Search

วิจัยพบแรงงานข้ามชาติหวั่นใจ-ไม่มั่นคงใจชีวิต สำรวจพบถูกขูดรีดจากเจ้าหน้าที่รัฐ-นายหน้า

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.มรกต ไมยเออร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนา  Covid Precarity จากมุมมองมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทย ซึ่งจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ว่าแรงงานพม่าที่เกิดในประเทศไทย และไม่มีบัตรประชาชนไทย พยายามขอบัตรประชาชนไทยแต่ไม่ได้ จึงทำให้เกิดการใช้ชีวิตในสภาวะ ที่เรียกว่า Precarity  State (สถานะความไม่แน่นอน) ในไทยและพม่า ทั้งในเรื่องสวัสดิการสังคม การศึกษา และเหตุการณ์ Covid 19 ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในภายหลังแม้จะชั่วคราว 

รศ.ดร.มรกตกล่าวว่า จากการทำงานด้านวิจัยเกี่ยวกับแรงงานพม่ากับการเป็นอื่นในประเทศไทย ตัวกฎหมายไทยทำให้แรงงานที่เข้ามาในประเทศไทย มีลักษณะเป็นสภาวะชั่วคราวอยู่ตลอดเวลา หรืออยู่ในระยะสั้น ฉะนั้นกฎหมายไทยจึงทำให้สภาวะของผู้ย้ายถิ่นไม่ว่าแรงงานฝีมือ หรือแรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานข้ามชาติต่างๆ แม้ผ่านการแต่งงานก็ตาม เกิดผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจขึ้นว่าสังคมไทยจะมีการไล่เรากลับเมื่อไหร่ ทั้ง ๆ ที่กลุ่มคนเหล่านี้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลาง ส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอน

ขณะที่ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวชายขอบได้ลงพื้นที่วัดป่าแพ่ง ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตลาดนัดแรงงานที่มีคนงานทั้งไทยและแรงงานข้ามชาติมาขายแรงงานในทุกๆวัน โดยผู้สื่อข่าวได้สำรวจชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาเป็นแรงงานนอกระบบในไทย ซึ่งแรงงานรายหนึ่งเล่าว่า หลายชีวิตที่นี่บางคนอพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน บางคนมาจากบนดอยหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ทุกคนต่างเริ่มเข้ามารองานในช่วงเวลาเช้าจากผู้รับเหมา โดยนายจ้างนำรถเข้ามารับแรงงานเหล่านี้ออกไปทำงานข้างนอก และกลับเข้ามาส่งตรงจุดเดิม วนเวียนผลัดเปลี่ยนกันงานต่องาน หากเสร็จเร็วก็สามารถกลับเข้ามารอรับงานอื่นต่อได้ 

“งานส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานหนัก รับรายได้วันต่อวัน บ้างรับเหมาจากนายจ้าง รายได้ไม่แน่นอน บางครั้งได้ 500 บาท บางครั้งได้ถึง 1,000 ซึ่งรายได้ของผู้ชายจะได้รับมากกว่าผู้หญิง บางส่วนเป็นแรงงานข้ามชาตินอกระบบ บางคนเป็นแรงงานที่ไม่ได้ขออนุญาต ปัญหาหลักที่ออกมาเป็นแรงงานนอกระบบไม่ถูกกฎหมายเพราะขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงานมีช่องโหว่จึงมีการขูดรีด และเรียกเก็บเงิน ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและนายหน้าหางาน ค่าแรงงานในเชียงใหม่ต่ำมาก ไม่มีเงินเหลือเก็บมากพอที่เราจะไปต่อใบอนุญาต จึงไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้”แรงงานข้ามชาติรายนี้ กล่าว

เขากล่าวว่า การเลือกเข้ามาเป็นแรงงานที่นี่ เนื่องจากไม่ต้องการทำงานประจำที่มีรายได้น้อย บางครั้งนายจ้างเอาเปรียบรัดเอาเปรียบ และเมื่อรู้ว่าไม่มีใบอนุญาตทำงานก็ถูกกดขี่ค่าแรง และไม่เข้าถึงรัฐสวัสดิการ ค่าแรงต่อวัน 340 บาท แต่ใช้แรงงานหนัก ดังนั้นจึงออกมารับงานลักษณะชั่วคราวที่นี่ แม้รายได้ไม่แน่นอน บางวันไม่ได้งานเลยก็มี บางวันมีงานเข้ามาเยอะ ซึ่งสามารถเลือกที่จะไม่ทำหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าหากไม่เลือกงานก็สามารถทำได้ตลอด และมีอิสระมากกว่า 

————-

On Key

Related Posts

ผู้นำแรงงานแฉอีกพิรุธงบ สปส.โครงการจัดอบรมแรงงานกว่า 30 ล้าน เผยกลายเป็นงบล่ำซำให้บางสภาแรงงานที่เข้าถึง ใช้วิธีเซ็นชื่อลงทะเบียนล่วงหน้า-เก็บค่าหัวคิว ชี้เป้าสอบงบทำปฏิทิน 54 ล้าน-ใครผูกขาดผลิต

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 นายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษRead More →

รมว.กระทรวงน้ำของจีนเยือนไทย-ลงพื้นที่แม่น้ำโขง สทนช.ของบทำโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำสาย-น้ำรวก นักอนุรักษ์แม่น้ำจี้รัฐบอกความจริง-ผลกระทบของคนท้ายน้ำจากเขื่อนจีน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 เพจของสำนักงานทรัพยากรนRead More →

ผู้เชี่ยวชาญเตือนฤดูฝนหน้าลุ่มน้ำกก-ลุ่มน้ำสายเสี่ยงสึนามิโคลนอีก เหตุทำเหมืองต้นน้ำ แนะเร่งทำจุดตรวจวัดชายแดน เผยยังไม่มีหน่วยราชการตรวจสอบระบบนิเวศ ชาวบ้านท่าตอนยังกังวลน้ำกกขุ่น

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่Read More →