Search

ชาวแม่สะเรียงทำประชาคม 7 หมู่บ้านเอกฉันท์ไม่เอาเหมือง

ภาคประชาชนลงประชาคมไม่เอาเหมืองหินแม่สะเรียง 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่อุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยืนยันว่ายังไม่มีการยื่นขอประทานบัตรจากบริษัท เชียงใหม่โรงโม่หิน จำกัด เข้ามาทำเหมืองใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ดร.ทองทิพย์ แก้วใส แกนนำประชาชนอนุรักษ์ป่าแม่สะเรียง เปิดเผยว่า หลังจากมีการทำประชาคมในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา 6-7หมู่บ้านซึ่งคาบเกี่ยวกับพื้นที่การทำเหมืองที่รัฐเตรียมให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน พบว่าชาวบ้านทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์คิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่เอาเหมือง

“ล่าสุดที่บ้านโป่งซึ่งอยู่ในพื้นที่เหมืองที่บริษัทกำหนดไว้ เราไปทำประชาคมชาวบ้านก็ไม่เอา ผลประชาคมตรงนี้เราจะส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับอุตสาหกรรมจังหวัดโดยส่งผ่านกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จากนี้ชาวบ้านไม่เอาแล้วประชามติ เราจะไม่ให้ความร่วมมือ” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

เมื่อถามว่าถ้าบริษัทจะดึงดันหลังครบ 30 วันที่ประกาศให้ชาวบ้านมาแสดงสิทธิความเดือดร้อนจากการทำเหมือง ดร.ทองทิพย์ กล่าวทันทีว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ขั้นตอนต่อไปคือการชุมนุมใหญ่หน้าที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียงในวันที่ 8 กรกฎาคม โดยจะมีดนตรีเพื่อชีวิตและให้นักวิชาการมาให้ความรู้กับชาวบ้านด้วย

“อย่าแตะพื้นที่ อ.แม่สะเรียง เลย เราไม่ให้ทำ ป่าและภูเขาเสียแน่นอน ในพื้นที่ภาคเหนือมี 11 ที่ที่เป็นหิน อ.แม่สะเรียงเป็นหนึ่งในนั้น ที่บริษัทมาบอกว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม คือป่าเสื่อมโทรมต้องมีต้นไม้ไม่เกิน 20 ต้นแล้วนอกนั้นเป็นหญ้า ผมคิดว่าแม่สะเรียงไม่ใช่ เพราะแม่สะเรียงเขียวขจีทั้งดอย เอาโดรนขึ้นไปบินดูก็ได้ นิยามว่าป่าเสื่อมโทรมเขาดูกันตรงไหนเพราะผมเห็นแต่สีเขียว” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ทั้งนี้ ดร.ทองทิพย์ กล่าวว่า รู้สึกข้องใจใน 2 ประเด็น คือ 1.บริษัทเอกชน บอกว่าพื้นที่ อ.แม่สะเรียงเป็นป่าเสื่อมโทรม 2. อุตสาหกรรมจังหวัดรับจดทะเบียน ไม่รู้ว่าบริษัทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

“ผมจะไม่หยุดจนกว่าเราจะชนะ ทีมงานผมประชุมกันทุกวันเสาร์ เราจะคัดค้านให้ถึงที่สุด” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →