สถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายใน (IDP) ในรัฐมอญ ที่ตอนนี้อาศัยอยู่ในเขตควบคุมของกองทัพมอญ หรือพรรครัฐมอญใหม่ (New Mon State Party) ตามแนวชายแดนพม่า – ไทย มาหลายปี ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนับตั้งแต่การรรัฐประหาร โดยพบว่า ในช่วงหลายปีมานี้ ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยชาวมอญนั้นลดลง ประกอบกับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคนั้นสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางทหาร โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร ในขณะที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้ นายโก่หม่าย จากค่ายผู้พลัดถิ่นภายใน Baleh-Donephai กล่าวว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ ชาวบ้านได้ทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ความช่วยเหลือที่หยุดชะงักงันไปก็ทำให้ชาวบ้านต้องเผชิญกับความยากลำบากมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ผู้ลี้ภัยหญิงรายหนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ความยากลำบากในการดำรงชีวิตได้บีบบังคับให้ชาวบ้านเป็นจำนวนมากในพื้นที่นี้ต้องไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน เหลือเพียงคนแก่ คนป่วย และเด็กๆเท่านั้นที่ยังคงอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นแห่งนี้ คนที่เหลือในค่ายต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้บริจาคเพื่อให้มีชีวิตรอด และจะเป็นเรื่องที่ดีมากหากชาวบ้านได้รับโอกาสในการช่วยเหลือ
 
หญิงชาวบ้านรายนี้กล่าวด้วยว่า หมู่บ้านของเธอนั้นตั้งอยู่ระหว่างสองพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ต้องเผชิญปัญหาการคมนาคมและไม่สามารถเดินทางไปได้ทั้งสองฝั่ง

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2536 ผู้คนจากภูมิภาคต่างๆ ของรัฐมอญถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานและลี้ภัยมาอยู่ในพื้นที่ภายใต้การควบคุมของพรรครัฐมอญใหม่ การพลัดถิ่นนี้เป็นผลมาจากความขัดแย้งทางทหารและการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นในรัฐมอญ
 
เพื่อตอบสนองต่อการพลัดถิ่นของผู้คนที่หนีออกจากบ้าน ค่ายผู้พลัดถิ่นจึงได้จัดตั้งขึ้นในหลายภูมิภาคตามแนวชายแดนไทย-พม่า เช่นในพื้นที่อย่างหมู่บ้าน Halockhani หมู่บ้าน Baleh-Donephai หมู่บ้าน Chel Tite หมู่บ้าน Ye Chaung Phyar และหมู่บ้าน Dawei Chaung Phyar โดยปัจจุบันรองรับผู้พลัดถิ่นภายในมากกว่า 35,000 คน แม้ผู้พลัดถิ่นชาวมอญจะอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นเหล่านี้มาเป็นเวลากว่า 30 ปี แต่สถานการณ์ของผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ก็ยังคงไม่มีความไม่แน่นอนในระยะยาว และความเป็นไปได้ในการกลับบ้านเดิมก็ยังคงริบหรี่
 ——

ภาพจาก BNI Online

On Key

Related Posts

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →

ลาวดำเนินคดีอดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าลาว-ผู้รับเหมาฐานฉ้อโกงเหตุสร้างเขื่อนไม่แล้วเสร็จ-เกินเวลานาน เผยโครงการได้รับสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 สำนักข่าวลาว Laotian TiRead More →