Search

พ่อแม่สุดเศร้า-ลูกถูกออกจาก รร.กลางคัน กสม.แนะชะลอส่งเด็ก 126 คนกลับพม่า หวั่นอันตราย ส่วนหนึ่งเคยเรียนในไทย ชี้ควรใจกว้างพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก้ปัญหาสังคมไทยสูงวัย

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 นายอดิศร เกิดมงคล  ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Workers Group -MWG) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเด็กไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร์จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จังหวัดอ่างทอง จำนวน 126 คนกลับพม่า ว่านโยบายการปิดโรงเรียนขนาดเล็กให้ยุบไปรวมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ใหญ่นั้น ไม่ตอบโจทย์ด้านการศึกษา “นโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อให้ความผิดแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนนั้นสมบูรณ์ โดยตั้งข้อหานำพาคนต่างด้าว ฉะนั้นเด็กๆ เหล่านี้ก็กลายเป็นสถานะผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย ในแง่ของกฎหมายต้องรับโทษตามคดีอาญา และต้องส่งเด็กกลับไปยังประเทศต้นทาง การดำเนินการของตำรวจกรณีนี้ไม่ถูกต้องสำหรับหลักการการคุ้มครองเด็ก เพราะเด็กๆ ควรได้เข้ารับการศึกษาในระบบ ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติหรือไม่มีสัญชาติใดก็ตาม เด็กไม่ได้มีความผิด และเด็ก ๆ ก็มีความหวังว่าที่จะได้เรียนหนังสือคือโอกาสของพวกเขา จริงๆแล้ว ไม่ควรส่งเด็กกลับ เพราะพ่อแม่ และครอบครัวต่างก็ยินยอมที่จะให้เดินทางมาเรียน การที่ส่งเด็กกลับก็อาจจะทำให้พวกเขาเกิดความเสี่ยงได้ และอาจจะกลับมาและกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์” นายอดิศรกล่าว

นายอดิศรกล่าวว่า รัฐไทยจะต้องไม่ส่งเด็กกลับไป หากพิสูจน์ได้ว่าอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ตามพรบ.ป้องกันและปราบปราม พ.ศ.2565 การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บุคคลนั้นจะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทำให้สูญหาย โดยหลักการตามกฎหมายต้องยึดประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก การเปิดโอกาสทางการศึกษาคือการลงทุนที่ต่ำที่สุด เด็กๆ เหล่านี้สามารถเติบโตไปเป็นแรงงานที่มีคุณภาพได้  ไทยเรามองเป็นปัญหาของความมั่นคงเป็นหลัก จึงไม่ได้มองเห็นในมิติอื่นๆ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และขาดแคลนกำลังแรงงาน  วิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการมอบการศึกษาเพื่อให้เข้าสู่ระบบ เพราะฉะนั้นเราต้องมองภาพไกล

ส่วนความคืบหน้ากรณีตำรวจ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นำตัวเด็กทั้ง 126 คนส่งไปยังจังหวัดเชียงรายเพื่อส่งตัวกลับประเทศต้นทาง ล่าสุดได้มีการติดต่อผู้ปกครองเด็กจำนวนหนึ่งได้แล้ว ซึ่งได้ทยอยส่งตัวเด็กไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อผลักดันเด็กกลับพม่า

ขณะที่นางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และนางเตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้เดินทางไปที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงราย กรมกิจการเด็กและเยาวชน ในอ.แม่จัน ซึ่งมีที่ถูกออกจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 38 คนพักอยู่ โดยเจ้าหน้าที่ชี้แจงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเด็ก

นางปรีดา กล่าวว่า ข้อเสนอ กสม.คือขอให้คัดเรียนเด็กที่เคยเรียนในประเทศไทยออกมา และยินดีประสานกับโรงเรียนที่เด็กเคยเรียน ซึ่งตอนนี้พบว่ามีอย่างน้อย 6 คนที่เคยเรียนในประเทศไทย ขณะที่ทางตำรวจเห็นด้วยกับการระงับการส่งเด็กและคัดแยกเด็กโดยขอให้ประสานกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ ขณะที่อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนโทรมาหารือซึ่ง ตนบอกไปว่าเรื่องนี้สลับซับซ้อนและแจ้งว่าควรชะลอส่งกลับขณะที่เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว แจ้งว่าจะติดตามเด็กที่ถูกส่งกลับไปพม่าว่าได้เข้าเรียนหรือไม่

ในวันเดียวกันนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และปลัด พม. โดยระบุว่าให้พิจารณาไม่ส่งหรือผลักดันเด็กไปยังประเทศต้นทางหากเป็นอันตราย และขอให้ พม.ช่วยเหลือเด็กกลุ่มดังกล่าว

ผู้ปกครองรายหนึ่ง กล่าวว่าตนได้พบลูก 2 คนที่ส่งไปเรียนที่ จ.อ่างทองแล้ว ตอนนี้เราถูกผลักดันกลับเมืองท่าขี้เหล็กฝั่งพม่า ที่ตัดสินใจส่งลูกไปเรียนที่อ่างทอง เพราะอยากให้ลูกได้มีโอกาสศึกษาในระบบของไทยจึงตัดสินใจส่งให้ไปเรียนโดยตนเป็นคนพาลูกไปส่งยังโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่สายและการไปเรียนครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

“อยากให้ลูกๆ ได้มีการศึกษาเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ สามารถเลี้ยงตัวเองและมีความรู้ในการพัฒนาชีวิตตัวเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ตอนแรกพอรู้ว่าเด็กๆถูกส่งกลับรู้สึกตกใจและกังวล เป็นห่วงอย่างมากว่าจะเป็นอย่างไร รวมไปถึงเป็นห่วงความรู้สึกของผู้อำนวยการและครูในโรงเรียนว่าเขาต้องเจออะไรบ้าง เรากินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่หลายวัน แต่ตอนนี้ลูกมาอยู่กับตัวเองแล้วก็สบายใจในระดับหนึ่ง แต่ที่เสียใจคือความรู้สึกของลูกที่มีความฝันที่อยากจะเรียนภาษาไทยในประเทศไทย ลูกคิดว่าอนาคตจะไม่มีโอกาสกลับเข้ามาประเทศไทยอีกแล้ว ตอนนี้ตั้งใจจะโทรศัพท์กลับไปหาผู้อำนวยการที่โรงเรียนเพื่อให้กำลังใจ” ผู้ปกครองรายนี้ กล่าว

ขณะที่ผู้ปกครองอีกรายหนึ่ง กล่าวว่าเดิมทีลูกชายเรียนที่โรงเรียนบ้านอาแบ อ.แม่จัน ต่อมาลูกได้ขออนุญาตไปเรียนที่อ่างทองเพราะเพื่อนๆ ชวน และมีครูที่ไว้ใจได้มารับ พอเห็นข่าวที่เด็กถูกรู้สึกตกใจและกังวลมาก แต่หลังจากที่ทราบว่ามีหน่วยงาน มูลนิธิ เข้าไปดูแลก็รู้สึกอุ่นใจขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปรับเด็กกลับมาอย่างไรเนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน ถ้าจะเช่ารถไปก็ราคาแพงเพราะต้องลงจากดอยไปรับในเมือง สิ่งที่กังวลใจมากที่สุด คือเป็นห่วงความรู้สึกของเด็กๆ เนื่องจากลูกมีความฝันอยากเรียนหนังสือที่สูงๆอยากพัฒนาตนเองมีอาชีพที่ดีในการมาเลี้ยงดูแลครอบครัว ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะได้เรียนต่อหรือเปล่า

On Key

Related Posts

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →

ชุมชนในป่าเครียดหนักเหตุรัฐแก้ปัญหาเหมารวม-ห้ามเผาแบบไม่แยกแยะ ไฟป่า-ไฟเกษตร หวั่นวิกฤตอาหารบนดอย สส.ปชน.ชี้รัฐผูกขาดจัดการทรัพยากรนำสังคมสู่วิกฤต

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาRead More →

เผยเปิดหน้าดินนับพันไร่ทำเหมืองทองต้นน้ำกก สส.ปชน.ยื่น กมธ.ที่ดินสอบ หวั่นคนปลายน้ำตายผ่อนส่งจี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาผลกระทบข้ามแดน ผวจ.เชียงรายสั่งตรวจคุณภาพน้ำ 24 มี.ค.

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายสมดุลย์ อุตเจริญ สส.Read More →